ดาวน์โหลดแอป

อาการคนท้องสัปดาห์ที่ 23

อาการคนท้องรายสัปดาห์

อาการคนท้องสัปดาห์ที่ 23

ในสัปดาห์นี้ ใบหน้าของลูกจะพัฒนาได้สมบูรณ์แล้ว คุณแม่บางท่านอาจมีอาการเจ็บเตือนหรือ Braxton-Hicks contraction เป็นครั้งแรก

ลูกเป็นอย่างไรบ้าง
ลูกมีน้ำหนักประมาณ 550 กรัมความยาวประมาณ 30 ซม.หรือประมาณผลแก้วมังกร ใบหน้าน่ารัก ๆ ของเขาพัฒนาได้สมบูรณ์แล้วเหลือเพียงแต่ไขมันที่ทำให้ใบหน้าของเขาอิ่มเอิบขึ้นกำลังอยู่ในขั้นตอนการสร้างอยู่

ผิว: ตอนนี้ผิวของลูกยังคงโปร่งใสและเหี่ยวย่น แต่เมื่อไขมันเริ่มสะสมใต้ผิวหนังมากขึ้น ผิวของเขาก็จะดูโปร่งใสน้อยลง ผิวยังคงมีสีชมพูอมแดงอยู่เพราะเส้นเลือดที่อยู่ใต้ผิวหนัง

การเคลื่อนไหวของลูกตา: ลูกเริ่มเคลื่อนไหวลูกตาบ่อยขึ้น นั่นหมายความว่าสมองของเขาทำงานได้มากขึ้นและยังเป็นสัญญาณว่าเขาเริ่มที่จะมีความคิดหรือความฝันแล้ว

ลายนิ้วมือและลายนิ้วเท้า: แนวสันที่เริ่มพัฒนาบนฝ่ามือและฝ่าเท้าของเขาจะเริ่มปรากฏเป็นลายนิ้วมือและลายนิ้วเท้าในภายหลัง

อาการสะอึก: ลูกสามารถมีอาการสะอึกได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเหมือนการกระตุกจนคุณแม่อาจรู้สึกได้

คุณแม่เป็นอย่างไรบ้าง
มดลูกกำลังขยายตัวขึ้นเพื่อรองรับร่างกายของลูกทำให้ท้องเองก็โตขึ้นเช่นกัน หน้าอกของคุณแม่จะยังคงใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และในเร็วๆนี้ คุณแม่อาจต้องการกอดอกที่มีสายรัดที่ยาวขึ้นหรือกอดอกที่ออกแบบมาเพื่อคุณแม่ที่ให้นมบุตรโดยเฉพาะ

อาการบวม: คุณแม่อาจมีอาการเท้าบวมในช่วงเย็น อาการบวมนี้อาจเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป แต่ในบางครั้งถ้าอาการบวมใหญ่ขึ้นจนผิดปกติก็อาจเป็นสัญญาณของอาการครรภ์เป็นพิษได้

Braxton-hicks: อาการเจ็บแจ้ง หรือ เจ็บหลอกนี้เป็นอาการเจ็บเหมือนมดลูกกำลังบีบตัว โดยปกติแล้วอาการเจ็บนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงกลางวัน ช่วงเย็น หลังออกกำลังกาย หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ อาการเจ็บนี้ไม่เป็นอันตรายและไม่ได้เป็นสัญญาณคลอดก่อนกำหนดแต่อย่างใด คุณแม่สามารถคิดว่านี่คือการที่มดลูกฝึกบีบตัวเพื่อให้แข็งแรงพอที่จะเบ่งคลอดเมื่อถึงเวลาคลอดก็ได้

ทำอะไรได้บ้างในช่วงนี้
ในเร็ว ๆ นี้คุณหมอที่ดูแลครรภ์ของคุณแม่น่าจะเริ่มวางแผนตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อเช็คว่าคุณแม่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่ โดยปกติแล้วจะตรวจในช่วงสัปดาห์ที่ 24-28 ของการตั้งครรภ์

ตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือด: เหมือนกับอาการเบาหวานอื่น ๆ การเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะส่งผลต่อการใช้น้ำตาล(Glucose)ของเซลล์ในร่างกาย ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และยังส่งผลต่อสุขภาพครรภ์ของคุณแม่และสุขภาพของลูกด้วย ดังนั้นคุณแม่จึงควรจะทำการตรวจ Oral glucose tolerance test(OGTT)เพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือดว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยปกติแล้วการตรวจนี้จะห้ามทานหรือดื่มอะไรเลยนอกจากน้ำเปล่าเป็นเวลา 8-14 ชม.ก่อนทำการตรวจ คุณแม่สามารถลองปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับการเตรียมตัวสำหรับการตรวจนี้

โปรดทราบ
ทางทีมงานMali ได้พยายามรวบรวมข้อมูลที่อัปเดทล่าสุดมาให้กับคุณแม่หรือผู้อ่านแล้ว แต่ทั้งนี้ยังคงมีข้อสงสัยหลายอย่างที่ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ยังคงต้องหาคำตอบต่อไปเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทางทีมเราจึงต้องการแจ้งให้ทราบว่าข้อมูลที่นำเสนออาจไม่ครอบคลุมเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการตั้งครรภ์ของแต่ละบุคคลหรือเด็กแต่ละคน

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (20 ตุลาคม 2021)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน