อาการคนท้องสัปดาห์ที่ 34
อาการคนท้องรายสัปดาห์
ปอด สมอง และระบบประสาทส่วนกลางของลูกพัฒนาจนใกล้จะสมบูรณ์แล้ว และเริ่มเคลื่อนศีรษะไปใกล้ปากมดลูกมากขึ้น อาการต่าง ๆ ที่มีในขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่เองก็เริ่มน้อยลงแล้วเช่นกัน หรืออาจจะหายไปแล้วก็ได้
ลูกเป็นอย่างไรบ้าง
ในตอนนี้ลูกมีน้ำหนักประมาณ 2.1 กก. ความยาวประมาณ 45 ซม. หรือประมาณผลแคนตาลูป นิ้วมือของเขาพัฒนาไปจนถึงส่วนปลาย ในแต่ละวันเขายังผลิตปัสสาวะกว่า 500 มล. และเริ่มมีอุจจาระแรกอย่างขี้เทา (meconium) แล้ว
อวัยวะที่สำคัญ: ปอด สมอง และระบบประสาทส่วนกลางกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วและใกล้จะสมบูรณ์ในเร็ว ๆ นี้ มีเพียงปอดที่ยังคงต้องพัฒนาต่อไปอีก
สารภูมิคุ้มกัน: ลูกน้อยได้รับสารภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมาจากคุณแม่แล้ว หลังจากนี้เขาจะใช้สารภูมิคุ้มกันเหล่านี้ในการต่อสู้กับแบคทีเรียและเชื้อโรคในตอนที่คลอดออกมา
ปริมาณของเหลวที่เปลี่ยนไป: ในสัปดาห์นี้ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 36 ของการตั้งครรภ์ ปริมาณน้ำคร่ำจะเพิ่มขึ้นจนถึงจุดสูงสุด ก่อนที่จะลดลงในสัปดาห์ที่ 37 เพื่อเหลือพื้นที่ให้ลูกได้โตเพิ่มขึ้น
ลักษณะภายนอก: ผิวของลูกดูเรียบขึ้น ในขณะที่แขนและขาก็เริ่มดูมีน้ำมีนวลมากขึ้นจากการสะสมของไขมัน ในระยะนี้ปริมาณของไขมันสีขาวจะอยู่ที่ประมาณ 8% ของน้ำหนักตัว
คุณแม่เป็นอย่างไรบ้าง
ในตอนนี้คุณแม่อาจรู้สึกหายใจได้สะดวกขึ้น เนื่องจากลูกเริ่มเคลื่อนตัวไปอยู่ใกล้ ๆ บริเวณช่องคลอดเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ทำให้แรงที่กดลงบนปอดน้อยลง คุณแม่เลยหายใจได้สะดวกขึ้น อาการที่ลูกเคลื่อนไปใกล้ช่องคลอดนี้เรียกว่า ท้องลด (lightening) และยังเป็นสัญญาณของระยะใกล้คลอดอีกด้วย ถ้านี่เป็นท้องแรกของคุณแม่ อาการท้องลดอาจจะเกิดขึ้นในสัปดาห์ถัด ๆ ไปต่อจากนี้
ทำอะไรได้บ้างในช่วงนี้
ในฐานะพ่อแม่มือใหม่ อาจมีบางคืนที่คุณแม่นอนหลับไม่สนิท โดยเฉพาะหากลูกน้อยมีปัญหากับการหลับ ดังนั้นหากคุณแม่รู้สึกเหนื่อยเกินไปกับการต้องตื่นมาดูแลเขาทุก ๆ คืน หนึ่งในทางออกที่ดีคือการฝึกการนอนหลับให้กับลูก
การฝึกการนอนหลับ: มีหลายวิธีที่จะฝึกการนอนหลับให้กับลูก แต่สิ่งสำคัญคือคุณแม่ต้องเข้าใจจุดประสงค์ของแต่ละวิธี เพราะแต่ละวิธีมีทั้งผลดีและผลเสีย ดังนั้นคุณแม่จึงควรเลือกวิธีที่เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายต่อลูก
สิ่งหนึ่งที่แน่นอน: สิ่งที่ลูกต้องการที่สุดคือการได้อยู่ใกล้ชิดกับคุณแม่ โดยเฉพาะในตอนกลางคืนที่มืดสนิท ถ้าคุณแม่กำลังฝึกการนอนให้กับเขา คุณแม่ก็ควรคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน คุณแม่อาจหาวิธีที่สามารถนอนหลับร่วมกับลูกได้
โปรดทราบ
ทางทีมงานMali ได้พยายามรวบรวมข้อมูลที่อัปเดทล่าสุดมาให้กับคุณแม่หรือผู้อ่านแล้ว แต่ทั้งนี้ยังคงมีข้อสงสัยหลายอย่างที่ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ยังคงต้องหาคำตอบต่อไปเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทางทีมเราจึงต้องการแจ้งให้ทราบว่าข้อมูลที่นำเสนออาจไม่ครอบคลุมเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการตั้งครรภ์ของแต่ละบุคคลหรือเด็กแต่ละคน
รับรองโดย:
พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (20 ตุลาคม 2021)