ดาวน์โหลดแอป

ปวดอุ้งเชิงกรานตอนท้อง อันตรายหรือไม่ จะบรรเทาอาการได้อย่างไร?

คุณแม่

ปวดอุ้งเชิงกรานตอนท้อง อันตรายหรือไม่ จะบรรเทาอาการได้อย่างไร?

อาการปวดกระดูกเชิงกรานไม่เป็นอันตรายต่อลูก แต่อาจสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันของคุณแม่ได้หากมีอาการปวดอย่างรุนแรง

อาการปวดท้องน้อยเป็นอย่างไร?
คุณแม่บางคนมีอาการปวดท้องน้อยในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่าปวดกระดูกเชิงกราน หรืออาการปวดกระดูกหัวเหน่า คืออาการปวดที่เกิดจากการแข็งตัวของข้อต่ออุ้งเชิงกราน หรือข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่สม่ำเสมอทั้งด้านหลัง หรือด้านหน้าของกระดูกเชิงกราน

คุณแม่แต่ละคนอาจมีอาการที่แตกต่างกัน และความเจ็บปวดของคุณแม่บางคนก็อาจรุนแรงกว่าคุณแม่คนอื่น ๆ อาการอาจรวมถึง:

สำหรับคุณแม่บางคนความเจ็บปวดยังอาจสามารถแผ่ไปถึงต้นขา และอาจได้ยินเสียงคลิ๊ก หรือรู้สึกขัด ๆ ในบริเวณอุ้งเชิงกรานได้ อาการปวดอาจสังเกตเห็นได้ชัดเจนที่สุดเวลาคุณแม่เดิน ขึ้นบันได หรือขณะพลิกตัวอยู่บนเตียง

ใครมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดกระดูกเชิงกราน?
จากการประเมินพบว่า 1 ใน 5 ของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอาการปวดกระดูกเชิงกราน (PGP)

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไมความเจ็บปวดบริเวณกระดูกเชิงกรานจึงส่งผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์เพียงบางคนเท่านั้น มีการคาดการณ์ว่าอาจเชื่อมโยงกับปัญหาหลายประการ เช่น ความเสียหายที่เคยเกิดขึ้นกับกระดูกเชิงกราน ข้อต่ออุ้งเชิงกรานที่มีการเคลื่อนไหวไม่สม่ำเสมอ น้ำหนัก หรือตำแหน่งของทารกในครรภ์

เมื่อไหร่ที่ควรได้รับการรักษาสำหรับอาการปวดกระดูกเชิงกรานระหว่างตั้งครรภ์?
การได้รับการวินิจฉัยโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้สามารถช่วยรักษาอาการปวดให้เหลือน้อยที่สุดได้ การรักษามักจะทำโดยการขยับข้อต่อที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะช่วยให้ข้อต่อนั้นทำงานได้ตามปกติอีกครั้ง

หากคุณแม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน ควรแจ้งกับคุณหมอโดยตรง ปัญหาเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะไม่หายขาดจนกระทั่งคลอด แต่การรักษาจะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้

การรักษาอาการปวดกระดูกเชิงกรานขณะตั้งครรภ์
การทำกายภาพบำบัดมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาอาการปวด ปรับปรุงการทำงานของกล้ามเนื้อ และช่วยให้ข้อต่ออุ้งเชิงกรานอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ซึ่งอาจรวมถึง:

การรับมือกับอาการปวดกระดูกเชิงกรานขณะตั้งครรภ์
นักกายภาพบำบัดอาจแนะนำให้ใช้เข็มขัดพยุงกระดูกเชิงกราน เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด หรือใช้ไม้ค้ำเพื่อช่วยให้คุณแม่เดินไปไหนมาไหนได้สะดวกขึ้น คุณหมอบางท่านยังอาจให้คำแนะนำต่อไปนี้:

การคลอดธรรมชาติ
คุณแม่หลายคนที่มีอาการปวดกระดูกเชิงกรานในขณะตั้งครรภ์ สามารถคลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาติได้ แต่ควรมีการวางแผนล่วงหน้า และพูดคุยเกี่ยวกับแผนการคลอดบุตรกับคุณพ่อหรือคุณหมอไว้ก่อน

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (5 กุมภาพันธ์ 2019)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน