ดาวน์โหลดแอป

สุขภาพจิตของหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด

สุขภาพจิตของหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด

คุณแม่ในทุกวัฒนธรรม ทุกกลุ่มอายุและทุกระดับรายได้ล้วนมีโอกาสมีปัญหาทางจิตใจได้ทั้งนั้น ซึ่งครอบคลุมไปถึงอาการทางสุขภาพจิตที่เกิดระหว่างการตั้งครรภ์และช่วงหลังคลอด

ปัญหาความผิดปกติทางจิตใจระหว่าง หรือหลังจากการตั้งครรภ์ ประกอบไปด้วยโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และภาวะวิกลจริต ความผิดปกติเหล่านี้เกิดจากการผสมผสานระหว่างปัจจัยด้านร่างกาย จิตใจ และปัจจัยทางสังคม เช่น ได้รับแรงกดดันจากสังคม ขาดการสนับสนุนจากคนรอบข้าง โรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้าเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในคุณแม่หลังคลอด โดยพบประมาณ 1 ใน 5 ของทั้งหมด

ประเภทของความผิดปกติทางจิตใจในคุณแม่
อาการความผิดปกติทางจิตใจของคุณแม่อาจเกิดขึ้นช่วงเวลาไหนก็ได้ตลอดการตั้งครรภ์ หรือภายใน 12 เดือนหลังการคลอด โดยอาจมีอาการต่อไปนี้

เบบี้บลูส์: เกิดกับคุณแม่หลังคลอดประมาณ 2 ใน 3 โดยมีแนวโน้มว่าอาจเกิดจากปริมาณฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหลังการคลอดลูก คุณแม่ที่มีประสบการณ์การเป็นเบบี้บลูส์อาจมีอารมณ์แปรปรวน รู้สึกเศร้า หรืออาจร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ 

เนื่องจากอาการต่าง ๆ มักหายไปได้เองในสองสามวัน อาการเบบี้บลูส์จึงไม่นับว่าเป็นโรคความผิดปกติทางจิตใจ อย่างไรก็ตาม หากอาการยังคงอยู่มากกว่า 2 สัปดาห์ คุณแม่อาจมีปัญหาเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดและจะต้องการการประเมินและการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ

โรคซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด: โรคซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด ถือเป็นปัญหาทางจิตใจที่พบได้บ่อยที่สุดหลังการคลอด คุณแม่ประมาณ 15% จะรู้สึกมีอาการซึมเศร้าหลังการคลอด และมีโอกาสเกิดสูงขึ้นในครอบครัวที่มีปัญหาทางการเงิน

ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดมักมีอาการต่อไปนี้:

ปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าปริกำเนิดมากขึ้นมีดังนี้:

โรควิตกกังวลระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด
ผู้หญิงตั้งครรภ์ประมาณ 6% และคุณแม่หลังคลอด 10% จะเป็นโรควิตกกังวล โดยอาจเป็นโรควิตกกังวลอย่างเดียว หรือเป็นพร้อมกับโรคซึมเศร้าก็ได้ 

อาการของโรควิตกกังวลก่อนคลอด และหลังคลอดมีดังนี้:

ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อโรควิตกกังวลมีดังนี้:

โรคย้ำคิดย้ำทำในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด
งานวิจัยพบว่าคุณแม่และคุณพ่อมือใหม่ประมาณ 3-5% มีปัญหาโรคย้ำคิดย้ำทำระหว่างตั้งครรภ์ หรือหลังคลอด (obsessive-compulsive disorder) โดยมีอาการดังนี้: 

ความเครียดหลังเหตุการณ์รุนแรงหลังคลอด
ความเครียดหลังเหตุการณ์รุนแรงหลังคลอด (Postpartum post-traumatic stress disorder) เกิดกับคุณแม่หลังคลอดประมาณ 9% อาการนี้มักเกิดจากความบอบช้ำทางจิตใจในอดีต ตัวอย่างเช่น:

อาการจะแสดงออกดังนี้:

โรคอารมณ์สองขั้ว
โรคอารมณ์สองขั้วเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่บุคคลหนึ่งจะมีอารมณ์แบบสองขั้ว คืออารมณ์ซึมเศร้า(depression) และอารมณ์ตื่นตัวเป็นพิเศษ (mania) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้คือเคยเป็นโรคมาก่อน หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรค

อาการของโรคอารมณ์สองขั้วมีดังนี้:

ภาวะวิกลจริตหลังคลอด
ภาวะวิกลจริตหลังคลอดจะเกิดกับผู้หญิง 1 ใน 1,000 คนหลังการคลอด โรคนี้มักเกิดแบบฉับพลัน โดยส่วนมากจะเกิดภายใน 2 สัปดาห์หลังการคลอดบุตร 

อาการจะแสดงออกดังนี้:

ปัจจัยเสี่ยงที่เห็นได้ชัดที่มีผลต่อการเป็นภาวะวิกลจริตหลังคลอดคือการเคยเป็นโรคไบโพลาร์ หรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นไบโพลาร์ หรือมีอาการของภาวะโรคจิตเป็นช่วง ๆ มาก่อน งานวิจัยพบว่าในกลุ่มผู้หญิงที่มีอาการภาวะวิกลจริตหลังคลอดจะมีอัตราการฆ่าตัวตายประมาณ 5% และมีอัตราการฆ่าทารก 4% จากภาวะของโรค 

หากคุณแม่รู้สึกว่ามีอาการของหนึ่งในโรคต่าง ๆ ที่กล่าวมา โปรดทราบว่านี่ไม่ใช่ความผิดของคุณ และไม่ได้เกิดจากการกระทำของคุณแม่เลย ควรบอกคู่ครอง ลองหากลุ่มสนับสนุนจากคุณแม่ที่ประสบปัญหาคล้าย ๆ กัน และขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญก่อนที่อาการจะส่งผลกระทบต่อคุณและลูกน้อย เมื่อได้รับความช่วยเหลือแล้วคุณจะสามารถป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงและกลับมาเป็นปกติได้

ขอขอบคุณ
บทความเกี่ยวกับสุขภาพจิตของหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดนี้ถูกจัดทำขึ้นจากการร่วมมือและการสนับสนุนจาก Pranaiya & Arthur Magoffin Foundation เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน