ดาวน์โหลดแอป

ภาวะปากมดลูกสั้น : ปัญหา, การวินิจฉัย และการรักษา

เกร็ดความรู้

ภาวะปากมดลูกสั้น : ปัญหา, การวินิจฉัย และการรักษา

ภาวะปากมดลูกสั้น เป็นหนึ่งในปัญหาหลาย ๆ อย่างที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อการตั้งครรภ์ได้

หากตรวจพบปัญหานี้ได้แต่เนิ่น ๆ จะทำให้การรักษาง่ายขึ้น และทำให้ผลการคลอดเป็นที่น่าพอใจมากขึ้นได้

ปากมดลูกสั้น และภาวะปากมดลูกเปิดโดยไม่มีการเจ็บครรภ์คืออะไร
ภาวะปากมดลูกสั้น คือภาวะที่หญิงตั้งครรภ์มีปากมดลูกสั้นกว่าปกติ ซึ่งอาจสังเกตเห็นได้จากการอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอด ซึ่งเป็นการตรวจตามปกติสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 

ภาวะปากมดลูกสั้น และภาวะปากมดลูกเปิดโดยไม่มีการเจ็บครรภ์ส่งผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร
ปากมดลูกที่สั้นกว่าปกติจะทำให้ความสามารถในการปกป้องทารกในครรภ์ลดลง และทำให้ปากมดลูกเปิดเร็วเกินไป หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าภาวะปากมดลูกเปิดโดยไม่มีการเจ็บครรภ์

โดยสรุปแล้วการมีปากมดลูกสั้นจะเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตร ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และการคลอดก่อนกำหนด การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดทำให้เกิดความเสี่ยงหลายอย่าง เช่น ทารกเสียชีวิตในครรภ์ น้ำหนักแรกเกิดน้อย เลือดออกในสมอง และความพิการระยะยาว

สัญญาณของภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ผู้หญิงหลายคนที่มีอาการภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอาจไม่พบสัญญาณเตือนใด ๆ แต่บางคนอาจรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อย หรือมีเลือดออกในช่วงสัปดาห์ที่ 14 – 20 ของการตั้งครรภ์ บางคนอาจมีอาการต่อไปนี้ด้วย

คุณแม่จะได้รับการตรวจปากมดลูกสั้นหรือไม่ ?
ในบางโรงพยาบาลจะทำการตรวจคัดกรองในคุณแม่ทุกราย แต่การตรวจภาวะปากมดลูกสั้นไม่ได้อยู่ในการตรวจครรภ์ตามปกติทั่วไปในบางโรงพยาบาล ดังนั้นแพทย์อาจไม่ได้ตรวจความยาวของปากมดลูกของคุณแม่ นอกเสียจากว่ามีเหตุบ่งชี้ให้ตรวจดังนี้

หากแพทย์คาดว่าคุณแม่อาจมีปากมดลูกสั้น อาจตรวจอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดเพื่อตรวจว่าคุณแม่จะมีภาวะปากมดลูกเปิดโดยไม่ได้มีการเจ็บครรภ์เมื่อไร การอัลตราซาวนด์ประเภทนี้ถือเป็นมาตรฐานหลักในการวัดปากมดลูก และมักทำก่อนเข้าสู่ไตรมาสที่สองตอนอายุครรภ์ประมาณ 16 สัปดาห์ และอาจเร็วกว่านั้นหากคุณแม่เคยมีประวัติแท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนดมาก่อน และปากมดลูกมีความยาวน้อยกว่า 25 มม. แพทย์อาจวินิจฉัยว่าคุณแม่มีภาวะปากมดลูกสั้น

การรักษา
ผู้ให้บริการอาจแนะนำให้คุณแม่ทำการเย็บผูกปากมดลูก ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่แพทย์จะใช้เส้นไหมที่แข็งแรงมาเย็บบริเวณปกมดลูกไว้ให้ปิดสนิท ขั้นตอนนี้อาจเริ่มทำได้ตั้งแต่ 13 – 14 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ โดยแพทย์จะเอาไหมออกประมาณสัปดาห์ที่ 37 เมื่ออายุครรภ์ครบตามกำหนดแล้ว หรืออาจใช้ห่วงพยุงปากมดลูกในบางกรณีเพื่อลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด นอกจากนี้ในรายที่ปากมดลูกสั้นไม่มากอาจมีการพิจารณามให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเสริมภายใต้การดูแลของสูติแพทย์

ปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยง
ปัจจัยบางประการที่อาจส่งผลต่อความยาวของปากมดลูก และทำให้เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมีดังนี้:

วิธีป้องกัน
ไม่มีวิธีใดที่ป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้ แต่ก็มีวิธีบางอย่างที่คุณแม่สามารถทำได้เพื่อระวังไว้ก่อน และเพื่อช่วยให้การตั้งครรภ์ของคุณแม่เป็นไปอย่างราบรื่นและสุขภาพดีตลอดอายุครรภ์ถึงจะเป็นคนที่มีความเสี่ยง คุณแม่สามารถปฏิบัติตัวดังนี้

 

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (1 มิถุนายน 2022)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน