ดาวน์โหลดแอป

ลูกจะมองเห็นและการได้ยินอะไรบ้างหลังคลอด

มองไปข้างหน้า

ลูกจะมองเห็นและการได้ยินอะไรบ้างหลังคลอด

ทักษะการมองเห็นและการได้ยินอย่างเป็นปกติมีความสำคัญของต่อพัฒนาการของลูก 

ลูกต้องการจะมองเห็นเพื่อสำรวจโลกรอบตัว และเพื่อการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่นเดียวกันกับการพัฒนาทักษะการพูดและภาษา ลูกน้อยของคุณแม่ควรมีความสามารถในการได้ยินคำพูดได้

ลูกของคุณแม่มองเห็นอะไรได้บ้าง
เช่นเดียวกับวิธีที่ทารกเรียนรู้ที่จะเดินและพูดคุย พวกเขาจะใช้เวลาในการเรียนรู้ที่จะมองเห็น ลูกไม่ได้เกิดมาพร้อมกับความสามารถด้านการมองเห็นทั้งหมด แต่จะค่อย ๆ พัฒนาความสามารถในการมองเห็นไปพร้อม ๆ กับการเจริญเติบโต ลูกจะเรียนรู้วิธีการโฟกัสดวงตา มองตามวัตถุด้วยสายตา และใช้ดวงตาทั้งสองข้างทำงานประสานกัน

ในช่วงสัปดาห์แรกของชีวิต ลูกจะสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 20 – 30 เซนติเมตรเท่านั้น สิ่งที่น่าสนใจคือนั่นเป็นระยะห่างระหว่างแม่กับหน้าลูกในระหว่างการให้นม คุณแม่และลูกน้อยจะได้ทำความรู้จักกันอย่างรวดเร็ว ดวงตาของเขาจะมีความไวต่อแสงจ้ามาก ดังนั้นลูกจึงมีแนวโน้มที่จะลืมตาในสภาพแวดล้อมที่มีแสงน้อย และเป็นเรื่องปกติที่ดวงตาจะลอยออกไปด้านใดด้านหนึ่งเนื่องจากกล้ามเนื้อตาของเขายังอ่อนแอ เด็กทารกสามารถมองเห็นสีสันสดใสได้ตั้งแต่แรกคลอด ดังนั้นควรให้ลูกมองดูสิ่งที่มีสีสันสดใสและน่าดึงดูดต่าง ๆ  

ภายในช่วงอายุ 4 – 6 สัปดาห์ ลูกควรจะจ้องมองใบหน้าของคุณแม่อย่างตั้งใจได้ และทั้งคุณแม่และลูกน้อยสามารถมีเวลาส่วนตัวได้ ในขณะที่ลูกพยายามเลียนแบบการแสดงออกทางสีหน้าของคุณแม่ 

เมื่อครบ 3 เดือน ลูกจะสามารถใช้สายตามองตามวัตถุที่เคลื่อนไหวได้ 

ภายใน 6 เดือนดวงตาทั้งสองข้างของเขาควรทำงานประสานกันได้ และลูกน้อยของคุณแม่จะสามารถจดจำใบหน้าที่คุ้นเคยได้แม้อยู่ในระยะไกล

คุณแม่จะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยการมองเห็นของลูก
ทัศนวิสัยของลูกจะพัฒนาไปตามธรรมชาติ แต่คุณแม่สามารถสนับสนุนเขาในพัฒนาการนี้ได้ โดยจัดหาสิ่งที่น่าสนใจให้เขามองดู ทารกมักสนใจที่จะมองใบหน้าของมนุษย์ รวมไปถึงรูปร่างและลวดลายที่แตกต่างกันซึ่งมีสีสันสดใส คุณแม่สามารถวางของเหล่านี้ไว้ในระดับสายตาของลูกได้

ติดตั้งโมบายสำหรับเด็กซึ่งสามารถปลิวไปตามลมไว้ที่ด้านบนของเปลของลูก โมบายจะช่วยให้ลูกได้ฝึกการเคลื่อนไหวของดวงตาเมื่อคุณแม่ไม่ได้อยู่ใกล้ ๆ 

ลูกของคุณแม่จะได้ยินอะไรบ้าง
ลูกเริ่มได้ยินเสียงตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ดังนั้นในช่วงแรกเกิดลูกน้อยของคุณแม่จะได้ยินเสียงและจำเสียงของแม่ได้แล้ว เขาอาจสะดุ้งเพราะได้ยินเสียงดังอย่างกะทันหัน หรือรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้ยินเสียงเบา ๆ ที่คุ้นเคยและจดจำได้

อย่างไรก็ตาม ทารกแรกเกิดยังไม่สามารถแปลเสียงได้ เมื่ออายุได้ 3 – 4 เดือน ลูกจะสามารถหันหัวไปตามทิศทางของเสียงที่ได้ยินได้ ทารกชอบที่จะได้ยินเสียงของมนุษย์ ดังนั้นคุณแม่ควรพูดคุยหรือร้องเพลงให้เขาฟังให้บ่อยขึ้น

รับรองโดย:

ดร. ประภาศรี นันท์นฤมิต (นักจิตวิทยาพัฒนาการ) (1 สิงหาคม 2022)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน