ดาวน์โหลดแอป

7 เทคนิคการเลี้ยงลูกที่ได้ผล

7 เทคนิคการเลี้ยงลูกที่ได้ผล

การเลี้ยงดูลูกนับเป็นประสบการณ์อันมีค่าที่สุดในชีวิตของคุณ แต่ในบางครั้งประสบการณ์นี้ก็ออกจะท้าทายอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะเวลาที่คุณพบว่ามีพฤติกรรมบางอย่างของลูกที่คุณต้องการการจัดการอย่างรอบคอบ

นี่คือเทคนิคที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าจะช่วยคุณได้

1. ชมเชยพฤติกรรมที่ดีของลูก เรารู้ว่าการให้ความสนใจไม่ว่าจะทางบวกหรือทางลบจะช่วยส่งเสริมพฤติกรรมของลูกได้ ดังนั้นการตระหนักถึงพฤติกรรมดี ๆ ของลูก จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เมื่อคุณยอมรับในพฤติกรรมที่ดี ควรชมเชยอย่างเฉพาะเจาะจงให้มากที่สุด  โดยมุ่งเน้นเนื้อหาไปที่กระบวนการ ไม่ใช่แค่ผลลัพธ์ แทนที่จะบอกว่า “เก่งมาก” ลองบอกว่า “แม่ชอบที่ลูกวางหนังสือเล่มสีเขียวเล่มเล็กกลับเข้าที่เดิมที่ชั้นบนสุดมากเลยจ้ะพอได้ยินแบบนี้แล้วลูกก็จะเรียนรู้ว่าควรทำแบบไหน และยังได้เรียนรู้ทักษะทางภาษาเพิ่มขึ้นด้วย

2. เพิกเฉยในบางเรื่อง เช่นเดียวกับการชมเชยพฤติกรรมที่ดี ผลการวิจัยยังบอกว่าหากคุณเมินเฉยในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่เป็นอันตราย อาจจะช่วยลดการทำพฤติกรรมนั้น ๆ ได้ การทำแบบนี้ได้ผลเพราะลูก นั้นต้องการความรักและความสนใจจากคุณเหนือสิ่งอื่นใด หากลูกรู้สึกว่าเขาไม่ได้รับความสนใจ เขาอาจจะแสดงออกด้วยวิธีบางอย่าง เช่น การโวยวาย ทีนี้หากคุณมีการตอบสนอง ถึงแม้จะเป็นการตอบสนองในทางลบ ลูกก็จะค้นพบว่านี่คือวิธีที่สามารถเรียกร้องความสนใจจากคุณได้ และเรียนรู้จะทำอีกเรื่อย ๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งคิดว่าการเมินเฉยจะเป็นกลยุทธ์ที่ดีในระยะยาว แต่ควรทำตรงกันข้าม กล่าวคือคุณควรให้ความสนใจตั้งแต่ตอนลูกส่งสัญญาณครั้งแรก หากลูกน้อยได้รับความสนใจ เขาก็มีแนวโน้มจะไม่เรียกร้องความสนใจด้วยวิธีแย่ ๆ อีก

3. หากคุณต้องการอยู่ลำพัง ให้ใช้เวลาร่วมกันก่อนที่จะขอเวลาส่วนตัว หากคุณต้องการเวลาสักชั่วโมงเพื่ออยู่กับตัวเอง ก็ควรใช้เวลาเล่นกับลูก ก่อนสัก 10 นาที เมื่อลูก เริ่มหมดความสนใจและหันไปเล่นคนเดียวต่อ คุณก็จะมีโอกาสมากขึ้นในการอยู่ลำพังใน 50 นาทีต่อมา ถ้าคุณหนีไปทำงานคนเดียวแต่แรก ลูกก็อาจก่อกวนและเรียกร้องความสนใจตลอดชั่วโมงเลยก็ได้ ลองคิดดูว่าตัวเลือกไหนดีกว่ากัน

4. เรียนรู้เรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อคุณเรียนรู้พัฒนาการของเด็ก ๆ คุณจะเข้าใจว่า พฤติกรรมที่ดูเหมือนไม่ดีบางอย่างนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ลูก ได้เรียนรู้และพัฒนาขึ้น พอรู้แบบนี้แล้วคุณก็จะมีทัศนคติเปลี่ยนไป และจะสามารถรับมือกับช่วงเวลาที่ยากลำบากเหล่านี้ได้ดีขึ้นโดยไม่ต้องโมโหหรือโทษลูก ทฤษฎีที่น่าสนใจมากที่สุด 3 ทฤษฎีมีดังนี้ : พัฒนาการทางจิตสังคม 8 ขั้นของ Erikson, ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget, ทฤษฎีความผูกพัน

5. แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง ส่วนใหญ่แล้วเด็ก ๆ เรียนรู้โดยการสังเกตว่าคนอื่นรอบตัวทำอะไรกัน โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ บางคนบอกว่า  80% ของการเรียนรู้ในเด็กเล็กเกิดจากการเลียนแบบและสังเกตภาษากายของคนอื่น และเพียง 20% มาจากการฟังคำบอกเล่า  ไม่ว่าจะจริงหรือไม่ คุณก็คือต้นแบบคนสำคัญที่สุดของลูก ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการกระทำและการพูดกับคนอื่น ๆ หากคุณมีความก้าวร้าว ลูกก็จะก้าวร้าว หากคุณใจดีและให้ความรัก ลูกก็จะเป็นคนใจดีและให้ความรักเช่นกัน

6.ให้เวลากับลูกแต่ละคน ถึงแม้จะเป็นเรื่องยากที่จะใช้เวลาอย่างมีคุณภาพกับลูกในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องทำงานเต็มเวลา แต่ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่คุณต้องใช้เวลาเล่นกับลูกแต่ละคนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เด็ก ๆ จะเรียนรู้ผ่านการสื่อสารแบบหนึ่งต่อหนึ่งมากที่สุด ทักษะภาษาของเขาจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้นและสมองของเขาก็จะพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (Executive Functions หรือ EF) ซึ่งเป็นกระบวนการคิดที่จะช่วยในการวางแผน มีสมาธิจดจ่อ และสามารถทำหลายสิ่งพร้อม ๆ กัน และสามารถอดทนรอคอยได้

ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งสำคัญก็คือคุณจะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ถึงการมองตนเองในแง่ดีและพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง หากลูกมีความเชื่อมั่นในคุณและตนเองตั้งแต่ยังเด็ก เขาจะสามารถพัฒนาความเชื่อมั่นในโลกภายนอก ผู้อื่น และเชื่อมั่นในทักษะของตนเองเมื่อโตขึ้น

7. แบ่งเวลาให้ตัวเองด้วย ไม่ว่าสถานการณ์จะยากแค่ไหน คุณก็ต้องหาเวลาเพื่อดูแลตัวเอง นี่เป็นสิ่งสำคัญเพราะเด็ก ๆ สามารถได้รับผลทางลบจากความเครียดของคุณ ในอีกแง่หนึ่งคือหากคุณมีความสุข ลูกก็จะมีความสุขเช่นกัน

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน