ปัจจัยทางการแพทย์ที่บ่งชี้ว่าคุณแม่ท้องอาจต้องผ่าคลอด
วันคลอด

สุขภาพของคุณแม่และลูกมีบทบาทในการพิจารณาว่าจำเป็นจะต้องได้รับการผ่าตัดคลอดหรือไม่
ปัจจัยทางการแพทย์
ปัจจัยทางการแพทย์ทั่วไปที่บ่งชี้ว่าคุณแม่ควรได้รับการผ่าตัดคลอดมีดังนี้
- ทารกในครรภ์อยู่ในท่าก้น (เมื่อลูกหันก้นลงมาทางช่องคลอดทำให้เท้าหรือก้นออกมาก่อน)
- ความไม่สมดุลของกระดูกเชิงกราน (ช่องในอุ้งเชิงกรานมีลักษณะผิดปกติ หรือเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับขนาดของลูก)
- ในบางกรณีที่คุณแม่ได้รับการผ่าตัดคลอดมาก่อนในครรภ์ก่อนหน้านี้ หรือได้รับการผ่าตัดมดลูกมาก่อน
- คุณแม่มีภาวะติดเชื้อ เช่น HIV หรือโรคเริมที่อวัยวะเพศ
- คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด 2, 3 หรือมากกว่า
- คุณแม่มีปัญหาทางสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
ปัจจัยของโรงพยาบาล
งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าแรงกดดันด้านเวลาในโรงพยาบาลบางแห่งอาจทำให้เกิดการผ่าตัดคลอดมากขึ้น เนื่องจากการคลอดธรรมชาติอาจใช้เวลาและทรัพยากรของเจ้าหน้าที่มากกว่าการผ่าตัดคลอด หากคุณแม่มีสุขภาพดีและมีการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ โรงพยาบาลที่คุณแม่วางแผนที่จะใช้บริการอาจต่อรองขอให้คุณแม่พิจารณาการผ่าตัดคลอดมากกว่าการรอให้เจ็บท้องคลอดตามธรรมชาติ คุณแม่ควรศึกษาอัตราการผ่าคลอดของโรงพยาบาลที่ต้องการรับบริการไว้ก่อน โดยปกติแล้วหากไม่มีปัจจัยทางการแพทย์บ่งชี้ว่าควรได้รับการผ่าตัดคลอด โรงพยาบาลรัฐบาลจะให้คุณแม่รอจนเจ็บท้องคลอดตามธรรมชาติ ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนจะให้คุณแม่เลือกทำการผ่าตัดคลอดเพื่อประหยัดเวลาและบุคลากร และยังมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการคลอดธรรมชาติอีกด้วย
ประสบการณ์ของคุณแม่
คุณแม่ที่ต้องการคลอดแบบธรรมชาติ แต่มีเหตุจำเป็นต้องคลอดด้วยการผ่าตัดคลอดอาจรู้สึกสูญเสียโอกาสที่จะได้รับประสบการณ์ในการคลอดบุตรตามที่หวังไว้ แต่ในบางกรณีการผ่าตัดคลอดก็เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าสำหรับตัวคุณแม่และทารก
คุณแม่ควรศึกษาปัจจัยทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่อาจเป็นข้อบ่งชี้ในการเลือกวิธีการคลอด เพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่ได้ทำการเลือกวิธีการคลอดได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับตัวคุณแม่เองและลูก