ดาวน์โหลดแอป

อาการคนท้องสัปดาห์ที่ 12

อาการคนท้องรายสัปดาห์

อาการคนท้องสัปดาห์ที่ 12

ในสัปดาห์นี้ลูกเริ่มที่จะงอนิ้วและกำมือได้แล้ว และข่าวดีสำหรับคุณแม่คือ อาการปวดปัสสาวะที่เคยมีอาจน้อยลงกว่าสัปดาห์ที่ผ่าน ๆ มา

ลูกเป็นอย่างไรบ้าง
สองสัปดาห์ที่ผ่านมา ลูกเริ่มที่จะพัฒนาระบบหายใจโดยการหายใจเข้าออกอยู่ในน้ำคร่ำ ในตอนนี้ระบบหายใจของเขาก็เริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการหายใจเมื่อออกมาจากท้องของคุณแม่ จนกว่าจะถึงตอนนั้นออกซิเจนที่ใช้ในการหายใจของเขาจะถูกส่งจากกระแสเลือดของคุณแม่ผ่านสายรกไปถึงเขา

ปฏิกิริยาตอบสนอง: สมองกำลังขยายใหญ่ขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น ปลายประสาทที่มีหน้าที่รับสัมผัสเริ่มพัฒนา ทำให้ลูกเริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนอง ถ้าในช่วงนี้คุณแม่สัมผัสบริเวณหน้าท้อง ลูกจะสามารถเคลื่อนไหวเพื่อนตอบสนองต่อการสัมผัสนั้นได้ แต่คุณแม่อาจจะยังไม่สามารถรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของเขาในตอนนี้ได้

ระบบย่อยอาหาร: ในสัปดาห์นี้ระบบย่อยอาหารของลูกจะเริ่มทำงานแล้ว โดยกล้ามเนื้อบริเวณลำไส้ของเขาจะค่อย ๆ เคลื่อนไหว

อุจจาระแรก: เมื่อทางเดินอาหารเริ่มทำงาน ลูกจะเรียนรู้การกลืนโดยการกลืนน้ำคร่ำ แต่น้ำคร่ำนั้นประกอบไปด้วยของเหลว เซลล์ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ  ทำให้ของเสียเหล่านี้สะสมอยู่ในลำไส้ของเขา และจะขับออกมาเป็นอุจจาระแรกของเขาหลังคลอดออกมา อุจจาระแรกนี้มีชื่อเรียกว่า ขี้เทา(Meconium)

ของเสียบางส่วนที่ทารกกลืนเข้าไปอาจถูกส่งกลับเข้าสู่กระแสเลือดของคุณแม่ผ่านทางรกได้เช่นกัน

การเคลื่อนที่ของลำไส้: ในสัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์ ลำไส้จะเคลื่อนที่จากช่องท้องของลูกมารวมตัวกับสายสะดือ แต่ในสัปดาห์นี้ ลำไส้จะเคลื่อนกลับเข้าสู่ช่องท้องตามเดิม และจะคงอยู่ตรงนี้ไปตลอด

เล็บนิ้วมือ: บนนิ้วเล็ก ๆ ของลูกกำลังมีเล็บค่อย ๆ พัฒนาอยู่

ตอนนี้ลูกมีน้ำหนักประมาณ 14 กรัม และมีความยาวประมาณ 5.5 ซม. หรือขนาดประมาณผลมะนาว

คุณแม่เป็นอย่างไรบ้าง
เมื่อคุณแม่ผ่านไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์มาแล้ว อาการต่าง ๆ ที่พบในไตรมาสแรกอาจลดลงและแทนที่ด้วยอาการใหม่ ๆ แทน ความถี่ในการปวดปัสสาวะจะน้อยลงและจะกลับมาถี่อีกครั้งในภายหลัง

ตกขาว: ตกขาวของคุณแม่อาจมากขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งถือเป็นอาการปกติ โดยตกขาวนี้ยังช่วยป้องกันการติดเชื้อในช่องคลอดอีกด้วย

อาการท้องผูก: ไม่ใช่คุณแม่ทุกคนที่จะมีอาการท้องผูกในช่วงตั้งครรภ์ แต่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยและอาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัว โดยอาจมีอาการปวดท้องหรือเป็นตะคริวร่วมด้วย หากอาการปวดท้องไม่ดีขึ้น หรือมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินหายใจ หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย คุณแม่ควรจะไปปรึกษาแพทย์ทันที

กรดไหลย้อน: คุณแม่อาจมีอาการกรดไหลย้อนซึ่งมีสาเหตุมาจากกระเพาะอาหารของคุณแม่ไม่สามารถย่อยอาหารที่มีรสชาติเผ็ดและมันได้เนื่องจากฮอร์โมนบางชนิดส่งผลให้กล้ามเนื้อในกระเพาะอาหารคลายตัว และยังมีครรภ์ของคุณแม่ที่ขยายตัวขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของลูกและอาจไปกดทับกระเพาะอาหารทำให้น้ำย่อยไหล่ย้อนกลับไปที่หลอดอาหารจนเกิดเป็นกรดไหลย้อน

คุณแม่อาจพบอาการเหล่านี้เพิ่มเติมได้แก่ ปวดหัว ท้องอืด น้ำลายผลิตมากขึ้น และประสาทรับกลิ่นดีขึ้น

ทำอะไรได้บ้างในช่วงนี้
ทานอาหารให้น้อยลงในแต่ละมื้อ แต่ทานให้บ่อยขึ้นและช้าลง รวมไปถึงการดื่มน้ำเยอะ ๆ และทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจำพวกผักและผลไม้สด ถือเป็นวิธีที่ดีกับการรับมือกับอาการกรดไหลย้อน

ในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่จะต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 300 กิโลแคลอรี่ ซึ่งอาจเทียบได้กับอะโวคาโด 2 ลูกเล็กหรือแตงกวา 2 กก.

โปรดทราบ
ทางทีมงานMali ได้พยายามรวบรวมข้อมูลที่อัปเดทล่าสุดมาให้กับคุณแม่หรือผู้อ่านแล้ว แต่ทั้งนี้ยังคงมีข้อสงสัยหลายอย่างที่ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ยังคงต้องหาคำตอบต่อไปเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทางทีมเราจึงต้องการแจ้งให้ทราบว่าข้อมูลที่นำเสนออาจไม่ครอบคลุมเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการตั้งครรภ์ของแต่ละบุคคลหรือเด็กแต่ละคน

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (20 ตุลาคม 2021)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน