โรคดาวน์ซินโดรม

การดูแลเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม หรือมีโครโมโซมคู่ที่ 21 3 ข้าง อาจถือเป็นเรื่องที่ท้าทายมากสำหรับผู้ปกครอง แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคในการสร้างครอบครัวที่อบอุ่น
ลักษณะทั่วไปของดาวน์ซินโดรม
- พัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์
- การเจริญเติบโตล่าช้า
- ไส้เลื่อนที่สะดือ หรือสะดือจุ่น
- เพดานปากแคบ
- ศีรษะ และจมูกแบน
- หูชั้นนอกผิดปกติ
- มีช่องว่างระหว่างนิ้วโป้งเท้ากับนิ้วชี้เท้ามากกว่าปกติ
- มีความผิดปกติทางการได้ยินและการมองเห็น
- หัวใจมีความผิดปกติ
- IQ ต่ำ (IQ เฉลี่ยของคนหนุ่มสาวที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมจะอยู่ที่ 50 ซึ่งเท่ากับความสามารถทางสมองของเด็กอายุ 8 – 9 ขวบ)
การรักษาและวิถีชีวิต
ในปัจจุบันยังไม่มีหนทางรักษาโรคดาวน์ซินโดรม แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวล้ำในปัจจุบันได้ช่วยให้ผู้ที่มีภาวะนี้ใช้ชีวิตได้ดีที่สุดเท่าที่เคยเป็นมา มีการพิสูจน์แล้วว่าการให้การศึกษาและการดูแลอย่างถูกวิธีช่วยให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาดีขึ้นได้ เด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรมบางคนสามารถเรียนจบมัธยมและเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้
โดยทั่วไป เด็กที่มีภาวะนี้และผู้ปกครองที่มีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมมักจะใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข
รับรองโดย:
นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ (31 มีนาคม 2021)