ดาวน์โหลดแอป

ไตรมาสที่ 3 จากคุณหมอ

อัปเดต

ไตรมาสที่ 3 จากคุณหมอ

ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์จะเป็นช่วงที่ลูกเพิ่มน้ำหนักตัวเยอะที่สุด และคุณแม่เองก็จะเริ่มมีอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ จากน้ำหนักที่มากขึ้นด้วย

ในตอนนี้คุณแม่มาถึงขั้นตอนสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้ว ซึ่งไตรมาสนี้จะนับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 28-42 น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมาอาจจะทำให้คุณแม่มีอาการต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติ รวมถึงความตื่นเต้นตื้นตันที่จะได้พบหน้าลูกเร็ว ๆ นี้ และอาจมีความตื่นกลัวอีกเล็กน้อยด้วย

พัฒนาการของลูก
ในตอนนี้ลูกยังเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เขาจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 กิโลกรัมในช่วงแรก และจะเพิ่มขึ้นถึง 3-4 กิโลกรัมในช่วงท้าย ๆ หน้าตาของเขาจะเริ่มดูชัดเจนเหมือนเด็กทารก เขาจะสามารถที่จะมองเห็น และได้ยิน สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก เช่น แสง และก็เสียงได้แล้ว ลูกสามารถจะจดจำเสียงคุณแม่ได้ เพราะฉะนั้นคงจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะเริ่มอ่านนิทานให้เขาฟัง 

ตอนนี้เขายังคงดูดนิ้วหัวแม่มือ กำลังฝึกดูดเพื่อจะเรียนรู้การดูดน้ำนมจากคุณแม่หลังคลอดหรือสามารถดูดจากจุกจากขวดนมได้เลย เมื่อถึงช่วงกลางของไตรมาสนี้เจ้าตัวน้อยก็จะแข็งแรงพอ ถ้าเขาต้องเกิดออกมาคลอดก่อนกำหนดสามารถรอดชีวิตได้ ในช่วงเดือนที่ 9 ของการตั้งครรภ์ ลูกจะหมุนตัวไปสู่ตำแหน่งกลับหัว ลงไปในอุ้งเชิงกรานของคุณแม่และเคลื่อนตัวลงมาต่ำ พร้อมที่จะคลอดแล้ว

อาการของคุณแม่
คุณแม่อาจจะรู้สึกไม่สบายตัว เนื่องจากขนาด และน้ำหนักของลูกที่เพิ่มขึ้น อาการที่พบได้บ่อย ในไตรมาสที่ 3 เช่น ปวดขา เป็นตะคิว รู้สึกไม่มั่นคงที่เท้า อาการท้องผูก ปวดหลัง ความเหนื่อยล้า ความอ่อนเพลีย กรดไหลย้อน ริดสีดวง คันผิวหนัง อาการตกขาว และก็เท้าบวม นอกจากนี้คุณแม่จะรู้สึกว่าการหายใจลำบากขึ้น ต้องไปเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นอีก ทำให้การนอน 1 คืน ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร แต่เมื่อลูกกลับหัวลงไปแล้ว คุณแม่ก็จะหายใจสะดวกมากขึ้น แม้ว่าอาจจะมีการกดดันในช่องท้อง แล้วก็กระดูกเชิงกันมากขึ้นก็ตาม 

ถ้าคุณแม่มีอาการกรดไหลย้อนอาจจะเป็นเพราะ ฮอร์โมน Progesterone ที่ทำหน้าที่ผ่อนคลายกล้ามเนื้อของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ โดยจะมีผลทำให้หูรูดที่ป้องกันกรดไม่ให้ไหลย้อน ทำงานได้ไม่ค่อยดี อีกทั้งมดลูกที่ใหญ่ขึ้นก็ยังไปดันกระเพาะ ทำให้กรดไหลย้อนกลับเข้าไปหลอดอาหารได้อีก 

อาการเจ็บท้อง
คุณแม่อาจจะเริ่มรู้สึกถึงการเจ็บเตือนหรือว่าเรียกว่า Braxton-Hicks contractions ซึ่งอาการเจ็บท้องคลอดของจริง จะเกิดขึ้นในช่วงประมาณไปปลาย ๆ ทุก 30 นาที ในช่วงแรก หลังจากนั้นก็จะเพิ่มความถี่ขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะเป็นทุก 5 นาที และมีความรุนแรงขึ้น บวกกับอาจจะมีมูกเลือดทางช่องคลอด ซึ่งจะเป็นตัวบอกว่าคุณแม่ใกล้จะพร้อมจะคลอดแล้ว 

การปรับตัว
คุณแม่ควรจะรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ทานปลา ผักใบเขียว อย่าทานอาหารหวานมากเกินไป และก็อย่าลืมดื่มน้ำเยอะ ๆ โดยพยายามทานอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ ถี่ ๆ เพื่อลดอาการกรดไหลย้อน แล้วก็ทานช้า ๆ 

ถ้าคุณแม่พบว่ามีรอยแตกลายที่ผิวหนังบริเวณท้อง เต้านมหรือต้นขา อาจจะใช้ครีมทาอ่อน ๆ ได้ ทั้งนี้ ยังไม่มีเครื่องพิสูจน์เลยว่าครีมบำรุงตัวไหนจะมีผลในการบรรเทาได้จริง ๆ แต่รอยแตกลายเหล่านี้ก็จะค่อย ๆ จางลงหลังจากที่คลอดเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ถ้ามีอาการคันมาก ซึ่งเป็นเรื่องปกติจากการขยายตัวของผิวหนังอย่างรวดเร็ว ก็สามารถทาโลชั่นหรือประคบน้ำแข็งได้เช่นกัน 

คุณแม่สามารถใช้หมอนรองบริเวณต้นขาหรือหลังเพื่อให้ช่วยนอนสบายขึ้น และนอนตะแคงตัวทำให้ไม่อึดอัดตอนนอน ถ้าคุณแม่มีอาการข้อเท้าบวม นั่นเกิดจากการที่ของเหลวมีปริมาณมากขึ้นในร่างกาย เรียกว่า Enema พยายามยกขาทุกครั้งที่มีโอกาส จะช่วยเรื่องการลดบวมได้ งดอาหารเค็ม งดผงชูรส รับประทานแตงกวา มะนาว ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ก็จะช่วยลดอาการบวมได้เช่นกัน 

อย่าลืมคุยเรื่องอาการเหล่านี้ และอาการอื่น ๆ กับคุณหมอบ่อย ๆ และอย่าใช้ยาอะไรที่คุณหมอไม่ได้รับคำแนะนำ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ 

สัญญาณคลอด
ในช่วงนี้ถ้าคุณแม่มีมูกออกทางช่องคลอด และคิดว่าตัวเองใกล้เวลาจะคลอดแล้ว ควรเตรียมกระเป๋าเอาไว้เพื่อจะได้ไปโรงพยาบาลทุกเมื่อที่พร้อม 

นัดคุณหมอ
ไตรมาสสุดท้าย คุณหมอจะมีการตรวจเพิ่มเติมเจอกันบ่อยขึ้น อาจเป็นทุกสัปดาห์ นอกจากตรวจความเรียบร้อยแล้ว คุณหมอก็อาจจะมีการตรวจดูตำแหน่งของลูก เพื่อดูว่ามีการกลับตัว กลับศีรษะลงมาในอุ้งเชิงกรานหรือยัง 

ในช่วงสัปดาห์ที่ 36  เป็นต้นไป อาจจะมีการตรวจภายในบริเวณอุ้งเชิงกรานของคุณแม่ ว่าเริ่มมีการเปิดหรือยัง ซึ่งเมื่อเปิดประมาณ 1-2 เซนติเมตรแล้ว ก็เป็นไปได้ว่าคุณแม่ใกล้จะคลอดเร็ว ๆ นี้ นอกจากนี้คุณหมอหลายท่านจะมีการเพาะตรวจเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง โดยจะเก็บตรวจจากบริเวณช่องคลอด และทวารหนักเพื่อไปตรวจหาเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Group B Strep หรือ GBS ซึ่งพบได้ในผู้หญิง ประมาณ 25% เชื้อแบคทีเรียตัวนี้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ กับคุณแม่ แต่สามารถจะก่อให้เกิดปัญหากับทารกแรกคลอดได้ถ้าคลอดผ่านช่องคลอด ซึ่งถ้าตรวจพบเจอเชื้อแบคทีเรียตัวนี้ตัวนี้ คุณหมอจะสั่งยาปฏิชีวนะฉีดให้คุณแม่ระหว่างเจ็บครรภ์คลอด เพื่อป้องกันลูกจากการติดเชื้อรุนแรง 

ถ้าคุณแม่ตัดสินใจจะคลอดแบบธรรมชาติ คุณหมอจะให้คำปรึกษาในการให้ยาแก้ปวด รวมถึงตัวเลือกหลาย ๆ อย่าง คุณแม่ควรใช้เวลานัดคุยกับคุณหมอในช่วงนี้ สอบถามเพิ่มเติมในเรื่องของการคลอดบุตร และทุกคำถามที่คุณแม่สงสัย เช่น ถามคุณหมอว่าที่โรงพยาบาลอนุญาตให้ที่ปรึกษาการคลอดเข้ามาในห้องคลอดได้หรือไม่ หรือคุณแม่จะใช้เวลาหลังคลอดอยู่กับลูกสักพักก่อนจะพาเขาออกไปได้รึเปล่า เพื่อให้คุณแม่มีเวลาให้นม สร้างความสัมพันธ์กับลูกทันทีหลังคลอด เป็นวิธีที่นิยมในต่างประเทศค่อนข้างเยอะ 

คุณแม่หลายคนมีความวิตกกังวลและลำบากมากหน่อยในช่วงไตมาสที่ 3 แต่ทันทีที่คุณแม่ได้อุ้มลูกน้อยไว้ในอ้อมแขน ความกังวลทั้งหมดก็จะหายไปทันที

คำอธิบาย โดย นพ. วรชัย ชื่นชมพูนุท

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน