
นัดคุณหมอครั้งต่อไป (สัปดาห์ที่ 24-28)
ในนัดครั้งนี้ คุณหมอจะตรวจดูการพัฒนาของ ลูก และตรวจเลือดคุณแม่ว่ามีโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่ โดยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานมาก่อน แต่ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์
จุดประสงค์ในการตรวจ
- การตรวจปัสสาวะ,วัดความดันและชั่งน้ำหนัก
- ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์
- การตรวจบริเวณหน้าท้องและวัดขนาดของหน้าท้อง
- คุณแม่จะได้ดื่มเครื่องดื่มที่มีความหวานสูงหลังจากนั้น 1 ชั่วโมงแพทย์จะตรวจเลือดเพื่อดูปฏิกริยาของร่างกายต่อน้ำตาล หากผลที่ได้เป็นบวก แพทย์จะนัดมาตรวจความทนทานต่อน้ำตาล Glucose Oral Tolerance Test (OGTT) เพิ่ม
- คุณแม่อาจได้รับวัคซีน คอตีบ ไอกรน บาดทะยักในช่วงสัปดาห์ที่ 27-36 จำนวน 1 เข็ม
การเตรียมคำถามก่อนมาพบแพทย์
- เมื่อถึงเวลาเจ็บครรภ์คลอด แพทย์จะให้ลองเบ่งคลอดเองเป็นเวลานานเท่าไหร่จนกว่าจะแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดคลอด
- จำเป็นต้องเร่งคลอดหรือไม่? ผ่านวันกำหนดคลอดไปกี่วันถึงจะทำการเร่งคลอด?
- การบล็อกหลังมีหลักการอย่างไร? นอกเหนือจากนี้มีวีธีการลดความเจ็บปวดอื่นๆ อีกหรือไม่?
- มีคอร์สเรียนรู้วิธีการคลอดลูกที่แพทย์แนะนำหรือไม่?
- มีข้อจำกัดใดบ้างในเรื่องของการเดินทางระหว่างการตั้งครรภ์?
- สาเหตุใดที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน?
- หากต้องตรวจความทนทานต่อน้ำตาล(OGTT)ควรเตรียมตัวอย่างไร?
- หากผลการตรวจเป็นบวก มีอาหารประเภทใดบ้างที่ต้องงด และจำเป็นต้องออกกำลังกายหรือไม่?
- แพทย์สามารถส่งไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับคนท้องได้หรือไม่?
- มีกิจกรรมใดที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานบ้าง
การเตียมตัวก่อนมาพบแพทย์
- ศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการคลอดบุตรในแบบต่างๆ
- หาคอร์สอบรมการคลอดบุตรหากสนใจ
- กินอาหารตามปกติ ไม่จำเป็นต้องอดอาหารเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
- การตรวจในครั้งนี้เป็นเพียงการตรวจเบื้องต้นเท่านั้น ผลที่ออกมาเป็นบวกนั้นหมายถึงการที่คุณแม่จะต้องมีการตรวจเช็คอื่นๆ ต่อไป
* คุณแม่สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับนัดคุณหมอทั้งหมดได้ในเมนู “นัดคุณหมอ”