ดาวน์โหลดแอป

ไข้ซิก้า ไวรัสอันตรายที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวัง

คุณแม่

ไข้ซิก้า ไวรัสอันตรายที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวัง

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการยืนยันว่ามีกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคศีรษะเล็กซึ่งเกิดจากการที่แม่ติดเชื้อไวรัสซิก้าระหว่างตั้งครรภ์

เด็กทารกจะเกิดมาพร้อมกับศีรษะที่พัฒนาไม่สมบูรณ์และมีความพิการทางสมอง และพาหะนำเชื้อไวรัสซิก้าก็คือยุงลาย

ซิก้าคืออะไร
ซิก้า เป็นไวรัสที่แพร่กระจายโดยยุงลายที่ติดเชื้อ สำหรับคนส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงมากและไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตามซิก้าเป็นอันตรายสำหรับสตรีตั้งครรภ์หรือผู้ที่กำลังพยายามจะตั้งครรภ์ และเป็นอันตรายสำหรับทารกในครรภ์ของพวกเขาด้วย

ซิก้าแพร่กระจายอย่างไร
รูปแบบการแพร่กระจายหลัก ๆ คือการถูกยุงลายกัด แต่ก็มีบางกรณีที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานการแพร่เชื้อจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์อีกด้วย

ทำไมซิก้าจึงน่าวิตกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
หากคุณแม่กำลังตั้งครรภ์และติดไวรัสซิก้า คุณแม่สามารถส่งผ่านไวรัสซิก้าไปยังลูกที่อยู่ในครรภ์ได้ นี่ไม่ได้หมายความว่าถ้าคุณแม่ติดเชื้อซิก้าในระหว่างตั้งครรภ์ลูกของคุณแม่จะมีปัญหาสุขภาพเสมอไป แต่หมายความว่าทารกในครรภ์ของมารดาที่ติดเชื้อซิก้าในระหว่างตั้งครรภ์นั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดความบกพร่องแต่กำเนิด

ไวรัสซิก้าเป็นอันตรายต่อลูกอย่างไร
ผลกระทบสามารถทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง และอาจรวมถึงการแท้งบุตร หรือทารกอาจเกิดมาพร้อมกับศีรษะและสมองที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นภาวะที่รู้จักกันในชื่อ ศีรษะเล็ก การคลอดบุตรที่มีภาวะศีรษะเล็กอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ มีความผิดปกติของสมองซึ่งเป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อชีวิตของทารก

อย่างไรก็ตามวิธีการรักษาทารกที่ติดเชื้อซิก้าที่ครอบคลุมยังคงอยู่ในขั้นตอนการศิกษาวิจัย

อาการของโรค
หลายคนที่ติดเชื้อไวรัสซิก้าจะไม่แสดงอาการ หรือจะมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้นจึงเป็นเรื่องยากที่คุณจะรู้ว่าคุณติดเชื้อหรือไม่ อาการที่พบมากที่สุดเมื่อติดเชื้อไวรัสคือ

อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้หลายวันถึงหนึ่งสัปดาห์ หากคุณแม่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ ควรพักผ่อน และดื่มน้ำมาก ๆ สูติแพทย์ของคุณแม่อาจสั่งให้ทำการอัลตราซาวด์พิเศษเพื่อติดตามการพัฒนาของลูก

มีวัคซีนป้องกันหรือไม่
ในปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนเฉพาะสำหรับป้องกันไวรัสซิก้า นักวิทยาศาสตร์กำลังวิจัยเพื่อจะสร้างมันขึ้นมาอยู่ แต่น่าจะอีกหลายปีกว่าที่วัคซีนป้องกันไวรัสซิก้าจะสามารถใช้ได้

จะป้องกันตัวเองจากซิก้าได้อย่างไร
เนื่องจากไม่มีวัคซีนป้องกัน และไม่มียารักษาโรคนี้โดยตรง วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด ลองใช้ยาไล่ยุง ใส่ชุดสวมเสื้อแขนยาว นอนในมุ้ง หรือติดตั้งมุ้งประตู หน้าต่างเพื่อป้องกัน

วิธีการตรวจว่าติดเชื้อหรือไม่
แพทย์สามารถยืนยันได้ว่าคุณแม่ติดเชื้อไวรัสซิก้าหรือไม่โดยการตรวจเลือดหรือปัสสาวะ อย่างไรก็ตามหากผลการตรวจเป็นลบ นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณแม่ไม่มีเชื้อซิก้า เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถซ่อนอยู่ในร่างกายของมนุษย์ได้ (ชายที่ติดเชื้อซิก้าจะสามารถมีเชื้อซิก้าในน้ำอสุจิได้นานถึงหกเดือน) แพทย์อาจสั่งให้มีการตรวจถึง 3 แบบ เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าผลการตรวจเป็นบวก หรือไม่สามารถสรุปได้
แพทย์อาจตรวจซ้ำได้อีกครั้ง และอาจสั่งให้มีการเจาะน้ำคร่ำไปตรวจเพื่อตรวจสอบว่าลูกติดเชื้อซิก้าด้วยหรือไม่ นอกจากนี้คุณแม่ยังอาจได้รับอัลตราซาวนด์อย่างสม่ำเสมอในระหว่างการตั้งครรภ์ที่เหลือเพื่อตรวจหาสัญญาณของการมีคราบแคลเซียมหรือแคลเซียมที่ผิดปกติในกะโหลกศีรษะของทารก

นานเท่าไหร่เชื้อซิก้าจึงจะหมดไปจากร่างกาย
ไม่มีใครรู้ แต่ทางการแพทย์เชื่อว่าไวรัสจะหายไปจากร่างกายภายในหกเดือนหลังจากที่คุณติดเชื้อครั้งแรก

 

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (22 กุมภาพันธ์ 2019)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน