ดาวน์โหลดแอป

ทำไมเด็กทารกควรนอนหงาย และวิธีฝึกลูกน้อยให้นอนหงาย

มองไปข้างหน้า

ทำไมเด็กทารกควรนอนหงาย และวิธีฝึกลูกน้อยให้นอนหงาย

ท่านอนของทารก นั้นเป็นเรื่องสำคัญ คุณแม่ควรให้ลูกนอนหงายเสมอ ไม่ควรให้นอนตะแคงหรือนอนคว่ำ 

พ่อแม่ควรฝึกลูกให้นอนหงายเพื่อเป็นการปลอดภัยไว้ก่อน

ข้อดีของการนอนหงาย
ท่านอนหงายถือเป็นท่าที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับลูกน้อย เนื่องจากท่านี้ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไหลตายในทารก หรือ Sudden Infant Death Syndrome ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต โรคนี้ยังหาสาเหตุไม่ได้และมักเกิดขึ้นในช่วงขวบปีแรกของชีวิต ในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ​ โรคไหลตายนับเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ในการเสียชีวิตของทารก 

นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงโรคไหลตายแล้ว การนอนหงายยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าเด็กทารกที่นอนหงายมีความเสี่ยงน้อยลงที่จะเป็นโรคติดเชื้อในหู จมูกตัน หรือเป็นไข้

สาเหตุที่การนอนคว่ำเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไหลตาย
สาเหตุโดยตรงที่เชื่อมโยงการนอนคว่ำกับโรคไหลตายนั้นยังไม่เป็นที่รู้กันแน่ชัด แต่งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการนอนคว่ำจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคได้ โดยคาดคะเนว่ามีสาเหตุดังต่อไปนี้

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่เปรียบเทียบเด็กที่นอนหงายและเด็กที่นอนคว่ำ พบว่าเด็กที่นอนคว่ำมักมีอาการดังนี้

วิธีฝึกลูกน้อยให้นอนหงาย
วิธีที่ดีที่สุดในการฝึกลูกให้นอนหงายคือเริ่มฝึกตั้งแต่ครั้งแรกที่ให้เขานอน และคอยจับท่าทางให้เขานอนหงายเวลาที่เขานอนหลับ ไม่ว่าจะตอนกลางวันหรือกลางคืน ถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะทำให้เป็นนิสัย

พ่อแม่บางคนอาจเป็นห่วงว่าลูกอาจสำลักอาเจียนของตัวเองได้ในท่านี้ แต่ไม่มีงานวิจัยชิ้นไหนแสดงว่าความคิดนี้เป็นจริง

ข้อควรระวังทั่วไปเมื่อลูกนอนหลับ
ถึงแม้ว่าคุณแม่จะให้ลูกหลับในท่านอนหงายอยู่เสมอ อีกเรื่องที่สำคัญคือต้องหลีกเลี่ยงการให้ลูกนอนบนพื้นผิวที่อ่อนนุ่มเกินไป เช่นหมอน ผ้าห่ม หนังแกะ หรือบีนแบ็ก เนื่องจากของเหล่านี้อาจปิดกั้นทางเดินหายใจเมื่อลูกเอาหน้าแนบขณะหลับได้ ฟูกเตียงเด็กที่แน่นหนาและห่อด้วยผ้าปูจึงเป็นที่นอนที่ปลอดภัยที่สุด

เมื่อไรที่สามารถนอนคว่ำได้?
ถึงแม้การนอนหงายจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่เมื่อลูกตื่นแล้วคุณแม่ก็สามารถให้เขาเล่นในท่านอนคว่ำได้ โดยต้องมีผู้ใหญ่ดูแล เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นช่วงเวลานอนคว่ำ (tummy time) ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้อยพัฒนากล้ามเนื้อส่วนไหล่และคอ ช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหวของหัว และช่วยให้เขาสามารถชันคอได้ นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดจุดแบนราบบริเวณด้านหลังศีรษะของลูกอีกด้วย

รับรองโดย:

ดร. ประภาศรี นันท์นฤมิต (นักจิตวิทยาพัฒนาการ) (1 สิงหาคม 2022)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน