ดาวน์โหลดแอป

เหนื่อย อ่อนเพลียในขณะตั้งครรภ์ ควรทำอย่างไร

คุณแม่

เหนื่อย อ่อนเพลียในขณะตั้งครรภ์ ควรทำอย่างไร

ความรู้สึกอ่อนเพลียในขณะตั้งครรภ์นั้นเป็นอาการปกติที่พบได้บ่อยครั้ง โดยจะมีอาการมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

ความรู้สึกอ่อนเพลียขณะตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก
ความรู้สึกอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดจากการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนหลักที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพลังงานในร่างกายก็คือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน นอกจากนี้ปริมาณการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ก็จะช่วยลดความดันโลหิตของคุณแม่ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกอ่อนเพลียในช่วงไตรมาสแรกนั่นเอง

สุขภาพกายและสุขภาพจิตของคุณแม่เองก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียขณะตั้งครรภ์ได้ ความเครียด การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และความวิตกกังวล ความรู้สึกเหล่านี้อาจเพิ่มขึ้นเมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ซึ่งมีผลทำให้คุณแม่รู้สึกเหนื่อยล้าทางจิตใจ

ความรู้สึกอ่อนเพลียขณะตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 2
ในบางครั้งเมื่อเริ่มเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 คุณแม่อาจสังเกตได้ว่ามีอาการอ่อนเพลียลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ถ้ายังรู้สึกอ่อนเพลียอยู่ อย่าเพิ่งท้อแท้ไป คุณอาจเป็นเหมือนคุณแม่อีกหลาย ๆ คนที่ยังคงประสบกับปัญหาความอ่อนเพลียในช่วงไตรมาสที่ 2 เมื่อรู้สึกว่าอาการอ่อนเพลียเริ่มลดลงในช่วงนี้ คุณแม่อาจใช้โอกาสในช่วงนี้เตรียมความพร้อมเพื่อต้อนรับลูก เช่น จัดห้อง ซื้อเสื้อผ้าและของใช้ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม

ความรู้สึกอ่อนเพลียขณะตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 3
ตามที่ได้กล่าวในข้างต้น เมื่อคุณแม่เริ่มเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ความรู้สึกอ่อนเพลียนั้นจะกลับมาอีกครั้ง ลูกกำลังโตขึ้น ท้องของคุณแม่ก็โตขึ้นทำให้คุณแม่ต้องใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เมื่อคุณแม่สูญเสียพลังงานเยอะขึ้นก็ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียหรือหมดแรงได้ง่าย การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำได้ยากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายของคุณแม่และลูกที่เติบโตขึ้นในท้องของคุณแม่นั่นเอง การขาดการพักผ่อนอย่างเพียงพอจะทำให้คุณแม่ยิ่งอ่อนเพลียและเหนื่อยล้ามากยิ่งขึ้น

การรับมือกับอาการอ่อนเพลียในขณะตั้งครรภ์
มี 3 – 4 วิธีดี ๆ ที่จะช่วยคุณแม่รับมือกับอาการอ่อนเพลียขณะตั้งครรภ์ คุณแม่บางคนอาจพบว่าบางวิธีสามารถช่วยได้ดี ในขณะที่คุณแม่บางคนอาจต้องใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกันเพื่อลดอาการอ่อนเพลีย และนี่คือบางวิธีที่เรานำมาฝาก:

งีบหลับและพักสายตา: อย่ากังวลที่จะงีบหลับหรือนอนพักเมื่อคุณแม่รู้สึกอ่อนเพลียในขณะตั้งครรภ์ ลองเข้านอนแต่หัวค่ำหรือนอนกลางวัน ถ้าคุณแม่ทำงานนอกบ้านอาจใช้ช่วงเวลาพักกลางวันงีบหลับสักครู่

ปรับเปลี่ยนตารางเวลาของคุณแม่: ลองจำกัดภารกิจในแต่ละวันและอย่ากังวลที่จะ “ปฏิเสธ” งานชิ้นใหม่จากเจ้านายของคุณแม่ คุณแม่อาจคุยกับเจ้านายเพื่อขอลดชั่วโมงในการทำงานหรือขอเพิ่มเวลาพักเบรกระหว่างวันเพื่อพักผ่อนให้มากขึ้น

รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ: โภชนาการที่สมดุลจะช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกายได้อย่างดี สารอาหารเช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก และพลังงานที่มากับสารอาหารเหล่านี้จะช่วยเติมพลังให้กับคุณแม่ การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพหรืออุดมไปด้วยแป้งและน้ำตาลอาจเป็นสาเหตุให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลียกว่าเดิมได้

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (2 มกราคม 2020)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน