ดาวน์โหลดแอป

น้ำหนักตัวควรจะเพิ่มขึ้นเท่าไรในระหว่างการตั้งครรภ์

คุณแม่

น้ำหนักตัวควรจะเพิ่มขึ้นเท่าไรในระหว่างการตั้งครรภ์

การรักษาอัตราการเพิ่มของน้ำหนักที่เหมาะสมในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้คุณแม่แน่ใจได้ว่าลูกจะมีพัฒนาการที่รวดเร็ว มีความสุข และมีสุขภาพดี

การเพิ่มน้ำหนักของคุณแม่ให้เพียงพอ คือสิ่งที่จะสามารถช่วยยืนยันได้ว่าลูกมีอาหารเพียงพอเพื่อการเจริญเติบโต แต่ถ้าคุณแม่รับประทานอาหารมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดปัญหาอื่นขึ้นได้

อัตราการเพิ่มของน้ำหนักในไตรมาสแรก
ในช่วงไตรมาสแรก น้ำหนักคุณแม่ส่วนใหญ่จะไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก เนื่องจากการตั้งครรภ์ของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป ระหว่าง 0.5-2.5 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องปกติที่น้ำหนักของคุณแม่จะไม่เพิ่มขึ้น หรืออาจลดลงเล็กน้อยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากการรับประทานอาหารได้น้อยลง หรือมีอาการแพ้ท้อง

อัตราการเพิ่มของน้ำหนักในไตรมาส 2 และ 3
ว่าที่คุณแม่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่าง 4 – 9 กิโลกรัมเมื่อจบไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ อัตราการเพิ่มของน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 3 เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ทารก เก็บสะสมไขมันทารกไว้มากมาย ดังนั้นคุณแม่ควรต้องแน่ใจว่าได้รับประทานอาหารอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และไม่มีน้ำตาลมากเกินไป

น้ำหนักควรเพิ่มมากเท่าไหร่
ส่วนใหญ่ของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้น ขนาดของเต้านมที่ใหญ่ขึ้น การสะสมของเหลว รวมทั้งมีลูกน้อยและรกอยู่ด้วย อัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวเดิมก่อนตั้งครรภ์ของคุณแม่ และถูกกำหนดโดยดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณแม่เอง

อัตราการเพิ่มของน้ำหนักที่แนะนำ
BMI : น้ำหนักที่ควรเพิ่ม
<18 : 10 – 18 กก.
18 – 25 : 8 – 16 กก.
25 – 30 : 6 – 14 กก.
>30 : 4 – 8 กก.

BMI : น้ำหนักที่ควรเพิ่มสำหรับการตั้งครรภ์ลูกแฝด
18 – 22 : 17 – 24 กก.
23 – 30 : 14 – 22 กก.
>30 : 11 – 19 กก.

วิธีการคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)
การคำนวณค่าดัชนีมวลกายให้ใช้ น้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วย ความสูงยกกำลังสอง (ความสูงต้องคำนวนด้วยหน่วยเมตร) ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณแม่น้ำหนัก 50 กก. และสูง 1.6 เมตร คุณแม่ต้องใช้ 50 / [1.6 x 1.6] หรือ 50 / 2.56 ซึ่งคำตอบก็คือ 19.53 นั่นหมายความว่าถ้าคุณแม่มีน้ำหนัก 50 กก. และสูง 160 ซม. BMI ของคุณแม่จะเท่ากับ 19 และคุณแม่ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่าง 8 – 16 กก. ในช่วงตั้งครรภ์นั่นเอง

หากคุณแม่ไม่อยากคำนวณค่าดัชนีมวลกายด้วยตัวเอง สามารถให้มะลิช่วยคำนวณน้ำหนักได้ โดยใช้น้ำหนักและส่วนสูงก่อนตั้งครรภ์ที่คุณแม่กรอกไว้ในหน้าโปรไฟล์

ความเสี่ยงที่อาจเกินขึ้นหากคุณแม่รับประทานอาหารมากเกินไป
การเพิ่มของน้ำหนักที่มากเกินไปอาจเป็นปัญหาสำหรับคุณแม่เช่นเดียวกันกับ{{ NAME}} คุณแม่ที่มีน้ำหนักเกินอย่างมาก มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และมีแนวโน้มที่จะต้องได้รับการการผ่าตัดคลอด เนื่องจากทารกมักจะมีขนาดใหญ่

คุณแม่สามารถพบกับบทสัมภาษณ์จากคุณหมอ วรชัย ชื่นชมพูนุท จากโรงพยาบาล BNH เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกได้ที่ วีดีโอน้ำหนักของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (14 กุมภาพันธ์ 2020)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน