ทำไมไม่ควรป้อนอาหารให้ลูกก่อนอายุครบ 6 เดือน?
กุมารแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้ลูกทานแค่นมแม่หรือนมผงสำหรับทารกแรกเกิดในระยะ 0 – 6 เดือนแรก และเริ่มป้อนอาหารให้กับลูกหลังจากอายุ 6 เดือนขึ้นไป
การสอนให้ทารกเริ่มกินอาหารนั้นเป็นขั้นตอนที่ละเอียดอ่อนและใช้เวลา เพราะคุณพ่อคุณแม่ต้องค่อย ๆ นำเสนอรสชาติและเนื้ออาหารที่แปลกใหม่ให้กับลูก พยายามทำประสบการณ์นี้ให้เป็นประสบการณ์ที่ดีและเพลิดเพลินเพื่อให้ลูกน้อยมีความรู้สึกที่ดีต่อการกินอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์เมื่อโตขึ้น
ทำไมการรอให้ครบ 6 เดือนจึงเป็นเรื่องสำคัญ?
นมแม่นั้นมีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนสำหรับทารกในการเจริญเติบโตตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน ซึ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือลูกน้อยต้องการเวลาในการฝึกฝนและสร้างเสริมพัฒนาการของร่างกายในส่วนต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการช่วยให้เขากินอาหารได้เอง เช่นการกลืน ระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง การควบคุมกล้ามเนื้อที่คอยช่วยหยุงตัวให้นั่งและหยิบจับอาหาร
สาเหตุหลัก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรอจนกว่าลูกพร้อมก่อนที่จะให้ลูกน้อยเริ่มรับประทานอาหารแข็งมีดังนี้
คุณค่าทางโภชนาการ
สำหรับทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนนั้นนมแม่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญและครบถ้วนเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตมากกว่าอาหารทุกประเภท ปริมาณและประเภทสารอาหารที่ทารกได้รับจากอาหารนั้นถูกจำกัดในแต่ละมื้อเพราะชนิดอาหารที่ทารกสามารถทานได้ในช่วงแรกเริ่มนั้นไม่ได้หลากหลายนัก และอาหารส่วนใหญ่มีปริมาณแคลอรี่ที่มากเกินความจำเป็นของทารกในช่วงวัยนี้ ซึ่งสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพในอนาคตได้ เช่น โรคอ้วน เป็นต้น
นมแม่สามารถกลืนและย่อยได้ง่าย
ทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือนสามารถกลืนนมแม่ได้โดยง่าย อาหารแข็งนั้นแม้จะปั่นให้ละเอียดแล้วก็ยังคงย่อยยากเกินไปสำหรับระบบย่อยอาหารทารก
อาหารมีความเสี่ยงสูง
การให้ทารกกินอาหารก่อนวัยเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะป่วยมากขึ้น เช่นอาหารไม่สะอาดอาจจะทำให้เขาท้องเสียได้ รวมทั้งลูกน้อยอาจจะดูดนมน้อยลงหากเขายังคงอิ่มจากอาหารที่ถูกป้อน ซึ่งอาจทำให้เขาได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
ควรทำอย่างไรหากลูกยังคงหิวอยู่?
ในช่วง 6 เดือนแรกคุณแม่ควรให้นมแม่กับลูก เท่านั้น เนื่องจากในนมแม่มีภูมิคุ้มกันโรคที่สามารถช่วยต่อต้านโรคได้หลายชนิด และเมื่อลูก มีอายุครบ 6 เดือนแล้วเขาอาจต้องการนมมากกว่าที่คุณแม่จะสามารถผลิตได้ ซึ่งคุณแม่อาจจะให้ลูกน้อยดูดนมบ่อยขึ้นหรือนานขึ้นในแต่ละรอบเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ร่างกายผลิตออกมา ในบางกรณีคุณแม่สามารถให้นมผงเสริมได้เพื่อบรรเทาความหิวและเสริมสารอาหาร
เมื่อไหร่ลูกจึงจะพร้อมรับประทานอาหารแข็ง?
ทารกส่วนใหญ่พร้อมรับประทานอาหารแข็งเมื่อพวกเขามีอายุ 7 เดือนขึ้นไป ซึ่งคือช่วงวัยที่ระบบย่อยของพวกเขาพร้อม
ช่วงวัยในการเริ่มให้ลูกน้อยเริ่มทานอาหารนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ เร็วไปร่างกายลูกน้อยอาจจะไม่พร้อม แต่หากช้าไปลูกน้อยก็อาจจะได้รับสารอาหารไม่พอเพียง นี่คือสัญญานบ่งบอกว่าลูกพร้อมที่จะรับประทานอาหารแข็งแล้ว
ลูกน้อยสามารถนั่งเองและกลืนอาหารได้
เมื่อป้อนอาหารให้ลูกน้อยเขาไม่บ้วนกลับออกมา และทันทีที่อาหารเข้าปากลูกเขาลองใช้เหงือกเคี้ยวและใช้ลิ้นลำเลียงอาหารเพื่อกลืนลงคอ
ลูกสามารถใช้นิ้วหยิบจับอาหารได้
ในทางวิวัฒนากาถือว่าแท้ที่จริงแล้วการกินอาหารนั้นเป็นพัฒนาการทางธรรมชาติ หากเด็กน้อยไม่สามารถหยิบจับอาหารขึ้นมาทานเองได้นั่นก็แปลว่าเขาอาจจะไม่พร้อมที่จะกินอาหารนั้น
เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรลองสังเกตุว่าลูกพร้อมที่จะรับประทานอาหารแข็งได้หรือไม่ โดยดูจากการที่เขามีความสนใจในอาหารและเขาสามารถหยิบจับขึ้นมาเองได้ หลังจากนั้นก็ลองค่อย ๆ ให้ลูกน้อยชิมผักผลไม้ชนิดใหม่ ๆ ทีละอย่าง
อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ควรคำนึงว่าการรับประทานอาหารแข็งในระยะแรกนั้นคือการค่อย ๆ ให้ลูกได้ลิ้มลองรสชาติใหม่ ๆ และทำความคุ้นชินกับการเคี้ยวและกลืน นมยังคงเป็นแหล่งสารอาหารหลักของลูกน้อยอยู่
รับรองโดย:
นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ (31 มีนาคม 2021)