ดาวน์โหลดแอป

วิธีการนับอายุครรภ์ ฉบับเข้าใจง่าย สำหรับคุณแม่มือใหม่

วิธีการนับอายุครรภ์ ฉบับเข้าใจง่าย สำหรับคุณแม่มือใหม่

การนับอายุครรภ์นั้นนับอย่างไร คุณหมอมาไขข้อข้องใจให้คุณแม่มือใหม่ โดยแนะนำให้เริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายของคุณแม่ และการเรียกอายุครรภ์ที่ถูกต้องนั้นจะเรียกเป็น สัปดาห์ และวันแรกของสัปดาห์จะถือเป็นวันที่ 0 และวันสุดท้ายของสัปดาห์จะเป็นวันที่ 6 ส่วนวันถัดไปจะเริ่มต้นสัปดาห์ใหม่ เช่น วันนี้อายุครรภ์ได้ 20 สัปดาห์ 6 วันแล้ว ส่วนวันพรุ่งนี้อายุครรภ์ก็จะถือว่าเป็น 21 สัปดาห์เต็ม  (21 สัปดาห์ 0 วัน) โดยคุณหมอจะกำหนดวันคลอดไว้เมื่ออายุครรภ์ครบ 40 สัปดาห์เต็ม

นับอายุครรภ์

ความสำคัญของการนับอายุครรภ์

พัฒนาการแม่และลูก

การรู้อายุครรภ์นั้นสำคัญต่อการดูแลสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการของลูกน้อยในท้อง เพราะอายุครรภ์แต่ละช่วงไตรมาสนั้น ขนาด การเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายของคุณแม่และลูกก็จะแตกต่างกัน 

แอปคนท้อง

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด แอปมะลิที่มีฟีเจอร์ที่ให้คุณแม่ติดตามพัฒนาของครรภ์และลูกน้อย  รวมไปถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับคุณแม่ เช่นความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ผิวหนัง  การเตรียมตัวคลอด และ การเตรียมกระเป๋าไปโรงพยาบาล  หรือฟังจากปากของคุณหมอมาอธิบายให้ฟังกันเลย

กำหนดวันคลอด

การนับอายุครรภ์นั้นจะเป็นการช่วยให้คุณหมอกำหนดวันคลอดคร่าว ๆ ให้คุณแม่ได้อีกด้วย เพื่อช่วยให้คุณแม่มีเวลาได้เตรียมตัวต้อนรับลูกน้อย เช่น การดูแลผิวลูก  การอาบน้ำให้ลูก และ การให้นม เป็นต้น

คำนวนอายุครรภ์คำนวนอย่างไร

วิธีนับตามรอบประจำเดือน

คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ ท่านอาจจะชินกับการนับอายุครรภ์เป็นเดือนเหมือนทางปฎิทิน แต่จริง ๆ แล้วทางการแพทย์นั้นเรียกอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ หรือเป็นวีค และการเริ่มนับอายุครรภ์นั้นจะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนรอบล่าสุด บวก 7 วัน และนับต่อไปอีก 9 เดือนก็จะเป็นวันกำหนดคลอด

เช่น หากครั้งล่าสุดที่มีประจำเดือน วันแรกของรอบเดือนคือวันที่ 28 ตุลาคม 2564 คุณหมอจะบวกไปอีก 7 วัน คือ 4 พฤศจิกายน 2564 และกำหนดวันคลอดเมื่อครบ 40 สัปดาห์วันที่ 4 สิงหาคม 2565 

หลาย ๆ คน อาจจะสงสัยว่า ทำไมถึงไม่เริ่มนับอายุครรภ์ตั้งแต่วันที่ปฎิสนธิ คำตอบคือ คุณหมอไม่สามารถทราบแน่ชัดได้ว่า วันปฎิสนธินั้นเกิดวันไหน และรอบเดือนของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไป บางคนรอบเดือน มี 28 วัน แต่บางคนมีรอบเดือน 45 วัน หมายความว่าการตกไข่ของแต่ละคนก็จะต่างกัน ทำให้การคิดคำนวนวันปฎิสนธิยากขึ้นมากกว่าเดิม

วิธีการวัดจากเครื่องอัลตร้าซาวด์

หากคุณแม่ไม่แน่ใจวันที่ของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด คุณหมอจะใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์ วัดขนาดของถุงครรภ์ (gestational sac) เพื่อดูคร่าว ๆ ว่าระยะการตั้งครรภ์อยู่ที่ประมาณกี่สัปดาห์ ซึ่งวิธีการนี้สามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ขึ้นไป หรือหาก อายุครรภ์มากกว่านั้น เช่น  6 – 14 สัปดาห์ สามารถวัดขนาดความยาวของตัวทารกในครรภ์ได้ 

กำหนดคลอด

วันคลอดตามที่กำหนดตรงมากน้อยแค่ไหน

กำหนดคลอดที่คุณหมอคำนวนมาให้นั้นอาจจะไม่ตรงกับวันที่คุณแม่ปวดท้องคลอดเสมอไป ในทางการแพทย์นั้น คุณหมอถือว่าการ คลอดเมื่ออายุครรภ์ 38 – 42 สัปดาห์ถือว่าอยู่ในระยะคลอดครบกำหนดที่ปลอดภัยอยู่ คุณแม่ที่คลอดตรงกำหนดเมื่ออายุครรภ์ครบ 40 วีคนั้น มีเพียง 5 – 6% เท่านั้น ซึ่งสาเหตุการคลอดก่อนหรือหลังกำหนดคลอดมาจากหลายปัจจัยเช่น การนับวันมีประจำเดือนคลาดเคลื่อน อาการแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ และความพร้อมของร่างกาย เป็นต้น

หากไม่แน่ใจ แนะนำให้ดาวน์โหลด โปรแกรมการติดตามอายุครรภ์ และพัฒนาการของลูกในท้อง ที่มีคุณหมอและผู้เชี่ยวชาญรองรับคำแนะนำ นำเสนอข้อมูลและรูปภาพเทียบขนาดของลูกน้อยในครรภ์อย่างสวยงาม และชัดเจน 

หรือคุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะมีกำหนดฤกษ์คลอดไว้แล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้น กำหนดการคลอดที่ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยและตัวคุณแม่นั้นควรจะมีการปรึกษาและพูดคุยกับคุณหมออย่างละเอียดด้วย

ฝากครรภ์

แล้วควรฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์เท่าไหร่

ฝากท้องคือการเข้าพบคุณหมอเพื่อคำนวนอายุครรภ์ และตรวจพัฒนาการของลูกในท้องตามช่วงอายุครรภ์ หากสงสัยว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ และมีอาการคนท้องแรกเริ่ม เช่น ประจำเดือนขาด คุณแม่สามารถตรวจการตั้งครรภ์ได้ด้วยตัวเอง โดยใช้ชุดตรวจครรภ์ที่หาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป บางคนอาจจะมีอาการแพ้ท้องแรกเริ่มมาก่อนที่จะประจำเดือนจะขาด เช่นปวดท้องหน่วง ๆ หรือ ง่วงมากกว่าปกติ หรืออาการอื่น ๆ ซึ่งประมาณ 3 – 5 วัน หลังจากที่ประจำเดือนขาดนั้น คุณแม่สามารถลองใช้ชุดตรวจครรภ์มาทดสอบการตั้งครรภ์ได้ หากตั้งครรภ์ชุดตรวจจะแสดงขีด 2 ขีดให้เห็น ถ้าตรวจครั้งแรกนั้น เจอ 2  ขีดจาง ๆ มาก ๆ อาจจะรออีกซักหน่อย เพื่อตรวจอีกครั้ง แต่พยายามตรวจตอนเช้า เพราะปริมาณฮอร์โมนจะเข้มข้นมากที่สุด และพยายามไม่ตรวจหลังดื่มน้ำ เยอะ ๆ เพราะอาจจะทำให้ปัสสาวะเจือจางเกินไป 

ทดสอบครรภ์

คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจสงสัยว่าการฝากท้องควรฝากท้องตอนกี่เดือน 

การฝากครรภ์นั้นควรจะรีบทำเมื่อประจำเดือนขาดและผลจากชุดตรวจเป็นบวกหรือขีด 2 ขีด และควรไปฝากท้องทันที ซึ่งสถานที่ที่คุณแม่สามารถไปฝากครรภ์ หรือตรวจเบื้องต้นนั้น สามารถไปได้ที่คลินิกฝากครรภ์ หรือโรงพยาบาลทุกแห่ง โดยในการไปตรวจการตั้งครรภ์นั้น คุณหมอจะสอบถามวันที่มีประจำเดือนวันแรกรอบล่าสุดเพื่อใช้คำนวนดูว่าอายุครรภ์ประมาณกี่สัปดาห์แล้ว ซักประวัติสุขภาพของครอบครัว ตรวจหาภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือตรวจสอบความผิดปกติทางโครโมโซมของลูกน้อย   ซึ่งคุณหมออาจจะแนะนำให้ตรวจพันธุกรรม genetic testing ต่าง ๆ โดยดูจากอายุของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ และประวัติความผิดปกติทางพันธุกรรมของคนในครอบครัว

หากคุณแม่กำลังตั้งครรภ์และอยากหาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อต้อนรับลูกน้อยได้ที่ mali.me

บทความและข้อมูลทั้งหมดของเราได้รับการรับรองโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

คุณหมอดูแลคนท้อง พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ

บทความอื่นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์

วีธีรับมือกับอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์

การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

อัจฉริยะน้อยๆ กำลังถูกสร้างขึ้น!

การดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยอย่างไรบ้าง

อาการแพ้ท้องหนักมาก อันตรายหรือไม่ ควรทำอย่างไร

ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับการตั้งครรภ์

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน