การเพิ่มน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์
อัตราการเพิ่มของน้ำหนักที่เหมาะสมในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้คุณแม่แน่ใจได้ว่า ลูก มีพัฒนาการที่รวดเร็ว มีความสุข และมีสุขภาพดี
การเพิ่มน้ำหนักอย่างเหมาะสมในระหว่างตั้งครรภ์เป็นตัวบ่งชี้พัฒนาการที่สมบูรณ์ของ ลูก
ทำไมการเพิ่มน้ำหนักจึงมีความสำคัญ
ในระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ลูกจะได้รับสารอาหารทั้งหมดจากคุณแม่ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกจะได้รับพลังงานเพียงพอที่จะเติบโต คุณมีหน้าที่ต้องกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมาก ๆ และเพิ่มน้ำหนักให้เพียงพอ แต่การรับประทานอาหารที่มีรสหวานหรือไขมันมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน นี่คือเหตุผลที่การติดตามโดยอิงจากน้ำหนักของคุณแม่ตามดัชนีมวลกาย (BMI) จึงมีความสำคัญมาก
อัตราการเพิ่มของน้ำหนักในไตรมาสแรก
ในช่วงไตรมาสแรก น้ำหนักคุณแม่ส่วนใหญ่จะไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก เนื่องจากการตั้งครรภ์ของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไประหว่าง 0.5-2.5 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องปกติที่น้ำหนักของคุณแม่จะไม่เพิ่มขึ้น หรืออาจลดลงเล็กน้อยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากการรับประทานอาหารได้น้อยลง หรือมีอาการแพ้ท้อง
อัตราการเพิ่มของน้ำหนักในไตรมาส 2 และ 3
ว่าที่คุณแม่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่าง 4–9 กิโลกรัมเมื่อจบไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ อัตราการเพิ่มของน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 3 เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ทารก เก็บสะสมไขมันทารกไว้มากมาย ดังนั้นคุณแม่ควรต้องแน่ใจว่า ได้รับประทานอาหารอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และไม่มีน้ำตาลมากเกินไป
น้ำหนักควรเพิ่มมากเท่าไหร่?
ส่วนใหญ่ของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้น ขนาดของเต้านมที่ใหญ่ขึ้น การสะสมของเหลว รวมทั้งน้ำหนักของลูกและรก อัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวเดิมก่อนตั้งครรภ์ของคุณแม่ โดยถูกกำหนดด้วยเกณฑ์ตามดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณแม่เอง
อัตราการเพิ่มของน้ำหนักที่แนะนำ
BMI : น้ำหนักที่ควรเพิ่ม
<18 : 10 – 18 กก.
18 – 25 : 8 – 16 กก.
25 – 30 : 6 – 14 กก.
>30 : 4 – 8 กก.
BMI : น้ำหนักที่ควรเพิ่มสำหรับการตั้งครรภ์ลูกแฝด
18 – 22 : 17 – 24 กก.
23 – 30 : 14 – 22 กก.
>30 : 11 – 19 กก.
วิธีการคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI) ด้วยแอปมะลิ
เมื่อคุณแม่ลงทะเบียนใช้งาน ระบบจะให้กรอกข้อมูลน้ำหนักและส่วนสูงก่อนตั้งครรภ์ของคุณแม่ ซึ่งจะถูกนำไปคำนวนค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และเลือกแผนการเพิ่มน้ำหนักให้คุณแม่โดยอัตโนมัติ ตรวจเช็คข้อมูลของคุณแม่ได้ที่หน้าโปรไฟล์
วิธีการคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)
การคำนวณค่าดัชนีมวลกายให้ใช้ น้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วย ความสูงยกกำลังสอง (ความสูงต้องคำนวนด้วยหน่วยเมตร) ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณแม่น้ำหนัก 50 กก. และสูง 1.6 เมตร คุณแม่ต้องใช้ 50 / [1.6 x 1.6] หรือ 50 / 2.56 ซึ่งคำตอบก็คือ 19.53 นั่นหมายความว่าถ้าคุณแม่มีน้ำหนัก 50 กก. และสูง 160 ซม. BMI ของคุณแม่จะเท่ากับ 19.5 และคุณแม่ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่าง 11 – 16 กก. ในช่วงตั้งครรภ์นั่นเอง
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหากคุณแม่รับประทานอาหารมากเกินไป
การเพิ่มของน้ำหนักที่มากเกินไปอาจเป็นปัญหาสำหรับคุณแม่และ{{ NAME}} คุณแม่ที่มีน้ำหนักเกินมาก มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และมีแนวโน้มที่จะต้องได้รับการการผ่าตัดคลอด เนื่องจากทารกมักจะมีขนาดใหญ่