ดาวน์โหลดแอป

7 เคล็ดลับสำหรับการพูดคุยกับทารก

7 เคล็ดลับสำหรับการพูดคุยกับทารก

เรารู้ดีว่าเด็กทารกต้องได้ฟังถ้อยคำเพื่อช่วยให้เขาเรียนรู้ภาษาพูด แต่ก็มีเคล็ดลับอื่น ๆ ที่จะช่วยกระตุ้นทักษะทางภาษาได้ ทารกไม่ได้เรียนรู้ด้วยการฟังเพียงอย่างเดียว นอกจากการฟัง ยังมีปัจจัยพื้นฐานอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการพูดคุยแบบตัวต่อตัว

เสริมสร้างพัฒนาการทางสมองผ่านการมีปฏิสัมพันธ์
นักประสาทวิทยากล่าวว่าการพูดคุยโต้ตอบแบบตัวต่อตัวเป็นกระบวนการที่เรียกว่า “การให้และการตอบกลับ” คล้ายกับการตีลูกไปมาในการเล่นเทนนิส กระบวนการทางสังคมของการโต้ตอบกลับไปกลับมาระหว่างคุณกับลูก จะช่วยกระตุ้นให้สมองของลูกให้สร้างการเชื่อมต่อทางประสาทใหม่ ๆ ที่นำไปสู่การเรียนรู้ภาษา

งานวิจัยหลายชิ้นได้แสดงให้เห็นว่า การสนทนามีความจำเป็นต่อพัฒนาการทางภาษา เราจึงได้จัดเตรียมเคล็ดลับที่พิสูจน์แล้วว่าจะช่วยปรับปรุงการสนทนาระหว่างคุณกับลูกได้:

สบตา_7 เคล็ดลับสำหรับการพูดคุยกับทารก by Mali

สบตา: เมื่อคุยกับลูก ให้มองตาเขาเสมอ การสบตาสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ เพราะจะช่วยกระตุ้นสมองและช่วยให้ลูกมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่คุณกำลังพูด

ใส่ใจกับเขา_7 เคล็ดลับสำหรับการพูดคุยกับทารก by Mali

อย่าขัดจังหวะ ใส่ใจกับเขา: เพื่อให้การสนทนาของคุณกับลูกเป็นไปอย่างราบรื่น อย่าขัดจังหวะเขาหรือหันไปสนใจอย่างอื่น เมื่อเขาพยายามคุยกับคุณ ปล่อยให้เขาพูดสิ่งที่ต้องการพูดให้เสร็จ แล้วตอบกลับด้วยวิธีที่กระตุ้นการสนทนาต่อไปในเรื่องที่เขากำลังสนใจ

ลูกจะมีความสุขที่ได้รับรู้ว่าคุณแม่กำลังรับฟัง การทำแบบนี้มักไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป คุณจะต้องใช้ความอดทนอย่างมากในการใส่ใจกับการส่งเสียงต่าง ๆ ของลูกทั้งหมด แต่ก็เหมือนกับการฝึกทักษะอื่น ๆ คุณจะเก่งขึ้นได้ด้วยการฝึกฝนให้บ่อยขึ้น

รับรู้ความอยากรู้อยากเห็น_7 เคล็ดลับสำหรับการพูดคุยกับทารก by Mali

รับรู้ความอยากรู้อยากเห็นของลูก: ทารกมีความอยากรู้อยากเห็นโดยธรรมชาติ งานวิจัยพบว่าพวกเขาจะสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ดังนั้นจึงเป็นการดีกว่าหากคุณพูดคุยกับลูกในเรื่องที่เขาสนใจและอยากรู้

หากลูกกำลังมองของเล่น หรือกำลังเล่นกับของเล่นอย่างตั้งใจ นั่นคือเวลาที่ดีที่สุดในการสอนให้เขาเรียนรู้ชื่อของของเล่นและคำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คุณควรจำกัดบทสนทนาในขณะนั้นให้เกี่ยวกับของเล่นเท่านั้น

ใช้เสียงเหมือนเด็กๆ_7 เคล็ดลับสำหรับการพูดคุยกับทารก by Mali

การทำเสียงเหมือนเด็ก ๆ ไม่ใช่เรื่องแปลก: สำหรับคนส่วนใหญ่เวลาพูดคุยกับทารกมักจะใช้เสียงสูงและเป็นโทนดนตรี คุณจะสังเกตได้ว่าคุณจะพูดช้ากว่าปกติ และมีแนวโน้มที่จะพูดซ้ำไปซ้ำมา หรือแม้แต่มีน้ำเสียงตื่นเต้นเกินจริง

แม้อาจฟังดูแปลก ๆ แต่ก็ไม่เป็นไรที่คุณจะพูดเลียนแบบทารก เพราะจะทำให้ลูกมีแนวโน้มที่จะฟังมากกว่าปกติ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กทารกมีแนวโน้มที่จะให้ความสนใจเมื่อผู้ใหญ่พูดเสียงเหมือนเด็ก และจะช่วยให้เขาสามารถเลือกสนใจฟังคำใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น

ใช้คำที่หลากหลาย_7 เคล็ดลับสำหรับการพูดคุยกับทารก by Mali

ใช้คำที่หลากหลายเวลาพูดคุยกับลูกวัยหัดเดิน: แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่บางคนจะพยายามใช้คำศัพท์ที่ง่ายขึ้นขณะพูดคุยกับเด็กเล็ก แต่การศึกษาชี้ให้เห็นว่าการทำแบบนั้นจะเป็นการจำกัดเด็ก ๆ ให้ขาดโอกาสในการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ คุณควรใช้คำที่หลากหลายเพื่อให้ลูกได้เรียนรู้คำศัพท์เพิ่มขึ้น และให้เขาได้มองเห็นปากของคุณอย่างชัดเจน เวลาพูดคำศัพท์นั้น ๆ

หากลูกโตพอที่จะทำความเข้าใจ และสนใจในเรื่องต่าง ๆ รอบตัว เช่น นกฮูกนอนตอนกลางวัน นั่นอาจเป็นไปได้ว่าพวกเขาอาจสามารถเรียนรู้คำว่า “ออกหากินตอนกลางคืน” ได้ การได้ยินคำใหม่ ๆ เหล่านี้จะสามารถกระตุ้นความสนใจของลูกน้อยได้

ใช้ภาษากาย_7 เคล็ดลับสำหรับการพูดคุยกับทารก by Mali

ใช้ภาษากายเมื่อทำได้: ลูกใช้การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง และการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อสื่อสารมาตั้งแต่เกิด การใช้ท่าทางและการแสดงออกด้วยสีหน้าจะเป็นประโยชน์สำหรับการเรียนรู้ของลูก ทั้งนี้ เพราะเด็ก ๆ มักจะเข้าใจได้ดีขึ้นเมื่อคุณแม่ใช้ท่าทางในการสื่อสารความรู้สึกหรือคำศัพท์ใหม่ ๆ

ถึงแม้จะไม่ได้พูดออกมาสักคำ แต่ลูกน้อยจะสามารถรู้ได้เองว่าคุณแม่กำลังโกรธ มีความสุข หรือวิตกกังวล ผู้เชี่ยวชาญบางคนถึงกับบอกว่า 80% ของภาษาที่เด็กเล็กเข้าใจคือภาษากาย

พูดถึงอดีตและอนาคต_7 เคล็ดลับสำหรับการพูดคุยกับทารก by Mali

สำหรับเด็กโตขึ้น ควรพูดคุยถึงเหตุการณ์ในอดีต อนาคต และเรื่องนามธรรม: หากลูกน้อยของคุณแม่อยู่ในช่วงอายุ 3 – 4 ปี เขาจะมีความสามารถในการระลึกถึงอดีต และอาจจินตนาการถึงอนาคตได้แล้ว ถึงแม้ส่วนใหญ่คุณแม่มักพูดคุยกับลูกเรื่องสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไปจะได้รับประโยชน์จากการพูดคุยถึงเหตุการณ์ในอดีต อนาคต และเหตุการณ์ในจินตนาการ ซึ่งจะช่วยเพิ่มทักษะทางภาษาของพวกเขาได้

รับรองโดย:

เกศสุภา จิระการณ์ (นักสุขภาพจิต) (31 มีนาคม 2021)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน