น้ำ
เมนูลูกรัก
เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณจะมีความรู้สึกว่าจะต้องให้ลูกได้ดื่มน้ำในระยะแรก แต่จริง ๆ แล้วในน้ำนมแม่และนมผงนั้นประกอบด้วยน้ำอยู่แล้ว 80% ทารกน้อยจึงไม่จำเป็นที่จะต้องดื่มน้ำอีก แนะนำว่าควรค่อย ๆ เริ่มให้เด็กดื่มน้ำหลังจากที่เขาอายุ 6 เดือนเป็นต้นไป
ทำไมถึงไม่แนะนำให้เด็กดื่มน้ำในช่วงอายุ 6 เดือนแรก
เหล่านี้คือเหตุผลที่ว่าทำไมถึงไม่ควรให้ลูกดื่มน้ำในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต:
- น้ำทำให้ทารกน้อยอิ่ม ซึ่งทำให้พวกเขาอยากดื่มน้ำนมแม่น้อยลง
- การให้ทารกแรกเกิดดื่มน้ำอาจก่อให้เกิดภาวะน้ำเป็นพิษ ซึ่งทำให้เกลือแร่ในร่างกายเจือจาง
- การได้รับน้ำมากเกินไปอาจทำให้ไตของทารกขับอิเล็กโทรไลต์ เช่น โซเดียมและโพแทสเซียมออกจากร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดความไม่สมดุล
ควรให้ทารกน้อยดื่มน้ำเมื่อไหร่
ในบางครั้งทารกที่ดื่มนมผงอาจต้องการดื่มน้ำในช่วงอากาศร้อน นอกเหนือจากนั้นแล้ว ควรรอจนกว่าลูกจะอายุครบ 6 เดือนก่อนที่จะให้ลูกดื่มน้ำ
ควรใช้น้ำอย่างไรในการเตรียมนมผง
หากลูกน้อยของคุณดื่มนมผง ให้ใช้น้ำดื่มที่ต้มจนเดือดแล้วหรือน้ำขวดที่ปลอดเกลือ (โซเดียม) หรือซัลเฟต
เมื่อต้มน้ำควรใช้น้ำดื่มใหม่ ไม่ควรใช้น้ำที่ต้มเตรียมไว้ หลังจากเตรียมน้ำ รอให้น้ำเย็นลงก่อนที่จะให้ลูกน้อยดื่ม เช็คดูทุกครั้งว่าน้ำร้อนเกินไปหรือไม่ก่อนจะให้ลูกของคุณดื่ม
การให้น้ำสำหรับทารกอายุ 6-12 เดือน
คุณสามารถเริ่มต้นค่อย ๆ ให้ลูกดื่มน้ำเมื่อเขาสามารถทานอาหารแข็งได้แล้ว ในระหว่างที่เขาดื่มน้ำนมแม่หรือนมผงไปด้วย อาจไม่ต้องให้ลูกน้อยดื่มน้ำมากกว่า 60-120 มิลลิลิตรในระยะเวลา 24 ชั่วโมง
การให้น้ำสำหรับเด็กอายุมากกว่า 12 เดือน
เมื่อเด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น เขาอาจดื่มนมลดลง เขาจะต้องการดื่มน้ำมากขึ้นตามธรรมชาติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เด็กอายุ 1 ปีดื่มน้ำประมาณ 250 มิลลิลิตรต่อวัน โดยปริมาณจะเพิ่มขึ้นในแต่ละปี
คุณจะช่วยให้ลูกดื่มน้ำได้เพียงพอได้อย่างไร?
โดยทั่วไปแล้ว เด็กจะได้รับปริมาณน้ำที่พอเพียงต่อความต้องการหากคุณมีน้ำพร้อมที่จะให้เขาดื่มได้ตลอด อย่างไรก็ตาม หากการให้ลูกดื่มน้ำอย่างพอเพียงเป็นเรื่องยากสำหรับคุณ ลองปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้:
- เพิ่มอาหารที่มีปริมาณน้ำอยู่มากเข้าไปในโภชนาการของเขา
- ให้น้ำตามสภาพอากาศและกิจกรรม ควรให้เขาให้ดื่มน้ำก่อน,ในระหว่างและหลังการทำกิจกรรม
- ทำให้การดื่มน้ำเป็นเรื่องสนุกโดยใช้ถ้วยดื่มน้ำที่มีสีสันสดใส
- ส่งเสริมให้เขาค่อย ๆ ดื่มน้ำทีละนิด แต่บ่อยครั้ง
รับรองโดย:
นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ (22 กรกฎาคม 2021)