ตอนนี้ท้อง5สัปดาห์ค่ะ สามารถตรวจดาวซินโดม ได้ตอนกี่สัปดาห์ค่ะ
การตรวจวินิจฉัยดาวน์ซินโดรม เป็นการตรวจโครโมโซมของทารก วิธีที่นิยมใช้กัน คือ การเจาะตรวจน้ำคร่ำขณะอายุครรภ์ 17-20 สัปดาห์ แต่ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการแพทย์ทำให้มีการตรวจ คัดกรอง ดาวน์ซินโดรมได้หลายวิธี
วิธีที่ 1 : ตรวจครั้งเดียวในไตรมาสแรก ทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ ประกอบด้วย การตรวจอัลตราซาวด์วัดความหนาต้นคอทารก ร่วมกับเจาะเลือดแม่ วิธีนี้ตรวจกรองดาวน์ซินโดรมได้ 87%
วิธีที่ 2 : ตรวจ 2 ครั้งในไตรมาสแรกและต้นไตรมาสที่ 2 ทำโดยการตรวจอัลตราซาวด์วัดความหนาต้นคอทารก ร่วมกับเจาะเลือดแม่ครั้งแรกตอนอายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ แล้วต้องตรวจเลือดอีก 1 ครั้ง 2-4 สัปดาห์ต่อมา รายงานผลหลังจากเจาะเลือด ครั้งที่ 2 เป็นวิธีที่สามารถตรวจกรองดาวน์ซินโดรมได้สูงถึง 96%
วิธีที่ 3 : ตรวจครั้งเดียวในไตรมาสที่ 2 (Quaduple test) แต่กรณีที่แม่ฝากท้องหลังไตรมาสแรก ยังสามารถตรวจกรองดาวน์ซินโดรมได้สูงถึง 81% โดยการตรวจเลือดแม่ในช่วงอายุครรภ์ 15-20 สัปดาห์
วิธีที่ 4 : การตรวจด้วยเทคนิค non invasive prenatal testing (NIPT) ทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป จนถึง อายุครรภ์ ระหว่าง 14-18 สัปดาห์ ทำโดยการเจาะเลือดมารดาไปส่ ตรวจ
การตรวจข้างต้น แม้ว่าผลการตรวจจะปกติ ไม่สามารถยืนยันว่าลูกจะไม่เป็นทารกดาวน์ซินโดรมแน่ๆ แต่สามารถกบอกว่ามีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดอาการดาวน์ซินโดรม
เพิ่มเติมจากคุณหมอว่าการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมแต่ละวิธีมีความแม่นยำไม่เท่ากัน และราคาก็สูงต่ำแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น NIPT มีความแม่นยำสูงสุดที่ 99% ก็จะมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วยค่ะ หากคุณแม่ไม่ติดเรื่องงบประมาณตรวจ NIPT ก็จะแม่นยำที่สุด
สำหรับการตรวจดาวน์ที่เป็นวิธีเจาะน้ำคล่ำ จะเป็นการตรวจวินิจฉัยไม่ใช่การตรวจคัดกรอง หากคุณแม่ได้รับผลการตรวจคัดกรองว่ามีความเสี่ยงสูง ก็จะต้องตรวจวินิจฉัยด้วยกันเจาะน้ำคล่ำอีกครั้งค่ะ โดยเท่าที่ทราบหากเลือกตรวจแบบ NIPT แล้วมีความเสี่ยงสูง ทางบริษัทที่รับตรวจ จะออกค่าเจาะน้ำคล่ำให้ด้วยค่ะ อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางท่านที่อายุเกิน 35 ปีขึ้นไป อาจเลือกตรวจด้วยวิธีการเจาะน้ำคล่ำไปเลยทีเดียว ไม่ได้ตรวจคัดกรอง หรือบางท่านอาจจะตรวจคัดกรองก่อน หากความเสี่ยงต่ำ จะได้ไม่ต้องเจาะน้ำคล่ำ เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับการเจาะน้ำคล่ำ เป็นต้นค่ะ
อ้างอิงเพิ่มเติมจากบทความในแอปมะลิ https://app.mali.me/down-syndrome-screening-test
ดาวน์โหลดแอป
เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน
ทีมมะลิ
การตรวจวินิจฉัยดาวน์ซินโดรม เป็นการตรวจโครโมโซมของทารก วิธีที่นิยมใช้กัน คือ การเจาะตรวจน้ำคร่ำขณะอายุครรภ์ 17-20 สัปดาห์
แต่ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการแพทย์ทำให้มีการตรวจ คัดกรอง ดาวน์ซินโดรมได้หลายวิธี
วิธีที่ 1 : ตรวจครั้งเดียวในไตรมาสแรก ทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ ประกอบด้วย การตรวจอัลตราซาวด์วัดความหนาต้นคอทารก ร่วมกับเจาะเลือดแม่ วิธีนี้ตรวจกรองดาวน์ซินโดรมได้ 87%
วิธีที่ 2 : ตรวจ 2 ครั้งในไตรมาสแรกและต้นไตรมาสที่ 2 ทำโดยการตรวจอัลตราซาวด์วัดความหนาต้นคอทารก ร่วมกับเจาะเลือดแม่ครั้งแรกตอนอายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ แล้วต้องตรวจเลือดอีก 1 ครั้ง 2-4 สัปดาห์ต่อมา รายงานผลหลังจากเจาะเลือด ครั้งที่ 2 เป็นวิธีที่สามารถตรวจกรองดาวน์ซินโดรมได้สูงถึง 96%
วิธีที่ 3 : ตรวจครั้งเดียวในไตรมาสที่ 2 (Quaduple test) แต่กรณีที่แม่ฝากท้องหลังไตรมาสแรก ยังสามารถตรวจกรองดาวน์ซินโดรมได้สูงถึง 81% โดยการตรวจเลือดแม่ในช่วงอายุครรภ์ 15-20 สัปดาห์
วิธีที่ 4 : การตรวจด้วยเทคนิค non invasive prenatal testing (NIPT) ทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป จนถึง อายุครรภ์ ระหว่าง 14-18 สัปดาห์ ทำโดยการเจาะเลือดมารดาไปส่
ตรวจ
การตรวจข้างต้น แม้ว่าผลการตรวจจะปกติ ไม่สามารถยืนยันว่าลูกจะไม่เป็นทารกดาวน์ซินโดรมแน่ๆ แต่สามารถกบอกว่ามีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดอาการดาวน์ซินโดรม
นิรนาม
ณิชกานต์ เบญจศิริ (แม่พีร์)
เพิ่มเติมจากคุณหมอว่าการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมแต่ละวิธีมีความแม่นยำไม่เท่ากัน และราคาก็สูงต่ำแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น NIPT มีความแม่นยำสูงสุดที่ 99% ก็จะมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วยค่ะ หากคุณแม่ไม่ติดเรื่องงบประมาณตรวจ NIPT ก็จะแม่นยำที่สุด
สำหรับการตรวจดาวน์ที่เป็นวิธีเจาะน้ำคล่ำ จะเป็นการตรวจวินิจฉัยไม่ใช่การตรวจคัดกรอง หากคุณแม่ได้รับผลการตรวจคัดกรองว่ามีความเสี่ยงสูง ก็จะต้องตรวจวินิจฉัยด้วยกันเจาะน้ำคล่ำอีกครั้งค่ะ โดยเท่าที่ทราบหากเลือกตรวจแบบ NIPT แล้วมีความเสี่ยงสูง ทางบริษัทที่รับตรวจ จะออกค่าเจาะน้ำคล่ำให้ด้วยค่ะ อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางท่านที่อายุเกิน 35 ปีขึ้นไป อาจเลือกตรวจด้วยวิธีการเจาะน้ำคล่ำไปเลยทีเดียว ไม่ได้ตรวจคัดกรอง หรือบางท่านอาจจะตรวจคัดกรองก่อน หากความเสี่ยงต่ำ จะได้ไม่ต้องเจาะน้ำคล่ำ เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับการเจาะน้ำคล่ำ เป็นต้นค่ะ
อ้างอิงเพิ่มเติมจากบทความในแอปมะลิ https://app.mali.me/down-syndrome-screening-test