ดาวน์โหลดแอป

วิธีให้ลูกดูดเต้า- คู่มือเบื้องต้นสำหรับการป้อนนมบุตร

มองไปข้างหน้า

วิธีให้ลูกดูดเต้า- คู่มือเบื้องต้นสำหรับการป้อนนมบุตร

ในสัปดาห์แรก ๆ ของการให้นมนั้น คุณแม่อาจเจอกับความเจ็บปวด เหนื่อยล้า หรือหงุดหงิดอยู่บ้าง แต่คุณแม่จะได้เห็นว่ามันคุ้มค่าจริงๆ

บทความนี้จะช่วยให้ความรู้เบื้องต้นเพื่อให้คุณแม่ได้เตรียมตัวสำหรับการให้นม

คุณแม่ควรรู้สึกสบาย
การให้นมของคุณแม่บางคนอาจกินเวลาถึง 40 นาทีได้ คุณแม่จึงควรหาที่ ๆ สบายสำหรับการให้นม อุ้มลูกในท่าที่จะไม่ทำให้คุณแม่รู้สึกปวดแขนหรือหลัง จะเป็นท่าไหนก็ได้ที่คุณแม่รู้สึกสบาย ถ้าคุณแม่จะให้นมในท่านั่ง การใช้หมอนให้นมก็จะช่วยพยุงลูกได้ดีมาก ลองอุ้มลูกโดยให้ผิวของเขาสัมผัสกับผิวของคุณแม่โดยตรง คุณแม่อาจใส่เพียงผ้าอ้อมให้เขา และเปลือยอกของตัวเอง

ให้ลูกดูดอย่างถูกวิธี
คุณแม่จะไม่มีทางเริ่มการให้นมได้เลยหากลูกยังไม่สามารถดูดได้อย่างถูกวิธี คุณแม่อาจช่วยจัดท่าทางให้เขาได้ดังนี้:

  1. ใช้มือพยุงเต้านม โดยให้นิ้วโป้งอยู่ด้านบน และนิ้วที่เหลืออยู่ด้านล่าง นิ้วของคุณแม่ควรอยู่ให้ห่างจากหัวนมมาทางด้านหลัง เพื่อให้ลูกสามารถดูดได้ทั้งบริเวณหัวนมและลานหัวนม (พื้นผิวสีเข้มบริเวณรอบ ๆ หัวนม) ของคุณแม่
  2. ค่อย ๆ ให้หัวนมของคุณแม่สัมผัสกับริมฝีปากล่างของลูกลงมาถึงคางของเขาเพื่อช่วยให้เขาอ้าปาก
  3. เมื่อลูกอ้าปากกว้างและเอาลิ้นลง ให้รีบนำเขาเข้าหาหน้าอกของคุณแม่ เขาควรจะดูดถึงบริเวณลานหัวนมของคุณแม่ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  4. คุณแม่ควรดูให้ลูกได้ดูดนมจากเต้านมทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน โดยการกะเวลาจากการดูดนมแต่ละครั้งของเขาและสลับข้าง หากคุณแม่รู้สึกว่าเต้านมข้างไหนยังเต็มอยู่ อาจใช้เครื่องปั๊มนมหรือใช้มือเพื่อปั๊มนมออก เพื่อให้เต้านมทั้งสองข้างของคุณแม่ผลิตน้ำนมได้เท่า ๆ กัน คุณแม่อาจใช้สติ๊กเกอร์แปะที่หน้าอกเพื่อที่จะได้จำได้ว่าเขาดูดนมข้างไหนเป็นครั้งสุดท้าย

หากคุณแม่รู้สึกเจ็บตอนที่เขาดูดหรือต้องการให้เขาเปลี่ยนข้างการดูดนม ลองสอดนิ้วก้อยเข้าทางมุมปากของ ลูก ระหว่างช่องเหงือกและเต้านมของคุณแม่เพื่อให้เขาหยุดดูดสักครู่

อย่าละเลยสัญญาณความหิว
เมื่อลูกเริ่มร้องไห้ เอามือเข้าปากตัวเอง หรือทำปากเหมือนกำลังดูดอะไรอยู่ นั่นแปลว่าเขาอาจจะหิวแล้ว นี่เป็นเวลาที่ดีที่สุดที่คุณแม่จะเริ่มให้นม เพราะถ้าหากคุณแม่ปล่อยให้เขาส่งสัญญาณความหิวนี้ต่อไปอีกเรื่อย ๆ เขาจะเริ่มร้องไห้หนักขึ้นและอารมณ์ไม่ดี สุดท้ายแล้วเขาอาจจะเหนื่อยจากการร้องไห้ และทำให้การให้นมนั้นยากขึ้นไปอีก

ให้นมบ่อยๆ
ยิ่งให้นมลูกบ่อยเท่าไหร่ คุณแม่ก็จะยิ่งผลิตน้ำนมได้มากขึ้นเท่านั้น ถ้าหากคุณแม่ให้นมได้ประมาณ 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง นั่นก็น่าจะเพียงพอแล้ว สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (AAPA) แนะนำว่า คุณแม่อาจไม่จำเป็นต้องให้นมตรงตามกำหนดเวลาก็ได้ แต่คุณแม่ควรให้นมทันทีเมื่อสังเกตเห็นสัญญาณความหิวจากลูก จะดีที่สุดหากคุณแม่สามารถให้นมได้ก่อนที่เขาจะเริ่มร้องไห้
คุณแม่อาจต้องปลุกลูกขึ้นมากินนมบ้างในวันแรก ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าเขาจะได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

กินอาหารที่ดี
ความจริงแล้วการกินอาหารให้ครบหมู่ทั่ว ๆ ไปนั้นก็เพียงพอแล้วสำหรับในช่วงให้นม คุณแม่เพียงแค่ต้องดื่มน้ำบ่อย ๆ และจำกัดปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับในแต่ละวัน การดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนวันละแก้วหรือสองแก้วอาจไม่ส่งผลอะไร แต่การได้รับคาเฟอีนมาก ๆ นั้นอาจส่งผลกระทบกับลูก หรือทำให้เขานอนหลับยากขึ้นได้ ถ้าคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกท้องอืดหรือรู้สึกไม่สบายตัวในทุกครั้งที่คุณแม่กินอาหารบางอย่าง (เช่น นม) คุณแม่อาจลองงดอาหารที่น่าสงสัยนั้น และดูว่าเขาจะรู้สึกดีกว่าไหมหากไม่มีอาหารนั้นในน้ำนมของคุณแม่

กินนมเท่านั้นใน 6 เดือนแรก
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าเด็กทารกนั้นไม่ควรได้รับอาหารหรือน้ำอะไรก็ตามนอกจากนมแม่หรือนมผงเท่านั้นในช่วง 6 เดือนแรก คุณแม่อาจได้รับคำแนะนำจากคนอื่นให้ลองป้อนกล้วยบดหรือน้ำเปล่าให้กับลูก แต่อาจไม่ใช่ไอเดียที่ดีนัก เพราะในช่วง 6 เดือนแรกนั้น ระบบการย่อยอาหารของลูกจะยังทำงานได้ไม่เต็มที่ และภูมิคุ้มกันของเขาก็ยังต่ำมาก ด้วยเหตุนี้ เหล่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงแนะนำให้ทารกได้รับแต่น้ำนมแม่เท่านั้น หากคุณแม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้นมผงกับลูก คุณแม่ควรตรวจสอบให้แน่ใจทุกครั้งว่าน้ำที่ใช้ในการชงนมนั้นสะอาดมากพอ

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน