การฝึกเข้าห้องน้ำ
สุขภาพของลูก
คุณพ่อคุณแม่หลายคนไม่แน่ใจว่าควรเริ่มฝึกให้ลูกเข้าห้องน้ำเองเมื่อใด เพื่อหาเวลาที่เหมาะสมสำหรับลูกของคุณแม่ สิ่งสำคัญคือจะต้องดูสัญญาณที่เฉพาะเจาะจงของเด็ก ๆ แต่ละคน
สัญญาณสำหรับการฝึกเข้าห้องน้ำ
ลูกอาจพร้อมสำหรับการฝึกเข้าห้องน้ำแล้ว หากมีสัญญาณบ่งชี้ดังต่อไปนี้:
- มีความเข้าใจ และสามารถใช้คำเกี่ยวกับอุจจาระ และปัสสาวะได้
- อธิบายให้ลูกเข้าใจว่าเมื่อปวดปัสสาวะหรืออุจจาระ จะต้องไปนั่งกระโถน
- ไม่ปัสสาวะรดผ้าอ้อมได้ถึง 2 ชั่วโมงหรือมากกว่า
- สามารถไปที่กระโถน นั่ง และลุกขึ้นเองได้
- สามารถถอดผ้าอ้อม หรือกางเกงในเองได้
- มีความสนใจในการใช้กระโถน หรืออยากสวมกางเกงใน
เด็ก ๆ จะพร้อมเมื่อใด?
เด็ก ๆ ส่วนใหญ่จะเริ่มมีสัญญาณว่าพวกเขาพร้อมเมื่อมีอายุระหว่าง 18 – 24 เดือน แต่บางคนก็อาจใช้เวลานานกว่านั้น และบ่อยครั้งที่เด็กผู้ชายมักจะเริ่มช้า และใช้เวลานานในการเรียนรู้ที่จะใช้กระโถนมากกว่าเด็กผู้หญิง
การฝึกเข้าห้องน้ำใช้เวลานานแค่ไหน?
การสอนเด็กวัยหัดเดินให้ใช้กระโถนอาจใช้เวลาประมาณ 3 – 6 เดือน หากคุณแม่เริ่มทำการฝึกเร็วเกินไป กระบวนการฝึกอาจมีแนวโน้มที่จะใช้เวลานานกว่าปกติ และจบลงด้วยความหงุดหงิดมากขึ้นทั้งกับตัวคุณแม่เองและลูกน้อย และอาจต้องใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีกว่าที่ลูกจะไม่ปัสสาวะรดที่นอนในเวลากลางคืน
เคล็ดลับสำหรับการฝึกเข้าห้องน้ำ
คุณแม่สามารถช่วยลูกได้โดยการสอนขั้นตอนต่าง ๆ และการให้กำลังใจ วิธีต่อไปนี้ก็อาจช่วยคุณแม่ได้:
- ให้ลูกเข้าห้องน้ำตามเวลาที่กำหนด เช่น 30 นาทีหลังรับประทานอาหาร หรือทุกๆ 2 ชั่วโมง
- ทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่างว่า คุณแม่นั่งบนชักโครกในห้องน้ำ และอธิบายสิ่งที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ด้วยการดูคุณแม่เป็นตัวอย่าง คุณแม่อาจให้ลูกลองนั่งบนกระโถน และเฝ้าดูในขณะที่คุณแม่กำลังใช้ห้องน้ำ
- ชมเชยลูกทุกครั้งเมื่อเขาพยายามใช้ห้องน้ำหรือกระโถน แม้ว่าจะไม่สำเร็จก็ตาม
- หากลูกไม่ต้องการใช้ห้องน้ำหรือกระโถน อย่าบังคับพวกเขา
- หากลูกปัสสาวะ หรืออุจจาระรดโดยไม่ตั้งใจ สิ่งสำคัญคือต้องไม่ลงโทษลูกเมื่อมีปัญหา ความกลัวจะมีผลกระทบในทางตรงกันข้าม คุณแม่ควรทำตัวเป็นมิตร มองโลกในแง่ดี และไปเข้าห้องน้ำด้วยกันกับเขา
- ใช้คำเพื่อแสดงการกระทำของการใช้ห้องน้ำ (“ฉี่” “อึ” และ “กระโถน”) ด้วยความหมายในเชิงบวก
- บอกลูกให้บอกให้คุณแม่ทราบ เมื่อเขาปัสสาวะ หรืออุจจาระรดผ้าอ้อม
- ทำพฤติกรรมให้ชัดเจน เพื่อให้ลูกของคุณแม่เรียนรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการที่จะปัสสาวะ หรืออุจจาระ และพาพวกเขาไปเข้าห้องน้ำ
ประเภทของกระโถน
มีตัวเลือกแบบทั่ว ๆ ไปอยู่ 2 แบบคือ:
- กระโถนขนาดเล็กที่มาพร้อมกับโถรองรับที่สามารถนำสิ่งปฏิกูลไปเทลงในชักโครกได้
- ที่รองนั่งสำหรับเด็กวัยหัดเดินที่สามารถวางทับบนโถชักโครกได้ ซึ่งจะทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น และไม่กลัวการตกหล่น หากคุณแม่เลือกใช้วิธีนี้ ควรหาเก้าอี้สำหรับเหยียบขึ้นไป เพื่อให้ลูกสามารถขึ้นไปนั่งได้อย่างสะดวก
ปัญหาการฝึกใช้ห้องน้ำที่พบได้ทั่วไป
เด็ก ๆ ทุกคนมีความแตกต่างกัน เด็กบางคนอาจใช้เวลาในการพูดคุยทำความเข้าใจมากกว่า และอาจต้องใช้เวลามากกว่าคนอื่นเพื่อที่จะฝึกใช้กระโถน เด็ก ๆ หลายคนที่ใช้กระโถนอาจเคยมีช่วงเวลาที่มีความเครียดสูง เช่น เมื่อต้องรับมือกับน้องคนใหม่ คุณแม่ควรปล่อยให้ลูกใช้เวลาในการเตรียมพร้อมมากเท่าที่เขาต้องการ คอยสนับสนุนเขาและให้ความรักความเอาใจใส่เขาให้มากขึ้น