เลี้ยงลูกอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
พัฒนาการเด็ก
แน่นอนว่าคุณแม่รักลูกมาก แต่การอนุญาตให้เขาเล่นโทรศัพท์ หรือว่าตามใจด้วยการให้ดื่มน้ำหวานมากเกินไป อาจทำให้เขาโตขึ้นมาเป็นคนน้ำหนักเกินหรือมีปัญหาสุขภาพรุนแรงตามมาได้ในอนาคต
วางรากฐานอย่างถูกต้อง
ในช่วงขวบปีแรก ๆ ของชีวิตนั้นเป็นช่วงที่เราสร้างนิสัยหลาย ๆ อย่าง และนิสัยเหล่านั้นจะเปลี่ยนแปลงได้ยากมากในระยะต่อมาของชีวิต อุปนิสัยเรื่องการกินก็เป็นเรื่องหนึ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ยาก จากงานวิจัยโดย T.H. Chan School of Public Health ในมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดพบว่า การที่น้ำหนักขึ้นในวัยเด็กจะส่งผลให้เด็กคนหนึ่งเดินบนเส้นทางแห่งความอ้วนที่ยากจะเปลี่ยน 3 ใน 4 ของเด็กอายุ 2 ขวบ ที่น้ำหนักเกิน จะยังคงน้ำหนักเกินอยู่เมื่ออายุถึง 35 ปี การวางรากฐานอุปนิสัยการกินที่ดีตั้งแต่ช่วงปีแรก ๆ ของชีวิตจึงถือเป็นเรื่องสำคัญต่ออนาคตของลูก
ลดเวลาจ้องหน้าจอ
เวลาที่เด็ก ๆ ใช้โทรศัพท์มือถือ หรือ ดูวิดีโอ เขาจะได้ใช้กล้ามเนื้อเพียง 2 ส่วน คือกล้ามเนื้อนิ้ว และ กล้ามเนื้อตา ส่วนกล้ามอีก 650 มัดในร่างกายนั้นอยู่นิ่งๆ ลูกจะได้ขยับร่างกายน้อยลง และเสียโอกาสในการวิ่งเล่น การใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ การเล่นอย่างเป็นอิสระ และอาจเสียการวางรากฐานการใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉงไปตลอดชีวิตได้
การเล่นอย่างอิสระ
ทักษะการเคลื่อนไหวที่ดีและมีประสิทธิภาพในช่วงขวบปีแรก ๆ ของชีวิตเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉงในระยะเวลาต่อมา เด็ก ๆ ที่เรียนรู้ที่จะเดิน วิ่ง โยน รับ และทรงตัวตั้งแต่อายุยังน้อยจะสนุกในการได้เล่นกีฬา เต้น หรือทำกิจกรรมอื่นที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวของร่างกาย เด็ก ๆ ที่ไม่ได้มีโอกาสเรียนรู้ที่จะใช้ร่างกายตั้งแต่เด็ก ๆ อาจสนุกน้อยกว่า และมีความมั่นใจในการทำกินกรรมเหล่านั้นน้อยกว่าตามไปด้วย
การเริ่มต้นที่ดี
ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าคุณแม่ควรให้นมแม่เป็นอาหารหลักอย่างเดียวสำหรับลูกจนอายุได้ 6 เดือน หลังจากที่อายุเลยจุดนี้ไปแล้วค่อยเริ่มให้อาหารอื่น ๆ เป็นการเริ่มต้น เช่น กล้วย แครอท แอปเปิ้ล หรือ อะโวคาโด โดยให้นมแม่ต่อไปจนอายุอย่างน้อย 12 เดือนหรือมากกว่านั้น คุณแม่บางคนให้นมแม่เป็นอาหารเสริมให้ลูกจนกว่าฟันน้ำนมจะเริ่มร่วง (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อฟันน้ำนม) ในช่วงนี้ก็ควรเลี่ยงน้ำตาล เกลือ และเครื่องปรุงรสต่างๆ
ปูพื้นรสชาติที่ดี
เมื่อ{{ NAME}}ค่อย ๆ โตขึ้น และรับประทานอาหารแข็งมากขึ้นเรื่อย ๆ คุณแม่จะสามารถเริ่มทำตามหลักโภชณาการที่ดีแบบเดียวกับผู้ใหญ่ได้ เช่น ให้รับประทานผักใบเขียว ผลไม้สด ธัญพืช ถั่วต่าง ๆ ปลา และสัตว์ปีก ควรเลี่ยงเนื้อสีแดง ให้รับประทานเกลือและน้ำตาลได้แต่น้อย เลี่ยงอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปสูง หลีกเลี่ยงมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ น้ำอัดลม และน้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมของน้ำตาลสูง
เมื่อลูกโตขึ้น อีก 30 – 40 ปีข้างหน้า เขาก็จะเข้าใจเองว่าความเคยชินกับรสชาติเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นตอนที่ยังอายุน้อย และจะขอบคุณคุณแม่ที่ช่วยให้เขารักในรสชาติของอาหารที่ดีต่อสุขภาพ