ดาวน์โหลดแอป

ภาวะวิกลจริตหลังคลอดคืออะไร?

ภาวะวิกลจริตหลังคลอดคืออะไร?

ภาวะวิกลจริตหลังคลอดเป็นอาการทางจิตเวชขั้นรุนแรงที่ต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน 

คุณแม่ 1 – 2 คนจาก 1,000 คนจะมีโอกาสเป็นโรคนี้และจะต้องการการสนับสนุนทางจิตใจหลังคลอด

ภาวะวิกลจริตหลังคลอดคืออะไร
ภาวะวิกลจริตหลังคลอด (Postpartum psychosis) คือความผิดปกติทางจิตเวชขั้นรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ฉับพลันหลังการคลอดบุตร มีลักษณะเด่นคือเกิดอาการสับสน หลงผิด ประสาทหลอน มีอารมณ์รุนแรง และอาจใช้ความรุนแรงได้ อาการอาจเกิดภายในสองสามวันไปจนถึงหลายสัปดาห์หลังการคลอด อาการอาจมีหลากหลายและอาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

อาการของภาวะวิกลจริตหลังคลอด
คุณแม่แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันไป โดยทั่วไปแล้วมีดังนี้:

ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าภาวะวิกลจริตหลังคลอดเกิดจากอะไร แต่มีแนวโน้มว่าการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนครั้งใหญ่หลังคลอดอาจเป็นตัวกระตุ้น

สิ่งที่เราทราบคือภาวะนี้ไม่ใช่ความผิดของคุณแม่ ไม่ว่าจะเป็นอาการต่าง ๆ หรือความคิดอยากทำร้ายลูก แต่อาการเกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย (พันธุกรรม) รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (สถานการณ์ของคุณแม่มือใหม่)

ปัจจัยเสี่ยง
มีปัจจัยบางประการที่ทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงต่อภาวะวิกลจริตหลังคลอดมากขึ้นดังนี้:

เมื่อไรที่ควรพบแพทย์
ภาวะวิกลจริตหลังคลอดเป็นภาวะที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะอาการอาจแย่ลงอย่างรวดเร็วและเสี่ยงต่อความปลอดภัยของแม่และลูก หากคุณมีอาการต่าง ๆ ที่เข้าข่าย หรือรู้จักคนที่มีอาการเหล่านี้ควรติดต่อแพทย์ทันที หากยังไม่สามารถติดต่อแพทย์หรือไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไรอาจติดต่อสายด่วนสุขภาพจิตได้ที่เบอร์โทร 1323

นอกจากนี้ควรแจ้งให้ครอบครัว คู่ครอง หรือเพื่อนที่ไว้ใจได้ทราบถึงสถานการณ์ทันที และหากลุ่มสนับสนุนสำหรับคุณแม่ที่เคยผ่านประสบการณ์นี้มาแล้ว

การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะใช้เครื่องมือคัดกรองมาตรฐาน โดยถามคำถามเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยมีภาวะวิกลจริตหลังคลอดจริง โดยอาจถามคำถามเพื่อระบุว่าผู้ป่วยมีปัจจัยต่อไปนี้หรือไม่:

แพทย์จะพยายามตัดความเป็นไปได้ของการเป็นโรคอื่น และปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม เช่นฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ หรือการติดเชื้อหลังคลอด แพทย์อาจตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ปริมาณเม็ดเลือดขาว และอาจทำการทดสอบอื่น ๆ ที่อาจช่วยได้ 

การรักษาภาวะวิกลจริตหลังคลอด
จิตแพทย์จะเป็นผู้ทำการรักษาโดยจะใช้ยาลดอาการซึมเศร้า ทำให้อารมณ์มั่นคงขึ้น และลดอาการวิกลจริตลง หากผู้ป่วยยังไม่ตอบสนองต่อการรักษาก็อาจใช้การรักษาวิธีอื่น ๆ ต่อไป โดยแพทย์อาจแนะนำให้ใช้การรักษาด้วยไฟฟ้าเพิ่มเติม โดยการรักษาทุกแบบอาจมีการใช้จิตบำบัดและการทำจิตบำบัดแบบกลุ่มเข้ามาช่วยเสริมด้วย 

ขอขอบคุณ
บทความเกี่ยวกับสุขภาพจิตของหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดนี้ถูกจัดทำขึ้นจากการร่วมมือและการสนับสนุนจาก Pranaiya & Arthur Magoffin Foundation เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย

รับรองโดย:

เกศสุภา จิระการณ์ (นักสุขภาพจิต) (2 สิงหาคม 2022)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน