ปูพื้นฐานความสำเร็จให้ลูกด้วยการสร้างกรอบความคิดแบบเติบโต
พัฒนาการเด็ก
เราสามารถปลูกฝังความคิดได้สองรูปแบบ แบบแรกคือความคิดที่มองปัญหาเป็นโอกาสในการเรียนรู้ และแบบที่สองคือแบบที่หลีกเลี่ยงปัญหา ซึ่งมักเกิดจากความกลัวที่จะล้มเหลว
เปลี่ยนความคิด ชีวิตเปลี่ยน
คนที่มักหลีกเลี่ยงความขัดแย้งอาจถูกเรียกได้ว่าเป็นคนที่มีกรอบความคิดแบบยึดติด ส่วนคนที่มองปัญหาเป็นความท้าทายคือคนที่มีกรอบความคิดแบบเติบโต บางครั้งเราก็สามารถสลับความคิดไปมาได้
กรอบความคิดแบบยึดติด
คนที่มีความคิดแบบยึดติดเชื่อว่าคุณสมบัติพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ความฉลาด หรือพรสวรรค์เป็นลักษณะตายตัว และลักษณะเหล่านี้เป็นปัจจัยกำหนดความสำเร็จ คนเหล่านี้มักชอบยึดติดกับความสำเร็จในอดีต
กรอบความคิดแบบเติบโต
แต่สำหรับคนที่มีกรอบความคิดแบบเติบโต พวกเขาเชื่อว่าความสามารถเป็นสิ่งที่สร้างได้ ทำให้คนเหล่านี้รักในการเรียนรู้ เป็นมุมมองที่ผู้นำ ศิลปินและผู้ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ยึดมั่น สำหรับพวกเขา ชีวิตคือการฝึกฝนและพัฒนา และโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อย่างไม่สิ้นสุด
การฝึกกรอบความคิด
ในการฝึกกรอบความคิดแบบเติบโตนั้น ดร. แครอล ดเวค อาจารย์จากมหาวิทยาสแตนฟอร์ด ผู้คิดค้นทฤษฎีเรื่องกรอบความคิด แนะนำให้ผู้นำ อาจารย์ และผู้ปกครองชื่นชมในความพยายาม แทนการยกย่องผลลัพธ์ที่ได้ เช่น แทนที่จะชื่นชมเด็กที่ได้เกรด 4 เราควรชื่นชมเด็กที่ตั้งใจเรียนและมีความพยายาม ไม่ว่าเขาจะได้เกรดอะไรก็ตาม ผู้ปกครองควรสนับสนุนให้เด็กเรียนรู้ทักษะที่มีประโยชน์ ไม่ว่าทักษะนั้นจะเกี่ยวข้องกับการเรียนในโรงเรียนหรือไม่ เพราะนั่นจะทำให้เด็กเข้าใจว่าพวกเขาสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ และจะนำมุมมองนั้นมาใช้ในห้องเรียน
ข้อสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์
นักประสาทวิทยาเองก็สนับสนุนแนวคิดนี้ มีการยืนยันว่าสมองเติบโตในลักษณะเดียวกับกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย โดยผ่านการฝึกฝน งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าฝาแฝดที่ถูกอุปการะมักจะฉลาดกว่าพี่น้องที่อยู่กับพ่อแม่โดยกำเนิด ความแตกต่างนี้เกิดจากความที่พ่อแม่อุปการะมีการศึกษาที่สูงกว่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการฝึกฝนเลี้ยงดูนั้นสำคัญกว่ากรรมพันธุ์
คุณแม่สามารถพบกับวีดีโอในหัวข้อ “กรอบความคิดแบบเติบโต” ได้ที่
วีดีโอกรอบความคิดแบบเติบโต
จาก The New Psychology of Success by Carol S. Dweck