ดาวน์โหลดแอป

วิธีช่วยบรรเทาความเจ็บปวดระหว่างการคลอดธรรมชาติ

วันคลอด

วิธีช่วยบรรเทาความเจ็บปวดระหว่างการคลอดธรรมชาติ

หากคุณแม่กำลังจะมีลูกคนแรก ประสบการณ์การคลอด และการตอบสนองต่อการคลอดอาจเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาได้

ด้วยเหตุนี้คุณแม่จึงควรทราบถึงตัวเลือกสำหรับการบรรเทาอาการปวดที่จะเกิดขึ้น

นอกเหนือจากวิธีการลดอาการปวดตามธรรมชาติ เช่น เทคนิค TENS (การกระตุ้นปลายประสาทด้วยไฟฟ้า) หรือการคลอดในน้ำแล้ว ยังมีตัวเลือกการบรรเทาอาการปวดอย่างหลักๆ 3 วิธี ได้แก่ การดมแก๊สไนตรัสออกไซด์ การฉีด Pethidine และ การบล็อคหลัง

การดมไนตรัสออกไซด์: ไนตรัสออกไซด์ หรือเรียกว่า ‘ก๊าซหัวเราะ’ ผสมกับออกซิเจน ให้คุณแม่ดมผ่านหน้ากากหรือท่อที่อยู่ในปาก แก๊สจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 วินาทีในการทำงาน

ไนตรัสออกไซด์ไม่ได้หยุดความเจ็บปวดอย่างสิ้นเชิง แต่ช่วยขยาย ‘ขอบเขต’ ของความอดทนต่อการบีบรัดตัวของมดลูกในแต่ละครั้ง คุณแม่หลายคนชอบไนตรัสออกไซด์เพราะพวกเธอสามารถควบคุมได้เองโดยตรง – เพียงแค่คุณแม่สวมหน้ากากเอาไว้และหายใจลึก ๆ เมื่อใดก็ตามที่คุณแม่รู้สึกว่าต้องการ

ผลข้างเคียงที่อาจเป็นไปได้ ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน และสับสน สำหรับคุณแม่บางคนที่ยังไม่แข็งแรงพอ

การฉีดยา Pethidine: การฉีดยา pethidine เข้าไปในต้นขาหรือก้น เพื่อช่วยลดอาการปวด และทำให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น บางครั้งเรียกว่า Diamorphine

การฉีดยา pethidine จะใช้เวลาประมาณ 20 นาทียาจึงจะเริ่มออกฤทธิ์ทำงาน และมีผลข้างเคียงระหว่าง 2 – 4 ชั่วโมง การให้ยา pethidine จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดในช่วงแรกของการคลอดในระยะก่อนที่คุณแม่จะเริ่มเบ่ง

คุณแม่ไม่ควรใช้ pethidine เมื่ออยู่ในช่วงใกล้จะคลอดบุตรมาก ๆ แล้ว เพราะอาจทำให้ลูกง่วงเหงา และอาจส่งผลกระทบต่อการหายใจของเขาอีกด้วย ซึ่งจะเป็นการยากในการจะเริ่มต้นการให้นมบุตร ผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ รู้สึกหน้ามืด คลื่นไส้และหลงลืม

การบล็อกหลัง: การบล็อคหลัง คือการใช้ยาชาชนิดพิเศษเฉพาะที่ ซึ่งออกฤทธิ์ที่เส้นประสาทที่ดำเนินการกระตุ้นความเจ็บปวดจากการคลอดไปยังสมอง

การบล็อคหลังสามารถให้การบรรเทาอาการปวดได้ดี แต่ก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพ 100% ในการคลอด แต่อาจเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่ที่มีความเจ็บปวดอันยาวนานหรือเจ็บปวดอย่างมาก

ปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้นกับการบล็อคหลัง ก็คือมันอาจยืดขั้นตอนที่ 2 ของการคลอดออกไปให้ยาวนานขึ้น เนื่องจากคุณแม่ไม่สามารถรู้สึกถึงการบีบตัวของมดลูก และไม่ทราบว่าเมื่อใดที่จะต้องเบ่ง ในกรณีที่จำเป็นอาจต้องใช้คีม หรือเครื่องดูดสุญญากาศ เพื่อช่วยดึงศีรษะของทารก ด้วยเหตุนี้บางครั้งคุณแม่จะได้รับยาน้อยลงในตอนสุดท้าย เพื่อให้คุณแม่รู้สึกถึงการบีบตัวของมดลูก และเบ่งลูกออกมาตามธรรมชาติ

วิสัญญีแพทย์เป็นเพียงคนเดียวที่สามารถทำการบล็อคหลังได้ หากคุณแม่คิดว่าต้องการจะใช้วิธีนี้ คุณแม่อาจต้องการตรวจสอบดูว่ามีวิสัญญีแพทย์อยู่ในโรงพยาบาลหรือไม่

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (9 เมษายน 2019)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน