สารปรอทในปลาอันตรายต่อลูกในท้องมากกว่าที่คิด
อาหารการกิน
ปลาและหอยเกือบทั้งหมดนั้นมีสารปรอทเจือปนอยู่เล็กน้อย แต่ปลาใหญ่จะมีระดับสูงกว่า การกินปลาจำนวนมากจึงอาจส่งผลให้มีสารปรอทสะสมในร่างกายของคุณในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับลูก
ลูก จะได้รับสารอาหารจากอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไป สารปรอทสามารถทำลายสมอง และระบบประสาทของเขาได้ คุณแม่ตั้งครรภ์และคุณแม่ที่ให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการรับประทานปลาที่มีสารปรอทเจือปนอยู่ในปริมาณสูง
สารปรอทคืออะไร
สารปรอทเป็นโลหะที่พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ แต่กิจกรรมทางอุตสาหกรรมของมนุษย์ เช่น การทำฟาร์ม การเผาไหม้ถ่านหิน และกระบวนการผลิตต่าง เป็นสาเหตุของการเพิ่มปริมาณสารปรอทในอากาศ น้ำ และดิน ปลาจึงได้ดูดซับสารปรอทเหล่านี้เข้าไปด้วย เมื่อคุณแม่รับประทานปลาที่มีสารปรอท ร่างกายของคุณแม่เองจะดูดซับเอาสารปรอทเข้าไป และถ้าหากได้รับในระดับสูงก็อาจเป็นอันตรายได้ ปลาขนาดใหญ่มักกินอาหารที่มีขนาดใหญ่กว่าปลาที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากเมื่อสารปรอทเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่อาหารทางทะเลแล้ว จะเกิด “การสะสมทางชีวภาพ” ในสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่มีชีวิตยาวนานกว่าปลาที่มีขนาดเล็ก และจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
สารปรอทเป็นอันตรายกับลูกอย่างไร
สารปรอทจะสะสมอยู่ในกระแสเลือดของคุณแม่ และเมื่อเวลาผ่านไปก็ค่อย ๆ ถูกขับออกไปจากร่างกายโดยผ่านปัสสาวะ อุจจาระและน้ำนม ถ้าหากคุณแม่รับประทานปลาที่มีสารปรอทเป็นจำนวนมาก อาจต้องใช้เวลามากถึงหนึ่งปีในการลดระดับสารปรอทในร่างกายของคุณแม่หลังจากที่หยุดกินปลา แม้ว่าสารปรอทในระดับสูงจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญ แต่ก็อาจส่งผลต่อลูกที่กำลังพัฒนาสมองและร่างกายอยู่ หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (EPA) รายงานว่า ทารกในครรภ์ที่ได้รับสารปรอทก่อนคลอด “อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตอบสนองการทํางานของระบบประสาทที่ไม่ดี” เช่น ทักษะการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็ก ทักษะทางภาษา ความสามารถในการมองเห็น ความสามารถในการพูด และความจำ
คุณแม่ควรหยุดรับประทานปลาในขณะตั้งครรภ์หรือไม่
โดยรวมแล้วปลาและหอยนั้นถือเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีโปรตีนที่มีคุณภาพสูง และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ มีไขมันอิ่มตัวต่ำ และมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็น การรับประทานอาหารที่สมดุลซึ่งรวมถึงปลาและหอย อาจช่วยให้หัวใจ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกมีสุขภาพที่ดีขึ้น
คุณแม่ควรรับประทานปลาชนิดใด ในปริมาณเท่าไร
คุณแม่ไม่ควรรับประทานปลาฉลาม ปลากระโทงแทงดาบ ปลาโอ ปลาไทล์ฟิช หรือปลาอินทรี เพราะอาหารเหล่านี้มีสารปรอทเจือปนอยู่ในระดับสูง คุณแม่ควรรับประทานปลาและหอยที่หลากหลายในปริมาณ 340 กรัมต่อสัปดาห์ (เฉลี่ย 2 มื้อต่อสัปดาห์) อาหารทะเล 5 ชนิดที่มีสารปรอทเจือปนในปริมาณต่ำที่คุณแม่ควรรับประทาน ได้แก่ กุ้ง ปลาทูน่ากระป๋อง ปลาแซลมอน ปลาอลาสก้าพอลล็อค และปลาดุก
รับรองโดย:
พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (5 กุมภาพันธ์ 2020)