ดาวน์โหลดแอป

อาการคนท้องสัปดาห์ที่ 35

อาการคนท้องรายสัปดาห์

อาการคนท้องสัปดาห์ที่ 35

กระดูกและอวัยวะส่วนใหญ่ของลูกพัฒนาจนใกล้จะสมบูรณ์แล้ว ส่วนคุณแม่อาจรู้สึกถึงการบีบตัวของมดลูกบ่อยขึ้น และมีตกขาวเพิ่มขึ้นด้วย

ลูกเป็นอย่างไรบ้าง
ในระยะนี้ ลูกจะเปลี่ยนตำแหน่งจากท่าก้น หรือท่าที่หันก้นลง ไปเป็นท่ากลับหัวแทน

ตำแหน่งกลับหัว: หลังจากลูกเปลี่ยนตำแหน่งไปเป็นตำแหน่งกลับหัวแล้ว เขาจะค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปอยู่ที่บริเวณใกล้ปากมดลูกมากขึ้น ในคุณแม่ท้องแรก การเคลื่อนที่นี้อาจจะเกิดขึ้นเร็วก่อนกำหนดคลอดหลายสัปดาห์ สำหรับคุณแม่ที่เคยมีลูกแล้ว อาการนี้อาจเกิดขึ้นในระยะใกล้คลอดเลย

เตรียมพร้อม: ในตอนนี้ลูกได้พัฒนากระดูกและอวัยวะอื่น ๆ จนจะสมบูรณ์แล้ว เหลือเพียงปอดที่จะยังพัฒนาต่อ ทำให้เขาพร้อมแล้วที่จะคลอดออกมาเจอโลกภายนอก

ตอนนี้ลูกมีน้ำหนักประมาณ 2.3 กก. ความยาวประมาณ 46 ซม. หรือขนาดประมาณลูกมะพร้าว

อวัยวะเพศ: ช่วงนี้ลูกอัณฑะของเด็กผู้ชายส่วนใหญ่ได้เคลื่อนลงมาอยู่ในถุงอัณฑะเรียบร้อยแล้ว

คุณแม่เป็นอย่างไรบ้าง
มดลูกเริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด ทำให้ในช่วงนี้คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บจากการบีบตัวของมดลูกบ่อยขึ้นและยาวนานขึ้น

น้ำนมเหลือง (colostrum): ในเร็ว ๆ นี้หน้าอกของคุณแม่จะเริ่มหลั่งของเหลวที่มีลักษณะเป็นสีเหลืองข้น หรือที่เรียกว่า น้ำนมเหลือง น้ำนมเหลืองนี้จะเป็นอาหารแรกของลูกหลังคลอดซึ่งเต็มไปด้วยสารภูมิคุ้มกันและสารอาหารสำคัญ ๆ ที่จะทำการสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับลูก คุณแม่อาจจะต้องหาแผ่นซับน้ำนมมากันไม่ให้เปื้อนเสื้อผ้า

การบีบตัวของมดลูก: คุณแม่จะรู้สึกถึงการบีบตัวของมดลูกบ่อยขึ้น นานขึ้น และเจ็บมากขึ้น เนื่องจากมดลูกกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด อาการนี้เรียกว่าอาการท้องแข็ง หรือท้องปั้น

ทำอะไรได้บ้างในช่วงนี้
ในระหว่างสัปดาห์ที่ 35-37 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถลองไปตรวจ Grop B streptococcus bacteria test ดูได้

Group B strep test: ในการตรวจนี้แพทย์จะกวาดบริเวณช่องคลอดและทวารหนัก เพื่อนำตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus group B ซึ่งมีประมาณ 25% ของผู้หญิงสุขภาพดีทั่วไปที่มีแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ในร่างกาย โดยปกติแล้วไม่เป็นอันตรายอะไร แต่ในเด็กแรกคลอดอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดปวด หรือภาวะโลหิตเป็นพิษ

เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกติดเชื้อในขณะคลอด แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะขณะทำคลอด

อัณฑะที่ไม่ลงถุง: หากลูกคุณแม่เป็นผู้ชายและแพทย์ตรวจพบว่าอัณฑะยังไม่เคลื่อนลงถุง คุณแม่อาจถามคุณหมอเพิ่มเติมในการหมั่นนัดตรวจดูอาการของลูกในช่วงเดือนแรกหลังคลอด

โปรดทราบ
ทางทีมงานMali ได้พยายามรวบรวมข้อมูลที่อัปเดทล่าสุดมาให้กับคุณแม่หรือผู้อ่านแล้ว แต่ทั้งนี้ยังคงมีข้อสงสัยหลายอย่างที่ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ยังคงต้องหาคำตอบต่อไปเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทางทีมเราจึงต้องการแจ้งให้ทราบว่าข้อมูลที่นำเสนออาจไม่ครอบคลุมเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการตั้งครรภ์ของแต่ละบุคคลหรือเด็กแต่ละคน

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (20 ตุลาคม 2021)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน