ดาวน์โหลดแอป

ทำไมอัตราความสำเร็จในการทำ IVF ของผู้หญิงเอเชียถึงต่ำกว่า

สำหรับชาวเอเชียตะวันออกเช่นเชื้อชาติไทย จีน เกาหลี และญี่ปุ่นนั้นอาจพบความท้าทายมากเป็นพิเศษในการพยายามมีลูก

ทำไมอัตราความสำเร็จในการทำ IVF ของผู้หญิงเอเชียถึงต่ำกว่า

สำหรับชาวเอเชียตะวันออกเช่นเชื้อชาติไทย จีน เกาหลี และญี่ปุ่นนั้นอาจพบความท้าทายมากเป็นพิเศษในการพยายามมีลูก

อัตราความสำเร็จในการทำ IVF ของชาวเอเชียต่ำกว่าชาติอื่นถึง 30%
งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าเมื่อผู้หญิงชาวเอเชียตะวันออกทำการย้ายตัวอ่อนในรอบสดจะมีอัตราความสำเร็จและผลที่ออกมาแย่กว่าชาติอื่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Society for Assisted Reproductive Technology ได้ศึกษาข้อมูลจากคนไข้ฝรั่งผิวขาว 25,843 คน และชาวเอเชีย 1,429 คน และพบว่าอัตราการตั้งครรภ์ของชาวเอเชียต่ำกว่าและอัตราการคลอดสำเร็จในผู้หญิงชาวเอเชียที่ทำ IVF นั้นน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผลของฝรั่งผิวขาว กล่าวโดยสรุปคือผู้หญิงชาวเอเชียตะวันออกมีอัตราการตั้งครรภ์จากการย้ายตัวอ่อนในรอบสดต่ำกว่า 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับฝรั่ง

ทำไมอัตราความสำเร็จในการทำ IVF ในชาวเอเชียจึงต่ำกว่า ?
สาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้ที่ทำให้ผู้หญิงชาวเอเชียตะวันออกพบความท้าทายด้านภาวะเจริญพันธุ์มากกว่าคือวิธีที่ร่างกายตอบสนองต่อเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการตั้งครรภ์​ เมื่อผู้หญิงเข้ารับการรักษาด้วยการทำ IVF ร่างกายอาจมีเอสโตรเจนเพิ่มมากขึ้น โดยผู้หญิงชาวเอเชียตะวันออกอาจมีปริมาณเอสโตรเจนมากกว่าเมื่อเทียบกับคนขาว และอาจส่งผลที่แตกต่างในความพร้อมของมดลูกที่จะยอมรับไข่ที่ผสมแล้ว

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานฟรานซิสโก (University of California, San Francisco – UCSF) ช่วยให้เราทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้มากขึ้น ถึงแม้ว่าผู้หญิงชาวเอเชียตะวันออกและฝรั่งจะมีสภาวะเริ่มต้นที่คล้ายกัน แต่เมื่อผู้หญิงชาวเอเชียทำการฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปยังโพรงมดลูก (Intrauterine Insemination – IUI) แล้วพบว่ามีอัตราการตั้งครรภ์สำเร็จต่ำกว่า ซึ่งการรักษาวิธีนี้มักเป็นวิธีแรก ๆ ที่คู่รักเลือกใช้เมื่อมีบุตรยาก

สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือเมื่อผู้หญิงชาวเอเชียตะวันออกใช้ไข่ที่ได้รับการบริจาคจากผู้หญิงคนอื่นมาใช้สำหรับการย้ายตัวอ่อนไม่ว่าจะเป็นรอบสดหรือรอบแช่แข็งก็ตาม พบว่าอัตราความสำเร็จก็ไม่แตกต่างจากผู้หญิงฝรั่ง ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าอัตราการตั้งครรภ์ที่ต่ำกว่าของผู้หญิงชาวเอเชียตะวันออกอาจเกิดจากมดลูกที่มีปฏิกริยาการตอบสนองต่อการกระตุ้นรังไข่แตกต่างออกไป (ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการทำ IVF) มากกว่าปัญหาที่เกิดจากคุณภาพของไข่

หนทางแก้ไขที่อาจลองทำได้: ปรับปริมาณฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน
เมื่อพิจารณาจากปัจจัยเหล่านี้ ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ชาวเอเชียที่ทำเด็กหลอดแก้วปรับลดปริมาณฮอร์โมนโกนาโดโทรปินก่อนการเก็บไข่ ถึงแม้ว่าวิธีนี้จะส่งผลกระทบต่อปริมาณไข่ที่เก็บได้แต่อาจช่วยลดผลกระทบของการกระตุ้นต่อมดลูกได้

อย่างไรก็ตามโปรดทราบว่างานวิจัยจำนวนมากในเรื่องนี้เป็นการวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกาโดยใช้ข้อมูลจากชาวเอเชียที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน