ดาวน์โหลดแอป

สัญญาณใกล้คลอด: อาการที่บ่งบอกว่าคุณแม่ห่างจากกำหนดคลอด 1 – 4 สัปดาห์

วันคลอด

สัญญาณใกล้คลอด: อาการที่บ่งบอกว่าคุณแม่ห่างจากกำหนดคลอด 1 – 4 สัปดาห์

ร่างกายของคุณแม่จะเริ่มเตรียมตัวสำหรับการคลอดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 หนึ่งเดือนก่อนที่คุณแม่จะคลอด

ดังนั้นคุณแม่อาจเริ่มสังเกตเห็นอาการใหม่ ๆ เพราะวันกำหนดคลอดใกล้เข้ามาทุกที ไม่มีทางที่จะคาดเดากำหนดคลอดได้อย่างแม่นยำ จะทราบก็ต่อเมื่อกระบวนการคลอดได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และในบางทีถึงแม้ว่าคุณแม่จะสังเกตเห็นอาการบ่งบอกได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ การคลอดที่แท้จริงของลูก ก็อาจยังต้องรออีกเป็นวันหรือสัปดาห์

เมื่อลูก “เคลื่อนตัวลง”
หากนี่คือการตั้งครรภ์ครั้งแรกของคุณแม่ คุณแม่อาจรู้สึกว่า “ท้องลด” ไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่การคลอดจะเริ่มต้นขึ้น ซึ่งหมายความว่าลูก ได้เคลื่อนตัวลงไปพักในกระดูกเชิงกรานแล้ว คุณแม่อาจรู้สึกว่าเดินอุ้ยอ้ายมากขึ้นกว่าก่อน และคุณแม่อาจต้องกลับไปเข้าห้องน้ำบ่อยมากขึ้น เช่นเดียวกับที่เคยเป็นในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากศีรษะของเขาจะกดดันที่กระเพาะปัสสาวะของคุณแม่ แต่ข่าวดีก็คือ คุณแม่จะหายใจได้ทั่วท้องมากขึ้นกว่าเดิมสักหน่อย เนื่องจากลูกได้เคลื่อนที่ออกห่างจากปอดของคุณแม่นั่นเอง

ปากมดลูกขยายตัว
การขยายตัวของปากมดลูก คือการที่ปากมดลูกเปิดเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดบุตร อาจเกิดขึ้นไม่กี่วัน หรือสัปดาห์ก่อนคลอด การขยายตัววัดเป็นเซนติเมตรระหว่างการตรวจภายใน “ปากมดลูกเปิดเต็มที่” หมายความว่าปากมดลูกของคุณแม่เปิดอยู่ที่ 10 เซนติเมตร และพร้อมที่จะคลอดแล้ว สูติแพทย์จะสามารถบอกคุณแม่ได้ว่า ปากมดลูกของคุณแม่เปิดมากเท่าไหร่แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่สามารถทราบได้ด้วยตัวเอง

คุณแม่อาจเป็นตะคริวบ่อยขึ้น และมีอาการปวดหลังมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้านี่ไม่ใช่การตั้งครรภ์ครั้งแรกของคุณแม่ คุณแม่อาจรู้สึกปวดหัว และปวดขาหนีบ และหลังส่วนล่าง เนื่องจากกำหนดคลอดใกล้เข้ามาทุกที จะมีอาการคล้ายกับอาการปวดประจำเดือน กล้ามเนื้อและข้อต่อของคุณแม่กำลังยืดตัวและขยายตัว เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด

คุณแม่รู้สึกกว่าข้อต่อต่าง ๆ หลวมขึ้น
ตลอดเวลาของการตั้งครรภ์ฮอร์โมน relaxin จะทำให้เส้นเอ็นทั้งหมดของคุณแม่อ่อนนุ่ม และคลายตัว (ซึ่งส่งผลทำให้คุณแม่กลายเป็นคนซุ่มซ่ามในช่วงที่ผ่านมา) ก่อนที่คุณแม่จะเข้าสู่กระบวนการคลอด คุณแม่อาจรู้สึกได้ว่าข้อต่อทั่วร่างกายหลวมและผ่อนคลาย ซึ่งเป็นวิธีทางธรรมชาติในการเปิดกระดูกเชิงกรานของคุณแม่ เพื่อให้ลูกสามารถเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอดออกมาสู่โลกภายนอกได้นั่นเอง

มีอาการท้องเสีย
กล้ามเนื้ออื่น ๆ ในร่างกายของคุณแม่รวมทั้งทวารหนัก กำลังผ่อนคลายเพื่อการเตรียมตัวสำหรับการคลอด เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อที่มดลูกของคุณแม่ ซึ่งอาจนำไปสู่การเคลื่อนไหวของลำไส้ที่หลวมลง และถ่ายมากขึ้น แม้ว่าภาวะเหล่านี้จะน่ารำคาญแต่ก็เป็นเรื่องปกติ พยายามดื่มน้ำมาก ๆ และขอให้คิดว่านี่เป็นสัญญาณที่ดี

คุณแม่อาจรู้สึกเหนื่อยล้ามากหรืออาจเป็นตรงกันข้าม
ท้องขนาดใหญ่ของคุณแม่ รวมถึงกระเพาะปัสสาวะที่กำลังทำงานหนัก และความเหนื่อยล้าอาจทำให้คุณแม่ใช้ชีวิตลำบากขึ้น หรือเป็นไปได้ยากที่จะนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอตอนกลางคืนในช่วงท้าย ๆ คุณแม่อาจพกหมอนติดตัวไว้ และพยายามงีบหลับในช่วงกลางวันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เว้นแต่ว่าคุณแม่จะรู้สึกตรงกันข้าม คุณแม่บางคนอาจมีพลังงานล้นเหลือเมื่อใกล้ถึงวันคลอด และอาจไม่สามารถต้านทานความตื่นเต้นที่จะทำความสะอาด และจัดที่จัดทางเพื่อเตรียมตัวต้อนรับลูกที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้าได้ ในกรณีแบบนั้นก็ไม่มีอะไรน่ากังวล ตราบเท่าที่คุณแม่ไม่ได้หักโหมจนเกินไป

คุณแม่ควรหยุดการเพิ่มน้ำหนัก
การเพิ่มของน้ำหนักตัวของคุณแม่มีแนวโน้มที่จะลดลงในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ว่าที่คุณแม่บางคนอาจพบว่าน้ำหนักลดลง 1 – 2 กิโลกรัม นี่เป็นเรื่องปกติและจะไม่มีผลต่อน้ำหนักตัวแรกคลอดของลูก น้ำหนักของเขายังคงเพิ่มขึ้น ในขณะที่น้ำหนักตัวของคุณแม่เองอาจลดลงเนื่องจากปริมาณน้ำคร่ำลดลง

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (7 สิงหาคม 2019)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน