อาการคนท้องสัปดาห์ที่ 32
อาการคนท้องรายสัปดาห์
ลูกน่าจะอยู่ในตำแหน่งกลับหัวแล้ว และศีรษะของเขาจะเคลื่อนเข้ามาอยู่ใกล้บริเวณปากมดลูกมากขึ้น
ทางด้านของคุณแม่ อาการต่าง ๆ จะยังคงมีอยู่ เช่น อาการปวดปัสสาวะอย่างกะทันหันบ่อย ๆ เป็นต้น
ลูกเป็นอย่างไรบ้าง
ศีรษะของเขาจะปกคลุมไปด้วยเส้นผม และเล็บเท้าเองก็สามารถเห็นได้แล้ว ในตอนนี้ลูกมีน้ำหนักประมาณ 1.8 กก. มีความยาวประมาณ 43 ซม. ขนาดประมาณคะน้าใบหยัก
การประสานงานที่เพิ่มขึ้น: ลูกเริ่มสนุกกับการดูดนิ้ว การดูดนิ้วจะช่วยให้เขาเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของอวัยวะภายในร่างกาย และยังทำให้เขาสามารถแยกแยะอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้อีกด้วย
ตำแหน่ง: ในตอนนี้ลูกพร้อมที่จะคลอดออกมาแล้ว และเขาอาจจะอยู่ในตำแหน่งกลับหัวแล้วด้วย ประมาณ 90% ของทารกที่คลอดออกมาในสัปดาห์ที่ 32 สามารถมีชีวิตรอดและเติบโตมามีสุขภาพที่แข็งแรงได้
เส้นขนลานูโก: เส้นขนบางใสที่ปกคลุมตัวของลูกมาตลอดหลายเดือนจะเริ่มหลุดออกไปแล้วในสัปดาห์นี้
การตอบสนองของรูม่านตา: รูม่านตาของลูกสามารถหดหรือขยายเพื่อตอบสนองต่อแสง นั่นหมายความว่าประสาทการมองเห็นของเขาพร้อมที่จะทำงานแล้ว ถึงแม้ว่าลูกจะสามารถมองเห็นได้แล้วหลังคลอด แต่การมองเห็นก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ เพราะเขาจะยังไม่สามารถจับโฟกัสของสิ่งที่มองได้นาน ๆ
การหายใจ: ลูกจะฝึกหายใจมากขึ้นในช่วงสัปดาห์นี้ มันไม่เพียงช่วยให้เขาพร้อมต่อการหายใจหลังจากคลอดออกมา แต่ยังช่วยให้ปอดของเขาหลั่งสารลดแรงตึงผิว ที่เปรียบเสมือนสารหล่อลื่นเพิ่มขึ้นอีกด้วย สารลดแรงตึงผิวนี้จะช่วยให้ลูกหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น
อวัยวะเพศ: ถ้าลูกเป็นเด็กผู้ชาย ลูกอัณฑะของเขาจะเคลื่อนลงมาอยู่ในถุงอัณฑะแล้ว
คุณแม่เป็นอย่างไรบ้าง
อาการที่พบได้บ่อยในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์คือ อาการปวดปัสสาวะอย่างกะทันหันบ่อย ๆ
จนถึงตอนนี้ ปริมาณการผลิตเลือดจะเพิ่มขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุด ปริมาณเลือดที่เพิ่มนี้ช่วยส่งสารอาหารที่เพียงพอให้แก่ลูกและจะทดแทนปริมาณเลือดที่คุณแม่จะเสียไปในขณะคลอดลูก
ทำอะไรได้บ้างในช่วงนี้
เมื่อกำหนดคลอดใกล้เข้ามามากขึ้น คุณแม่อาจมีเอกสารเกี่ยวกับโรงพยาบาลที่ต้องจัดการ ในระยะนี้คุณแม่สามารถลงทะเบียนกับโรงพยาบาลและเตรียมเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อช่วยประหยัดเมื่อลูกคลอดออกมา
คุณแม่สามารถเลือกจำกัดความเจ็บปวดจากการคลอดโดยการบล็อคหลังตอนคลอด คุณแม่บางท่านอาจเลือกวิธีคลอดในน้ำ หรือแม้แต่คลอดตามธรรมชาติโดยไม่ใช่ยาอะไรช่วยเลยก็ได้
โปรดทราบ
ทางทีมงานMali ได้พยายามรวบรวมข้อมูลที่อัปเดทล่าสุดมาให้กับคุณแม่หรือผู้อ่านแล้ว แต่ทั้งนี้ยังคงมีข้อสงสัยหลายอย่างที่ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ยังคงต้องหาคำตอบต่อไปเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทางทีมเราจึงต้องการแจ้งให้ทราบว่าข้อมูลที่นำเสนออาจไม่ครอบคลุมเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการตั้งครรภ์ของแต่ละบุคคลหรือเด็กแต่ละคน
รับรองโดย:
พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (20 ตุลาคม 2021)
ที่มา:
- Keith Moore, The Developing Human: Clinically Oriented Embryology, 10th Edition, 2016
- Pregnancy and Baby Guide, National Health Service
- The Endowment for Human Development (EHD)
- Pregnancy Week 32, American Pregnancy Accociation
- Embryology, Lanugo, Brendon L. Verhave; Ali Nassereddin; Sarah L. Lappin
- Fetal development: The 3rd trimester, Mayo Clinic