การป้องกันทางเดินปัสสาวะอักเสบ
ระบบทางเดินปัสสาวะเป็นระบบที่สำคัญในร่างกายเพราะช่วยทำความสะอาดร่างกายจากสิ่งสกปรกและสารพิษ อย่างไรก็ตามระบบนี้ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (urinary tract infections หรือ UTIs)
ระบบทางเดินปัสสาวะเป็นระบบที่สำคัญในร่างกายเพราะช่วยทำความสะอาดร่างกายจากสิ่งสกปรกและสารพิษ อย่างไรก็ตามระบบนี้ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (urinary tract infections หรือ UTIs)
ทางเดินปัสสาวะอักเสบคืออะไร
ทางเดินปัสสาวะอักเสบเป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นเมื่อมีเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งประกอบด้วยไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อไต และท่อปัสสาวะ โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบที่มักพบบ่อยที่สุดมักเกิดที่ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ได้แก่กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอักเสบทางเดิน
ปัสสาวะอักเสบเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่มักพบบ่อยที่สุดแบบหนึ่ง โดยแต่ละปีจะมีคนเป็นโรคนี้หลายล้านคน โดยมักเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเนื่องจากสรีระที่แตกต่างกัน โดยผู้หญิงประมาณ 50 – 60% จะเคยเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต
อาการของทางเดินปัสสาวะอักเสบ
อาการของทางเดินปัสสาวะอักเสบอาจแตกต่างกันไปตามบริเวณที่มีการอักเสบ อาการที่พบบ่อยได้แก่รู้สึกเจ็บแสบขณะปัสสาวะ อยากปัสสาวะบ่อย ปวดท้องน้อยส่วนล่าง ปัสสาวะมีสีขุ่นหรือกลิ่นแรง และบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจปัสสาวะเป็นเลือด
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
โดยทั่วไปแล้วทางเดินปัสสาวะอักเสบเกิดจากเชื้อแบคทีเรียโดยที่พบบ่อยมากที่สุดคือเชื้ออีโคไล (Escherichia coli หรือ E. coli) ที่เข้าสู่ท่อปัสสาวะและเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ แบคทีเรียนี้มักติดมาจากลำไส้เพราะเป็นแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติ โดยอาจมีแบคทีเรียอาศัยอยู่บริเวณรูทวาร ด้านล่างนี้คือสาเหตุที่พบได้บ่อยที่ทำให้แบคเรียเข้าสู่ระบบปัสสาวะ:
- นิสัยการเข้าห้องน้ำที่ไม่สะอาด: การเช็ดทำความสะอาดจากด้านหลังมาด้านหน้าอาจทำให้แบคทีเรียกระจายจากบริเวณรูทวารไปยังท่อปัสสาวะ
- การมีเพศสัมพันธ์: การมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้แบคทีเรียจากบริเวณรูทวารเข้าไปสู่ท่อปัสสาวะ โดยเฉพาะสำหรับสรีระของผู้หญิง การคุมกำเนิดโดยใช้หมวกครอบปากมดลูก หรือสารฆ่าเชื้ออสุจิอาจทำให้ความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
- การใช้ท่อสวนปัสสาวะ: ท่อสวนปัสสาวะเป็นท่อยืดหยุ่นที่ใช้เพื่อระบายปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ โดยทั่วไปแล้วแพทย์หรือพยาบาลจะเป็นผู้ทำการสวนปัสสาวะ การใช้ท่อสวนปัสสาวะติดต่อกันนาน ๆ อาจทำให้แบคทีเรียเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้
- การอุดตันของระบบปัสสาวะ: นิ่วในไตหรือต่อมลูกหมากโตอาจทำให้ปัสสาวะคั่งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะและเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบได้
- ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ: บุคคลที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากกว่าเมื่อแบคทีเรียเข้าสู่ระบบปัสสาวะ
- วัยหมดประจำเดือน: ปริมาณเอสโตรเจนที่ลดต่ำลงอาจทำให้แบคทีเรียตามปกติในระบบทางเดินปัสสาวะเปลี่ยนแปลงไป และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบ
ทางเดินปัสสาวะอักเสบมักพบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเนื่องจากสรีระของผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่า ทำให้แบคทีเรียเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ปลายท่อปัสสาวะของผู้หญิงยังอยู่ใกล้รูทวารมากกว่า ทำให้แบคทีเรียบริเวณลำไส้ปนเปื้อนเข้าสู่ท่อปัสสาวะได้ง่าย
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบได้แก่ เป็นเพศหญิง อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และมีความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ
การรักษาทางเดินปัสสาวะอักเสบ
ในการรักษามักใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบ ผู้ให้บริการทางการแพทย์จะตัดสินใจว่าควรใช้ยาปฏิชีวนะแบบใดโดยพิจารณาจากเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้อักเสบและสุขภาพโดยรวมของคุณ จำเป็นต้องทานยาให้หมดถึงแม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วก่อนยาจะหมด
การป้องกันทางเดินปัสสาวะอักเสบ
โดยหลักแล้วการป้องกันทางเดินปัสสาวะอักเสบทำได้โดยการปรับการใช้ชีวิต ได้แก่การดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้ปัสสาวะจางและช่วยขับแบคทีเรียออกไป ควรปัสสาวะบ่อย ๆ และปัสสาวะออกให้หมด และสำหรับผู้หญิงควรเช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลังทุกครั้งหลังจากปัสสาวะเพื่อป้องกันแบคทีเรียจากรูทวารไม่ให้ปนเปื้อนมาที่ช่องคลอดและท่อปัสสาวะ
หากคุณสงสัยว่ามีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรปรึกษาผู้ให้บริการทางแพทย์ทันที การรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยไม่ให้อาการแย่ลงและช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น
รับรองโดย:
นพ. สิริเชษฐ์ อเนกพรวัฒนา (แพทย์ภาวะเจริญพันธุ์) (1 มิถุนายน 2023)