การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมีอะไรบ้าง
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลังคลอดมีหลายอย่างมาก ๆ เลยค่ะ 1. การเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์ : หลังจากรกคลอดครบมดลูกจะหดรัดตัว ระดับยอดมดลูกจะลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่าสะดือและจะค่อย ๆ ลดระดับลงเรื่อย ๆ จนกลับเข้าอู่ และการที่มดลุกหดรัดตัวก้จะเป็นการขับน้ำคาวปลาออกมาด้วย นอกจากนี้ปากมดลูกก็จะมีขนาดเล็กลงด้วย ส่วนเรื่องการมีประจำเดือนและการตกไข่หลังคลอด กรณีไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจเริ่มมีประจำเดือนภายใน 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด และอาจตกไข่ได้เร็วที่สุดคือ 33 วันหลังคลอด
2. การเปลี่ยนแปลงของทางเดินปัสสาวะ : หลังคลอดภายในสัปดาห์แรกปัสสาวะจะออกมากเพื่อลดปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ให้กลับสู่ภาวะปกติ จะเข้าสู่ภาวะปกติภายในสัปดาห์ที่ 3 หลังคลอด
3. การเปลี่ยนแปลงของเต้านม : ในระยะหลังคลอดจะมีฮอร์โมนโปรแลคตินที่ออกฤทธิ์ในการสร้างน้ำนม การการดูดนมจะทำให้ระดับโปรแลคตินเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างน้ำนมใหม่ขึ้นมาเพื่อเก็บไว้ นอกจากนี้ยังกระตุ้นการหลั่งออกซิโตซินให้มีการหลั่งน้ำนม หากไม่มีการดูดนมระดับโปรแลคตินจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 7 วันหลังคลอด แต่หากมีการให้นมบุตรโปรแลคตินจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 4 – 6 เดือนหลังคลอด
4. น้ำหนักตัว : น้ำหนักหลังคลอดจะลดลงประมาณ 5 – 6 กิโลกรัม และจะค่อย ๆ ลดลงอีก 2 – 3 กิโลกรัมภายใน 1 สัปดาห์ ลดลงจนเท่ากับขณะไม่ตั้งครรภ์ในเดือนที่ 6 หลังคลอด อย่างไรก็ตามน้ำหนักอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามแต่บุคคล
5. อารมณ์และจิตใจ : หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ คุณแม่จะรู้สึกดีใจและมีความสุข แต่อาจมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้อารมณ์และจิตใจของคุณแม่หลังคลอดแปรปรวนได้ง่าย เช่น ความตื่นเต้น ความกังวลใจในการเลี้ยงดูลูก ความกลัวการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าภายหลังคลอดได้
ดาวน์โหลดแอป
เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน
ทีมมะลิ
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลังคลอดมีหลายอย่างมาก ๆ เลยค่ะ
1. การเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์ : หลังจากรกคลอดครบมดลูกจะหดรัดตัว ระดับยอดมดลูกจะลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่าสะดือและจะค่อย ๆ ลดระดับลงเรื่อย ๆ จนกลับเข้าอู่ และการที่มดลุกหดรัดตัวก้จะเป็นการขับน้ำคาวปลาออกมาด้วย นอกจากนี้ปากมดลูกก็จะมีขนาดเล็กลงด้วย ส่วนเรื่องการมีประจำเดือนและการตกไข่หลังคลอด กรณีไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจเริ่มมีประจำเดือนภายใน 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด และอาจตกไข่ได้เร็วที่สุดคือ 33 วันหลังคลอด
2. การเปลี่ยนแปลงของทางเดินปัสสาวะ : หลังคลอดภายในสัปดาห์แรกปัสสาวะจะออกมากเพื่อลดปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ให้กลับสู่ภาวะปกติ จะเข้าสู่ภาวะปกติภายในสัปดาห์ที่ 3 หลังคลอด
3. การเปลี่ยนแปลงของเต้านม : ในระยะหลังคลอดจะมีฮอร์โมนโปรแลคตินที่ออกฤทธิ์ในการสร้างน้ำนม การการดูดนมจะทำให้ระดับโปรแลคตินเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างน้ำนมใหม่ขึ้นมาเพื่อเก็บไว้ นอกจากนี้ยังกระตุ้นการหลั่งออกซิโตซินให้มีการหลั่งน้ำนม หากไม่มีการดูดนมระดับโปรแลคตินจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 7 วันหลังคลอด แต่หากมีการให้นมบุตรโปรแลคตินจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 4 – 6 เดือนหลังคลอด
4. น้ำหนักตัว : น้ำหนักหลังคลอดจะลดลงประมาณ 5 – 6 กิโลกรัม และจะค่อย ๆ ลดลงอีก 2 – 3 กิโลกรัมภายใน 1 สัปดาห์ ลดลงจนเท่ากับขณะไม่ตั้งครรภ์ในเดือนที่ 6 หลังคลอด อย่างไรก็ตามน้ำหนักอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามแต่บุคคล
5. อารมณ์และจิตใจ : หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ คุณแม่จะรู้สึกดีใจและมีความสุข แต่อาจมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้อารมณ์และจิตใจของคุณแม่หลังคลอดแปรปรวนได้ง่าย เช่น ความตื่นเต้น ความกังวลใจในการเลี้ยงดูลูก ความกลัวการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าภายหลังคลอดได้