ปฏิกิริยาตอบสนองของเด็กทารก: มอโร รีเฟล็กซ์
พัฒนาการเด็ก
โดยปกติแล้วเด็กทารกจะค่อนข้างฉลาดตั้งแต่ทันทีที่เกิด ในวันแรกที่เกิดมา ลูกจะมีสัญชาตญาณที่จะกำนิ้วและรู้ว่าต้องเข้าหาทรวงอกแม่ คุณหมอของลูกจะคอยตรวจเช็คปฏิกิริยาโต้ตอบอัตโนมัติเหล่านี้อยู่เสมอ ๆ เริ่มตั้งแต่วันแรกของชีวิต
ปฏิกริยาตอบสนองคืออะไร
ปฏิกิริยาโต้ตอบอัตโนมัติเป็นการขยับตัวโดยไม่ได้ตั้งใจ บางอย่างก็เกิดเองตามธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของลูก แต่บางอย่างก็เป็นการตอบโต้กับการกระทำ การมีปฏิกิริยาโต้ตอบอัตโนมัติเหล่านี้เป็นการบ่งบอกว่าระบบประสาทและสมองของลูกทำงานได้ปกติ ปฏิกิริยาโต้ตอบอัตโนมัติบางอย่างอาจจะเกิดอยู่ในช่วงใดช่วงหนึ่งของพัฒนาการของเขาเท่านั้น หัวข้อต่อไปนี้เป็นหนึ่งในปฏิกิริยาโต้ตอบอัตโนมัติตัวอย่างที่พบมากในเด็กแรกเกิด
ปฏิกิริยาโต้ตอบอัตโนมัติหลัก ๆ สามารถแบ่งออกมาได้ทั้งหมด 7 ชนิด ซึ่งเราจะนำมาให้คุณแม่ได้อ่านเรื่อย ๆ ในบทความหลังจากนี้
ในวันนี้เราจะเริ่มกันที่ มอโร รีเฟล็กซ์
มอโร รีเฟล็กซ์ หรือสตาเติล รีเฟล็กซ์ (Moro Reflex or Startle Reflex)
มักเกิดขึ้นตอนที่ลูกตกใจเสียงดัง ๆ การเคลื่อนไหวเร็ว ๆ หรือความรู้สึกของการตกหรือล้ม ลูกจะเกร็งตัวแน่น เหวี่ยงแขนขึ้นในอากาศและออกด้านข้าง แบมือที่มักจะกำอยู่ออก ยกเข่าขึ้น จากนั้นก็นำแขนและมือที่กำใหม่อีกครึ่งเข้าใกล้ตัว เหมือนจะเข้ากอดตัวเอง ไม่กี่วินาทีหลังจากนั้นก็จะคลายลง ปฏิกิริยาโต้ตอบแบบ มอโร รีเฟล็กซ์นี้จะค่อย ๆ ลดลง และหายไปเมื่อลูกอายุประมาณ 4-6 เดือน
ผิดปกติไหมถ้าไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้อัตโนมัติเลย?
ถ้าหากมีความปกติคุณหมอน่าจะตรวจพบได้ เช่น ถ้าหากว่าลูกไม่มีมอโร รีเฟลกซ์ ก็อาจแปลว่าเขาได้รับการกระทบกระเทือนในสมอง ในไขสันหลัง หรือส่วนอื่น ๆ การจะวิเคราะห์ให้แน่ชัดว่าลูกผิดปกติหรือไม่นั้น จะต้องให้คุณหมอเป็นผู้ทดสอบและพิจารณาเท่านั้น
รับรองโดย:
นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ (13 กุมภาพันธ์ 2019)