ดาวน์โหลดแอป

อาการคนท้องสัปดาห์ที่ 26

อาการคนท้องรายสัปดาห์

อาการคนท้องสัปดาห์ที่ 26

ลูกน่าจะอยู่ในตำแหน่งกลับหัว ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับตอนคลอดแล้ว คุณแม่อาจหลับไม่สนิทเพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายและครรภ์ที่โตขึ้นเรื่อย ๆ

ลูกเป็นอย่างไรบ้าง
ตอนนี้ลูกมีน้ำหนักประมาณ 750 กรัม ความยาวประมาณ 35 ซม. หรือประมาณกะหล่ำม่วง

การได้ยินและภาษา: หูพัฒนาได้สมบูรณ์แล้ว แต่ด้วยสภาพแวดล้อมของเขาที่ล้อมรอบไปด้วยน้ำคร่ำและร่างกายคุณแม่ ทำให้เขาได้ยินเสียงภายนอกไม่ชัดเจนนัก สมองของลูกเริ่มที่จะจดจำเสียงของภาษาพูดได้แล้ว ถ้าคุณแม่พูดภาษาของตัวเองบ่อย ๆ ในช่วงที่ลูกอยู่ในท้อง หลังจากที่เขาคลอดออกมาแล้วในช่วงวันแรก ๆ เขาจะสนใจฟังคนที่พูดภาษาเดียวกับที่เคยได้ยินตอนอยู่ในท้อง และในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ลูกจะตอบสนองต่อเสียงมากขึ้นโดยเฉพาะเสียงของคุณแม่

ปอด: กิ่งของถุงลมจะแตกแขนงออกเยอะมากขึ้น คล้ายกับต้นไม้ที่แผ่กิ่งก้าน ในตอนนี้จะมีทั้งหมด 17 กิ่ง กิ่งหนึ่งมีถุงลมตั้งแต่ 2 ถุงขึ้นไป และในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า ลูกน้อยจะมีโอกาสรอดสูงมากขึ้นหากต้องคลอดก่อนกำหนด เพราะปอดของเขาพัฒนาถึงขั้นที่พร้อมสำหรับการหายใจเองแล้ว

เล็บเล็ก ๆ : เล็บของลูกนั้นเห็นได้ชัดแล้ว หลังจากใช้เวลาพัฒนามาหลายสัปดาห์

คุณแม่เป็นอย่างไรบ้าง
คุณแม่อาจรู้สึกเหนื่อยมากขึ้นเพราะอาการขาเป็นตะคริวอาจรบกวนการนอนหลับของคุณแม่

ขาเป็นตะคริว: อาการขาเป็นตะคริวในคนท้องยังไม่มีสาเหตุที่แน่นอน บางทฤษฎีอธิบายว่าเกิดจากการที่ลูกไปทับเส้นเลือดและเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงที่ขาของคุณแม่ แต่การขาดแร่ธาตุอย่าง แคลเซียม และแมกนีเซียม หรือการขาดน้ำก็อาจส่งผลได้เช่นกัน คุณแม่สามารถงอและยืดขาก่อนนอนเพื่อป้องกันการเป็นตะคริวได้

Braxton Hicks: คุณแม่อาจยังรู้สึกถึงการบีบตัวของมดลูกแบบหลอกอยู่ และยิ่งใกล้วันคลอดเท่าไหร่ ความรู้สึกก็จะยิ่งเหมือนจริงมากขึ้น คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าถึงเวลาคลอดจริง ๆ เมื่อรู้สึกว่ามดลูกบีบตัวทุก ๆ 5 นาที

ทำอะไรได้บ้างในช่วงนี้
อาจเป็นเรื่องยากที่คุณแม่จะตื่นตัวในขณะที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่คุณแม่ควรพยายามทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด

การตรวจเลือด Rh factor: ถ้าผลเลือดของคุณแม่เป็น Rh-negative ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ คุณแม่อาจต้องฉีด Anti-D ในสัปดาห์ที่ 26-28 ของการตั้งครรภ์ ตัวยา Anti-D จะช่วยให้ร่างกายหยุดผลิตสารภูมิคุ้มกัน เพื่อไม่ให้สารภูมิคุ้มกันไปทำลายเม็ดเลือดแดงของลูกที่อาจมีเลือดเป็น Rh-positive ได้

โปรดทราบ
ทางทีมงานMali ได้พยายามรวบรวมข้อมูลที่อัปเดทล่าสุดมาให้กับคุณแม่หรือผู้อ่านแล้ว แต่ทั้งนี้ยังคงมีข้อสงสัยหลายอย่างที่ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ยังคงต้องหาคำตอบต่อไปเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทางทีมเราจึงต้องการแจ้งให้ทราบว่าข้อมูลที่นำเสนออาจไม่ครอบคลุมเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการตั้งครรภ์ของแต่ละบุคคลหรือเด็กแต่ละคน

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน