ดาวน์โหลดแอป

6 สัญญาณอันตรายในขณะตั้งครรภ์

คุณแม่

6 สัญญาณอันตรายในขณะตั้งครรภ์

อาการของการตั้งครรภ์บางอย่างเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับคุณแม่บางคนอาจเป็นการเตือนภัยและต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างเร่งด่วนเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูก

1. มีเลือดออก
ในช่วงไตรมาสแรก การมีเลือดออกและปวดเกร็งช่องท้องส่วนล่างอาจเป็นสัญญาณของการแท้งบุตร หรือถ้าคุณมีเลือดออกและมีอาการปวดอย่างรุนแรงหรือรู้สึกเหมือนกับว่าคุณกำลังจะเป็นลม นั่นอาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์นอกมดลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูกเกิดขึ้นเมื่อไข่ที่ได้รับการปฏิสนธินั้นไปฝังตัวที่อื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ในไตรมาสที่ 3 การมีเลือดออกร่วมกับมีอาการปวดท้องอาจบ่งบอกถึงภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่รกที่อยู่ในตำแหน่งปกติ มีการลอกตัวก่อนที่จะมีการคลอดทารกออกมา

การมีเลือดออกในระหว่างตั้งครรภ์จำเป็นต้องให้อยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดโดยทันที

2. อาการคลื่นไส้และอาเจียนรุนแรง
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ อาการคลื่นไส้ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าอาการรุนแรงมากจนคุณแม่ไม่สามารถกินหรือดื่มอะไรได้ คุณแม่จะเสี่ยงต่อภาวะการขาดน้ำและอาจเป็นอันตรายต่อลูก ควรปรึกษากับคุณหมอหากคุณแม่คิดว่าอาการคลื่นไส้นั้นรุนแรงผิดปกติ

3. ระดับกิจกรรมของ ลูก ลดลง
ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์คุณอาจรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของเขายเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อลูกเติบโตขึ้น การดิ้นของเขาจะแรงขึ้นและบ่อยขึ้น เมื่อคุณแม่เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 แล้วควรเริ่มนับอัตราการดิ้นของเขา ไม่มีจำนวนของการดิ้นที่ควรจะเป็นอย่างแน่ชัดหรือมีนัยสำคัญ แต่โดยปกติแล้วควรมีจำนวน 10 ครั้งหรือมากกว่านั้นภายในเวลา 2 ชั่วโมง

หากต้องกระตุ้นให้ลูกดิ้น คุณแม่ลองดื่มอะไรที่เย็น ๆ หรือรับประทานอะไรก็ได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและน้ำตาลในเลือดมักกระตุ้นให้ทารกในครรภ์เคลื่อนไหว

ถ้าคุณแม่คิดว่าการเคลื่อนไหวของลูกลดลงหรือหยุดลงให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน

4. มดลูกบีบตัวเร็วกว่าปกติในช่วงไตรมาสที่ 3
การบีบตัวของมดลูกอาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด แม้ว่าคุณแม่หลาย ๆ คนอาจสับสนระหว่างการเจ็บเตือน กับการเจ็บครรภ์คลอดจริง ซึ่งเรียกว่า Braxton-Hicks contractions การบีบตัวของมดลูกเช่นนี้มักจะไม่ปกติและไม่ได้ถี่มากนัก และอาจหยุดเมื่อคุณแม่เดินพักผ่อนหรือเปลี่ยนท่านั่งหรือนอน ขณะที่การเจ็บครรภ์คลอดจริงจะไม่หยุด แม้จะเดินหรือเปลี่ยนท่านั่งหรือนอนก็ตาม ซึ่งอาจเกิดในช่วงเวลาปกติ และยิ่งถี่มากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป หากคุณแม่พบการบีบตัวของมดลูกที่เหมือนกับการเจ็บครรภ์คลอดจริงเร็วเกินไป คุณแม่ควรรีบติดต่อคุณหมอประจำตัวทันที

5. น้ำคร่ำแตก
หากคุณแม่รู้สึกว่ามีน้ำไหลท่วมขา น้ำคร่ำของคุณแม่อาจแตกหรืออาจจะเป็นเพียงการรั่วไหลของปัสสาวะก็ได้ เพราะในระหว่างตั้งครรภ์ มดลูกที่ขยายตัวอาจทำให้เกิดความกดดันต่อกระเพาะปัสสาวะของคุณแม่ด้วย คุณแม่ควรไปที่ห้องน้ำและปัสสาวะออกมาให้หมด ถ้าพบว่าของเหลวมีสีเหลืองและมีกลิ่นแอมโมเนีย นั่นคือปัสสาวะปกติ แต่ถ้าพบว่าของเหลวยังคงไหลออกมาไม่หยุดและไม่มีกลิ่น หรือมีกลิ่นออกหวาน นั่นอาจเป็นน้ำคร่ำได้ ในกรณีที่น้ำคร่ำของคุณแม่แตก ก็แปลว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องไปโรงพยาบาล

6. ปวดศีรษะรุนแรง ปวดท้อง สายตาพร่าเลือนในช่วงไตรมาสที่ 3
อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะที่ร้ายแรงซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างตั้งครรภ์ ความผิดปกตินี้อาจเกิดจากความดันโลหิตสูงและโปรตีนส่วนเกินในปัสสาวะซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากสัปดาห์ที่ 20 ของตั้งครรภ์ คุณแม่ควรโทรหาคุณหมอประจำตัวในทันที และการดูแลครรภ์ที่ดีตั้งแต่ต้นสามารถช่วยในการเฝ้าระวังภาวะครรภ์เป็นพิษได้มากขึ้น

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (3 มกราคม 2019)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน