ดาวน์โหลดแอป

อาการคนท้องสัปดาห์ที่ 16

อาการคนท้องรายสัปดาห์

อาการคนท้องสัปดาห์ที่ 16

ลูกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและดิ้นไปมา ปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นจะเตรียมพร้อมคุณแม่สำหรับการให้นมลูกในอนาคต

ลูกเป็นอย่างไรบ้าง
ดวงตาของลูกเริ่มขยับได้แล้ว ตอนนี้เขาจะมีน้ำหนักประมาณ 100 กรัม และความยาวประมาณ 12 ซม.หรือประมาณผลอะโวคาโด

การดิ้นของลูก: คุณแม่สามารถรับรู้ได้แล้วว่าลูกกำลังดิ้นอยู่ในท้อง แต่ถ้านี่คือท้องแรกของคุณแม่ คุณแม่อาจจะรู้สึกถึงการดิ้นของเขาช้ากว่านี้สัก 2-3 สัปดาห์ เพราะฉะนั้นคุณแม่ไม่ต้องกังวลหากยังไม่รู้สึกอะไรในช่วงนี้

การจัดท่า: กระดูกและกล้ามเนื้อที่หลังเริ่มแข็งแรงมากขึ้นจนลูกสามารถยืดหัวกับคอให้ตรงได้แล้ว

หู: หูที่เริ่มเคลื่อนที่ในไม่กี่สัปดาห์ที่แล้ว ตอนนี้ได้เคลื่อนมาอยู่ในตำแหน่งปกติเรียบร้อยแล้ว

ขาและนิ้วเท้า: ขาของลูกกำลังค่อย ๆ พัฒนาจนสามารถเคลื่อนไหวได้สัมพันธ์กันมากขึ้น แต่การเคลื่อนไหวนี้ยังอ่อนแรงเกินกว่าที่คุณแม่สามารถรู้สึกได้ และที่ปลายขากำลังมีเล็บเท้าเล็ก ๆ พัฒนาอยู่

หัวใจ: เมื่อระบบหมุนเวียนเลือดของลูกได้เริ่มทำงาน หัวใจของเขาก็แข็งแรงมากขึ้นและสามารถสูบฉีดเลือดกว่า 20 ลิตรต่อวัน

ผิวที่โปร่งใส: บริเวณใต้ผิวหนังของลูกยังไม่มีไขมันสะสม ทำให้ผิวของเขาดูโปร่งจนสามารถเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนังได้

กล้ามเนื้อ: กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่แสดงอารมณ์บนใบหน้ากำลังพัฒนาแล้ว แต่ยังต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าจะเห็นรอยยิ้มของลูกได้ 🙂

คุณแม่เป็นอย่างไรบ้าง
ปริมาณเลือดที่เพิ่มมากขึ้นในร่างกายจะช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับการให้นมลูก แต่ข้อเสียคืออาจส่งผลให้คุณแม่รู้สึกคัดจมูกและมีตกขาวเพิ่มขึ้น

ท้องผูก: คุณแม่อาจมีอาการท้องผูกเนื่องจากฮอร์โมน Progesterone หรือ ฮอร์โมนเพศหญิงที่มีส่วนช่วยในการตั้งครรภ์นั้น ได้คลายกล้ามเนื้อเรียบที่บริเวณลำไส้ส่งผลให้การย่อยและการเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง และทำให้มีอาการท้องอืด มีลมในกระเพาะอาหาร หรือรู้สึกอยากเรอได้

ปวดหลัง: ในเร็ว ๆ นี้ คุณแม่อาจเริ่มรู้สึกปวดเมื่อยหลัง เพราะครรภ์ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้จุดศูนย์ถ่วงเปลี่ยนไปและทำให้หลังรู้สึกตึง โชคร้ายที่คุณแม่ไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากรอให้ลูกคลอดออกมา แล้วอาการปวดหลังนี้จะหายไปเอง อีกหนึ่งทางเลือกคือใช้หมอนรองสำหรับคนท้องเวลานอนลงอาจช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน

ทำอะไรได้บ้างในช่วงนี้
ถ้าคุณแม่มีอาการท้องผูก การดื่มน้ำและทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงสามารถลดปัญหาของระบบย่อยอาหารได้ พยายามเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้อาการท้องผูกแย่ลงอย่าง กะหล่ำปลี และ ถั่ว

ชั่งน้ำหนักเสมอ: สิ่งสำคัญคือคุณแม่ควรใส่ใจเรื่องช่วงเวลาและปริมาณน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งตอนนี้คุณแม่ควรจะมีน้ำหนัก #จำนวน กก. เมื่อวัดจากดัชนีมวลกาย (BMI) คุณแม่สามารถลองคำนวณค่าดัชนีมวลกายเพื่อที่จะคำนวณหาน้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นได้

กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ: ตราบใดที่คุณแม่ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ลดอาหารฟาสฟู้ดและเพิ่มอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว

โปรดทราบ
ทางทีมงานMali ได้พยายามรวบรวมข้อมูลที่อัปเดทล่าสุดมาให้กับคุณแม่หรือผู้อ่านแล้ว แต่ทั้งนี้ยังคงมีข้อสงสัยหลายอย่างที่ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ยังคงต้องหาคำตอบต่อไปเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทางทีมเราจึงต้องการแจ้งให้ทราบว่าข้อมูลที่นำเสนออาจไม่ครอบคลุมเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการตั้งครรภ์ของแต่ละบุคคลหรือเด็กแต่ละคน

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (20 ตุลาคม 2021)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน