ปัญหาในการให้นม: ลูกน้อยดูดนมไม่เป็น (ไม่ยอมดูดนม)
นมแม่
เด็กทารกนั้นเกิดมาพร้อมกับสัญชาตญาณในการดูด ทารกน้อยจะฝึกฝนทักษะการดูดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ อย่างไรก็ตาม เขายังต้องทำความรู้จักกับหน้าอกของคุณแม่ และการไหลของน้ำนมเพื่อการดื่มนมอย่างถูกที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการเจริญเติบโตอย่างมีสุขภาพดี
ต่อไปนี้คือสถานการณ์ที่คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ ท่านเจอบ่อยกับลูกน้อยในช่วงเริ่มต้นการให้นม
ทารกไม่ยอมดูดนม
ทารกอาจปฏิเสธการดูดนมจากเต้าเนื่องจากหลายสาเหตุ เช่นลิ้นที่ผิดปกติของทารก หรือสภาวะอารมณ์ของลูกตอนช่วงป้อนนม สาเหตุและวิธีการจัดการมีดังต่อไปนี้
- การเข้าเต้าไม่ถูกวิธี: หากทารกน้อยเข้าเต้าไม่ถูกวิธีอาจทำให้ไม่สามารถดูดน้ำนมออกมาได้เต็มที่ ทำให้ทารกเกิดความสับสน หงุดหงิดและไม่อยากเข้าเต้าในที่สุด คุณแม่ควรสอนให้ลูกน้อยหันเข้าหาเต้าด้วยการกระตุ้น รูท รีเฟลกซ์ โดยการใช้หัวนมเขี่ยมุมปากทารกน้อยเบา ๆ เพื่อให้เขาอ้าปาก จากนั้นเอาตัวลูกแนบกับลำตัวคุณแม่และต่ำกว่าหัวนมเล็กน้อย และขยับตัวลูกเข้ามาใกล้หัวนม และให้ปากอมงับไปที่หัวนมและลานนมเพื่อเริ่มดูด
- ทารกแยกจุกนมไม่ออก: หากทารกดื่มนมจากขวดไปพร้อม ๆ กับนมจากเต้า เขาอาจสับสนระหว่างหัวนมคุณแม่กับจุกนมได้ เนื่องจากทารกต้องใช้ทักษะการดูดคนละแบบในการดูดนมจากเต้าและดูดนมจากขวดนม อาการนี้มักเกิดขึ้นในช่วงเดือนแรกหลังคลอด ดังนั้นควรให้ลูกน้อยดื่มนมแม่อย่างเดียวในช่วงเดือนแรก เพราะเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทารกน้อยจะได้เรียนรู้การดื่มนมแม่ให้เคยชิน
- สิ่งรบกวน: สำหรับเด็กทารกที่อายุมากขึ้นหน่อย เช่น 2-3 เดือน บางครั้งทารกอาจเสียสมาธิเพราะสภาพแวดล้อมมีสิ่งเร้ามากเกินไป ดังนั้นควรให้นมลูกน้อยในสถานที่เงียบสงบ
ทารกดูดนมเป็นเวลาสองสามนาทีจากนั้นก็เลิกดูด
หากทารกน้อยเข้าเต้าได้แล้วและเริ่มดูดนม แต่พอดูดได้ไม่นานก็เลิกดูดและเริ่มร้องไห้ออกมา เป็นไปได้น้ำนมอาจจะไหลช้าไม่ทันใจ ด้านล่างนี้คือสาเหตุและวิธีการรับมือ
- น้ำนมไหลช้า: กลไกการหลั่งน้ำนมจะถูกกระตุ้นเมื่อลูกน้อยดูดนม สำหรับคุณแม่บางคนที่น้ำนมไหลช้า นั่นเป็นเพราะเมื่อลูกน้อยเริ่มดูดนมแล้วอาจใช้เวลาสักครู่หนึ่งก่อนที่น้ำนมจะไหลออกมา ซึ่งอาจทำให้ทารกน้อยที่กำลังหิวรู้สึกหงุดหงิดได้ คุณแม่อาจลองช่วยกระตุ้นรอเพื่อให้น้ำนมไหลก่อนเริ่มให้ลูกเข้าเต้า โดยปั๊มนมก่อนซักประมาณ 2-3 นาที
- ทารกหิวเกินไป: คุณแม่อาจสังเกตว่าเมื่อลูกหิว เขาจะเริ่มหันหัวตามหน้าอกคุณแม่และเริ่มทำปากจ๊วบ ๆ หากคุณแม่สังเกตเห็นอาการหิวของลูกน้อยตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้ ก็จะช่วยให้ลูกเข้าเต้าได้ง่ายขึ้น การกอดลูกน้อยและโยกตัวไปมาเบา ๆ เพื่อให้เขาผ่อนคลายและหยุดร้องไห้ก่อนเข้าเต้าก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ลูกให้ความร่วมมือในการเข้าเต้าง่ายขึ้น
รับรองโดย:
พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (10 พฤศจิกายน 2021)