ดาวน์โหลดแอป

ปัญหาสุขภาพ ของทารกที่เกิดโดยการผ่าคลอด

วันคลอด

ปัญหาสุขภาพ ของทารกที่เกิดโดยการผ่าคลอด

ประมาณ 1 ใน 10 ของการตั้งครรภ์ จะเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งเป็นเหตุให้ทารกต้องถูกทำคลอดโดยการผ่าตัด 

ในบางโรงพยาบาล ประมาณ 40% ของเด็กทั่วไปเกิดมาโดยวิธีผ่าตัดคลอด ซึ่งมักเกิดจากความเชื่อแบบผิด ๆ หรือเพราะเกิดจากวางแผนล่วงหน้าได้ง่ายกว่า โชคร้ายที่การผ่าคลอดอาจนำมาซึ่งผลข้างเคียงทางลบได้

ปัญหาจากการคลอดโดยการผ่าตัด
ปัญหาหลักของการผ่าตัดคลอดคือทารกจะไม่ได้รับแบคทีเรียที่สำคัญซึ่งจะอยู่ภายในช่องคลอดของคุณแม่ โดยแบคทีเรียที่สำคัญนี้จะเติบโตขึ้นในลำไส้ของทารกแรกเกิด และจะช่วยทำให้เขามีสุขภาพที่ดีในอนาคต

การพลาดโอกาสในการสัมผัสแบคทีเรียนี้ทำให้ทารกที่ผ่าคลอดมีความเสี่ยงต่อปัญหาทางสุขภาพต่อไปนี้:

ลูกน้อยจะป่วยเพราะผ่าตัดคลอดหรือไม่?
วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายได้ว่าเด็กทารกแต่ละคนจะมีความเสี่ยงทางสุขภาพอย่างไรบ้าง ดังนั้นหากลูกน้อยเกิดจากการผ่าคลอดเขาก็อาจมีสุขภาพดีตามปกติก็ได้ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพียงแต่บอกเราว่าตามสถิติจากกลุ่มคนหมู่มากแล้ว เด็กที่ผ่าคลอดมีความเสี่ยงทางสุขภาพมากกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ

ผลจากการวิเคราะห์เด็ก 7 ล้านคน
การวิเคราะห์ข้อมูลจากเด็ก 7 ล้านคนพบว่าทารกที่เกิดมาด้วยวิธีผ่าคลอดจะต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยกว่าในช่วงวัยเด็กเนื่องจากปัญหาการติดเชื้อ ซึ่งหมายความว่าเด็ก ๆ ที่มาโรงพยาบาลเพราะติดเชื้ออาจเป็นเด็กที่มาจากการคลอดด้วยวิธีไหนก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่มาจากการผ่าคลอด ความเสี่ยงในการเข้าโรงพยาบาลจะมีไปจนถึงเด็กอายุ 5 ปี ส่วนใหญ่มักเป็นการติดเชื้อที่ปอด ติดเชื้อในทางเดินอาหาร และติดเชื้อไวรัส

การวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมากไม่สามารถนำมาทำนายสาเหตุและผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจนนัก บางทีเด็กที่เกิดโดยการผ่าคลอดอาจติดเชื้อได้ง่ายโดยไม่ได้มีสาเหตุจากการผ่าคลอด แต่อาจเป็นเพราะแม่ที่จำเป็นต้องผ่าคลอดมักมีสุขภาพไม่ดีเท่าแม่ที่คลอดธรรมชาติก็ได้ ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุว่าการทดลองที่มีการควบคุมมักให้ผลที่ชัดเจนกว่า เช่นในการทดลองหนึ่งที่ทดลองกับหนู

การผ่าคลอดและโรคอ้วน: ผลการทดลองในหนู
เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของ การผ่าตัดคลอดกับโรคอ้วน ผู้เชี่ยวชาญจาก New York University of Medicine ได้ลองทำการทดลองกับหนู โดยเธอได้ทดลองให้หนูตั้งครรภ์บางตัวให้กำเนิดลูกตามธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็ทำการผ่าตัดคลอดโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะกับหนูตัวอื่น ๆ

จากนั้นเธอก็เลี้ยงลูกหนูในสภาพเดียวกัน  หนูตั้งครรภ์จำนวน 13 ตัวของเธอมีลูกหนูออกมาทั้งหมด 69 ตัว ซึ่ง 35 ตัวคลอดตามธรรมชาติและ 34 ตัวได้รับการผ่าตัดคลอด เมื่ออายุครบ 15 สัปดาห์ ลูกหนูที่คลอดตามธรรมชาติมีน้ำหนักเฉลี่ย 39 กรัม ส่วนลูกหนูที่คลอดโดยการผ่าตัดมีน้ำหนักเฉลี่ย 45 กรัม

นักวิจัยได้ตรวจดูแบคทีเรียในกระเพาะอาหารของลูกหนูแล้วพบว่า ลูกหนูที่เกิดมาตามธรรมชาติมีสัดส่วนที่ปกติ ในขณะที่ลูกหนูที่คลอดโดยการผ่าตัดไม่มีแบคทีเรีย Ruminococcaceae และ Clostridiales ซึ่งเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่สัมพันธ์กับการช่วยให้ร่างกายไม่มีไขมันส่วนเกิน ดังนั้นดูเหมือนว่าทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดไม่ได้รับแบคทีเรียที่จำเป็นซึ่งถูกส่งผ่านจากช่องคลอดของมารดาไปยังทารกระหว่างการคลอดธรรมชาติ

วิธีแก้ไข
ในตอนนี้ดร. Dominguez-Bello กำลังทำการทดลองโดยการปาดของเหลวจากช่องคลอดของแม่หนู และนำมาเช็ดที่ใบหน้าของลูกหนูทันทีหลังจากการผ่าคลอด เพื่อพยายามส่งต่อแบคทีเรียให้ลูกหนู ถึงแม้จะฟังดูน่ารังเกียจไปบ้าง แต่หากทำแล้วได้ผลก็จะสามารถช่วยให้ทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดได้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (19 เมษายน 2019)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน