ดาวน์โหลดแอป

เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมของแม่คนอื่น และธนาคารนมแม่

เกร็ดความรู้

เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมของแม่คนอื่น และธนาคารนมแม่

นมแม่ก็เหมือนกับเลือด หรืออวัยวะต่าง ๆ สามารถส่งผ่านเชื้อโรค และโรคต่าง ๆ ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ต้องมีการตรวจคัดกรองก่อนบริจาคให้กับผู้อื่น

เชื้อโรคหลายชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่น HIV สามารถส่งผ่านนมแม่ได้ นอกจากนั้น ยังอาจมีไวรัสชนิดอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายกับทารกอีกเช่นกัน แต่ทารกนั้นจะสามารถดื่มนมแม่ของตัวเองได้โดยไม่ติดเชื้อไวรัสบางชนิด เพราะเขาได้รับภูมิคุ้มกันจำเพาะมาตั้งแต่อยู่ในท้องของคุณแม่แล้วนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงไม่แนะนำให้ทารกดื่มนมแม่ของคนอื่นโดยเด็ดขาด และคุณแม่เองก็ไม่ควรให้นมตัวเองกับลูกของคนอื่นเช่นกัน แม้ว่าคุณแม่จะได้รับการตรวจสุขภาพแล้ว หรือไม่ได้เป็นโรคติดต่อร้ายแรงใด ๆ ก็ตาม

แต่หากคุณแม่ต้องการบริจาค หรือรับบริจาคน้ำนมแม่ คุณแม่ควรติดต่อผ่านธนาคารนมแม่ เพราะทางธนาคารนั้นมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยคัดกรองความเสี่ยงต่างๆ

การตรวจคัดกรองนมของผู้บริจาค
นมแม่ที่ได้รับบริจาคต้องได้รับการตรวจคัดกรองและจัดการเหมือนกับสารอื่น ๆ จากร่างกายของมนุษย์ ผู้บริจาคทั้งหมดต้องผ่านกระบวนการตรวจคัดกรองอย่างเข้มงวดคล้ายกับที่ทำในการบริจาคเลือด ซึ่งรวมถึงการสัมภาษณ์ การคัดกรองทางเซรุ่ม และความยินยอมของแพทย์ เซรุ่มวิทยามีความหมายรวมไปถึงการทดสอบไวรัสตับอักเสบบีและซี รวมถึงเอชไอวี และไวรัสโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว นมต้องได้รับการเก็บรวบรวมอย่างถูกต้อง ผ่านการพาสเจอร์ไรส์และฆ่าเชื้อ

ธนาคารนมแม่
ธนาคารนมแม่แต่ละแห่ง ต้องมีผู้อำนวยการด้านการแพทย์และคณะกรรมการกำกับดูแล ซึ่งรวมถึงแพทย์นักโภชนาการ ที่ปรึกษาในการให้นมบุตร ผู้แทนจากแผนกการพยาบาลและผู้ติดเชื้อ การดำเนินงานประจำวันของธนาคารนมแม่จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของที่ปรึกษาด้านการให้นมบุตร นอกจากนี้ ยังอาจมีผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและโภชนาการอีกด้วย

ขั้นตอนการทำงานของธนาคารนมแม่
ที่ธนาคารนมแม่ นมจะถูกผสมรวมกันจากผู้บริจาค 4 คน เพื่อผสมผสานส่วนประกอบที่แตกต่างกัน จากนั้นนมจะผ่านการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และผ่านกรรมวิธีพาสเจอร์ไรซ์ (ที่อุณหภูมิ 62.5 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 นาที) และจะผ่านการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อให้แน่ใจว่าได้นมที่สะอาด ปลอดภัย ส่วนนมที่ไม่ได้มาตรฐานจะถูกทำลายทิ้ง นมที่ได้มาตรฐานจะถูกแช่แข็งอีกครั้งในขณะที่รอผลลัพธ์การฆ่าเชื้อขั้นสุดท้าย เมื่อมีคำขอนมจากธนาคารนมแม่ ทางธนาคารจะนำส่งและแจกจ่ายต่อไป

การเตรียมตัวเพื่อเป็นผู้บริจาคนมแม่
คุณแม่ผู้บริจาคทุกคนต้องได้รับการตรวจอย่างเข้มงวด ซึ่งต้องทำซ้ำทุกๆ 6 เดือน นมของคุณแม่ที่รับประทานยาเป็นประจำ สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ จะถูกปฏิเสธจากทางธนาคาร แต่ก็อาจเป็นการชั่วคราวในช่วงที่มีการใช้ยาเท่านั้น และเมื่อได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ให้บริจาคแล้ว คุณแม่จะได้รับการสอนเทคนิคการปั๊มนม และการเก็บรักษานมอย่างปลอดภัย คุณแม่อาจต้องเก็บนมหนึ่งครั้ง หรือหลายครั้งต่อวัน

คิดให้ดีก่อนที่จะรับบริจาคนมจากผู้อื่น
หากคุณแม่กำลังพิจารณาการให้นมลูกด้วยนมที่มาจากคุณแม่ท่านอื่น คุณแม่ควรคำนึงถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพ และความปลอดภัยที่อาจเกิดกับลูก ซึ่งหมายถึงการสัมผัสกับโรคติดเชื้อรวมถึงเอชไอวี สารเคมีปนเปื้อน เช่น ยาเสพติด และยาอื่น ๆ ที่อาจเจือปนอยู่ในนมที่ได้รับมาหากผู้บริจาคยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ หากนมที่ได้รับมานั้นไม่ได้รับการจัดการและเก็บรักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจมีสารปนเปื้อน และไม่ปลอดภัยที่จะดื่ม

ธนาคารนมแม่ในประเทศไทย
ขณะนี้ในประเทศไทยมีธนาคารนมแม่ 2 แห่ง ธนาคารนมแม่ศิริราช และธนาคารนมแม่รามาธิบดี ดำเนินการภายใต้แผนกกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ที่มีมาตรฐานด้านการให้นมบุตรอิงจากประเทศอื่น ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย คุณแม่ที่ต้องการบริจาคนมต้องกรอกประวัติส่วนตัวและผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันว่าสุขภาพของตนเองสมบูรณ์พอที่จะเป็นผู้บริจาคนมที่มีคุณภาพ เมื่อผ่านการคัดกรองแล้ว นมเหล่านี้ก็จะถูกส่งไปยังทารกในโรงพยาบาลต่อไป

หากคุณแม่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้ที่:

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (20 กุมภาพันธ์ 2019)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน