น้ำอัดลม
เมนูลูกรัก
น้ำอัดลม คือ เครื่องดื่มที่มักประกอบด้วยโซดา, คาเฟอีน, สารให้ความหวาน และสารปรุงแต่งรสชาติอื่น ๆ น้ำอัดลมมักมีปริมาณน้ำตาลสูง แต่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ
เหตุผลที่เด็ก ๆ ไม่ควรดื่มน้ำอัดลม
- คุณค่าทางโภชนาการต่ำ: น้ำอัดลมส่วนใหญ่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใด ๆ แต่กลับมีแคลอรีสูง และมีน้ำตาลสูง งานวิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคน้ำอัดลมกับโรคอ้วนในเด็ก
- ฟันผุ: พบว่าการบริโภคน้ำอัดลมทำให้ฟันผุได้ น้ำตาลในน้ำอัดลมจะทำให้ฟันเป็นโพรง และกรดในโซดาจะกัดกร่อนเคลือบฟัน โดยกรดจะใช้เวลาเพียงไม่นานในการสลายเคลือบฟัน
- เบาหวาน: การดื่มน้ำอัดลมทุกวันจะส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดปั่นป่วน และส่งผลให้เกิดโรคเบาหวาน
- ภาวะเป็นพิษ: แอสปาร์แตม ซึ่งเป็นสารให้ความหวานที่มักใส่ในน้ำอัดลมประเภทไดเอ็ทแบบไม่มีน้ำตาลมีแนวโน้มเป็นพิษต่อสมอง และอาจไปรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อได้ นอกจากนี้น้ำอัดลมยังสามารถเสริมฟทธิ์ของโมโนโซเดียมกลูตาเมต (ผงชูรส) ให้เกิดพิษต่อสมองได้ด้วย
- ทำให้ปัสสาวะมากผิดปกติ: น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่ทำให้กระหายน้ำและออกฤทธิ์เหมือนกาแฟและแอลกอฮอลล์ และอาจไปรบกวนการทำงานของระบบย่อยอาหารได้
- ปัญหาในระบบย่อยอาหาร: การบริโภคน้ำอัดลมบ่อย ๆ อาจรบกวนภาวะความเป็นกรดและด่างที่บอบบางของกระเพาะอาหาร ผลที่ตามมาคือทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ และเกิดความเจ็บปวดมาก
- ทำให้ไม่อยากอาหาร: น้ำอัดลมจะไปยับยั้งความอยากอาหารของเด็ก ๆ ทำให้พวกเขามีโอกาสทานอาหารที่ดีต่อโภชนาการได้น้อยลง
- ปัญหากระดูก: น้ำอัดลมมีฟอสฟอรัสที่อาจไปทำลายแคลเซียม ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายต้องการในการเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรง
- อาการซน: งานวิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคน้ำอัดลม และความก้าวร้าวในเด็ก
น้ำอัดลมและคาเฟอีน
คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นจากธรรมชาติที่มักใส่ผสมลงไปในน้ำอัดลม คาเฟอีนถูกจัดอยู่ในประเภทยาเสพติดเพราะมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ถึงแม้ว่าคาเฟอีนจะออกฤทธิ์แบบเดียวกันในเด็กและผู้ใหญ่ แต่คาเฟอีนเพียงปริมาณเล็กน้อยก็เพียงพอที่จะออกฤทธิ์ในเด็กเล็ก
อาการของคาเฟอีน
- หัวใจเต้นเร็วขึ้น
- ความดันโลหิตสูงขึ้น
- นอนไม่หลับ
- ปัญหาในการตั้งสมาธิ
- ตื่นตัวและวิตกกังวล
- ปวดท้อง
- ปวดหัว
เทคนิคในการช่วยเด็ก ๆ ไม่ให้ดื่มน้ำอัดลม
- เปรียบเทียบปริมาณสารอาหาร เมื่อต้องเลือกเครื่องดื่ม
- ส่งเสริมให้ลูกน้อยดื่มนม โดยให้ดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์ทดแทนนมประมาณ 2 ถ้วยต่อวัน เริ่มดื่มเมื่ออายุ 1 ขวบ
- ส่งเสริมให้ลูกน้อยดื่มน้ำให้เพียงพอ น้ำควรเป็นตัวเลือกแรกในการดับกระหาย
- ใช้ขวดน้ำสีสดใส ตกแต่งขวดน้ำด้วยกันกับลูกน้อย ยิ่งลูกชอบขวดน้ำมากเท่าไร เขาก็จะอยากดื่มจากขวดนั้นมากขึ้นเท่านั้น
- ใส่ผลไม้ลงในน้ำ อาจใส่ผลไม้แช่แข็งลงในน้ำเพื่อให้มีรสชาติและสีสันดึงดูดใจมากขึ้น
- เติมน้ำเปล่าลงในน้ำผลไม้ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เพื่อให้เจือจางลง
รับรองโดย:
นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ (15 กรกฎาคม 2021)