ยินดีต้อนรับสู่ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์!
อัปเดต
ในตอนนี้คุณแม่มาถึงขั้นตอนสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้ว และอาจกำลังตื่นเต้นที่จะได้พบกับลูก
อาการบางอย่างที่คุณแม่อาจพบในช่วงสุดท้ายนี้ ได้แก่ หายใจลำบาก โรคริดสีดวงทวาร ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เส้นเลือดขอดและปัญหาการนอนหลับ
พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์
ลูก ยังคงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และสะสมไขมันไว้ใต้ชั้นผิวหนัง เปลือกตาของเขาไม่ได้ปิดสนิทอีกต่อไปแล้ว ซึ่งหมายความว่าเขากระพริบตาได้เป็นปกติ เขาจะพัฒนาความสามารถในการมองเห็นและการได้ยิน และเขาจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก เช่น แสง และเสียง เขาจะสามารถจดจำเสียงของคุณแม่ได้ นี่เป็นช่วงเวลาที่ดีของคุณแม่ ในการเริ่มต้นอ่านนิทานให้เขาฟัง ซึ่งจะเป็นกิจกรรมที่ดีที่คุณแม่สามารถทำร่วมกับลูกได้ตั้งแต่ตอนนี้ไปจนถึงเมื่อเขาเข้าสู่วัยรุ่น เด็ก ๆ ส่วนใหญ่มักจะชอบ เพราะช่วยให้พวกเขาได้เรียนรู้ภาษาของคุณแม่ และได้คำศัพท์ใหม่ ๆ นอกจากนี้ ยังช่วยจุดประกายจินตนาการของพวกเขาได้ดีอีกด้วย ลูกยังคงดูดนิ้วหัวแม่มือของเขา หรือกำลังฝึกการดูด เพื่อที่จะได้เรียนรู้วิธีการดูดนมแม่เมื่อเขาคลอดออกมา ลูกจะหมุนตัวไปสู่ตำแหน่งที่กลับหัว ลงไปทางอุ้งเชิงกรานของคุณแม่ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ในช่วงเดือนที่ 9 ของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของเด็กบางคนที่อาจจะไม่กลับหัว ซึ่งคุณหมอจะแจ้งให้ทราบ และจะวางแผนการคลอดต่อไป
สิ่งที่คุณแม่จะได้เจอ
คุณแม่อาจจะรู้สึกไม่สบายตัวเนื่องจากขนาดและน้ำหนักของลูกที่เพิ่มขึ้น คุณแม่อาจรู้สึกว่าหายใจลำบากขึ้น และต้องไปห้องน้ำบ่อยขึ้นอีก แต่เมื่อเขากลับหัวลงแล้ว คุณแม่จะหายใจสะดวกขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าอาจจะรู้สึกกดดันมากขึ้นในช่องท้อง และกระดูกเชิงกรานส่วนล่างของคุณ คุณแม่อาจพบกับอาการอื่น ๆ ของการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 3 เช่น ปวดขา รู้สึกไม่มั่นคงที่เท้า อาการปวดหลัง ความเมื่อยล้า อ่อนเพลีย ปวดข้อมือ และผิวหนังอักเสบ คุณแม่หลายคนอาจมีรอยแตกลายเกิดขึ้นโดยรอบหน้าท้อง หน้าอก และต้นขาซึ่งรอยเหล่านี้มักจะจางหายไปเมื่อเวลาผ่านไป คุณแม่ยังอาจพบกับอาการบวมที่ข้อเท้า และเท้า เนื่องจากมีของเหลวเพิ่มมากขึ้นในร่างกาย พยายามยกขาสูงขึ้นทุกครั้งที่มีโอกาส จะสามารถช่วยบรรเทาอาการบวมนี้ได้
สิ่งที่ทำได้
เตรียมเก็บกระเป๋าเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการไปโรงพยาบาลได้ทุกเมื่อ เผื่อในกรณีที่ลูกอยากพบหน้าของคุณแม่เร็วขึ้น และนี่น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ดี่ที่จะมองหากุมารแพทย์ (หมอเด็ก)ประจำตัวของลูกศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคลอดบุตร เพื่อที่คุณแม่จะรู้ได้ทันทีเมื่อมันเกิดขึ้น และเมื่อไหร่ที่จะต้องไปโรงพยาบาล การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคลอดบุตร และการดูแลลูกจะช่วยลดความวิตกกังวลของคุณแม่และสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ในอนาคต อาจลองเข้ารับการอบรมเรื่องการคลอดบุตร คุณแม่จะได้เรียนรู้เทคนิคการผ่อนคลาย และการออกกำลังกายยืดเส้น ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสงบและมีสมาธิ พยายามนอนหลับให้ได้อย่างน้อยเจ็ดชั่วโมงในแต่ละคืน และงีบหลับในระหว่างวัน เพื่อให้คุณแม่มีพลังสำหรับการคลอดบุตรได้มากที่สุด ใช้หมอนเพื่อรองต้นขา และหลัง และ และนอนตะแคงเพื่อให้นอนหลับสบายขึ้น พยายามเคลื่อนไหวให้ช้าลง ลดหน้าที่ในบ้านของตัวเองลงเยอะ ๆ ขอให้เพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวช่วยเมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้ และใช้เวลาดูแลตัวเองให้มากที่สุด – คุณแม่สมควรได้รับความสบายที่สุด!
คุณแม่สามารถพบกับบทสัมภาษณ์จากคุณหมอ วรชัย ชื่นชมพูนุท จากโรงพยาบาล BNH เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 ได้ที่
วีดีโอไตรมาสที่ 3 จากคุณหมอ
รับรองโดย:
พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (17 มกราคม 2019)